backup og meta

เช็กปัญหาสายตาที่ควรเร่งแก้ไข ด้วย การตรวจการตอบสนองของรูม่านตา (PERRLA)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 31/05/2023

    เช็กปัญหาสายตาที่ควรเร่งแก้ไข ด้วย การตรวจการตอบสนองของรูม่านตา (PERRLA)

    การตรวจการตอบสนองของรูม่านตา ซึ่งเป็นการใช้เทคนิคบางอย่างโดยจักษุแพทย์ ถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา ไม่ว่าจะเป็นการมองไม่ชัด ปวดตา เจ็บตา เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นานอาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพตา ควรเข้ารับการตรวจดวงตาเพื่อป้องกันความเสี่ยงเป็นโรคต่าง ๆ ที่ร้ายแรง

    การตรวจการตอบสนองของรูม่านตา คืออะไร

    การตรวจการตอบสนองของรูม่านตา (PERRLA) คือ ขั้นตอนการตรวจพื้นฐาน เพื่อวัดระดับการทำงานของรูม่านตา และสัญญาณเตือนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้านสายตา หรือโรคในตา โดยเป็นการตรวจตามคำย่อภาษาอังกฤษ PERRLA ดังนี้

    • Pupils (P) เป็นการตรวจจุดกึ่งกลางในดวงตา หรือม่านตา (Iris) ที่สามารถควบคุมการหดตัว หรือขยายตัว เมื่อเผชิญกับแสงรอบตัวที่ได้รับ
    • Equal (E) คุณหมอจะตรวจขนาดรูม่านตา โดยปกติแล้ว รูม่านตาควรจะมีขนาดเท่ากัน หากคุณหมอพบว่ารูม่านตาข้างใดข้างหนึ่งมีขนาดต่างออกไป ก็อาจจำเป็นต้องตรวจสอบด้วยเทคนิคอื่นเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด
    • Round (R) ปกติรูม่านตามักมีลักษณะเป็นวงกลม คุณหมอจึงต้องตรวจสอบเส้นขอบ และรูปร่างของรูม่านตาอย่างละเอียด
    • Reactive (R) เป็นการทดสอบปฏิกิริยา และความเคลื่อนไหวของรูม่านตาว่ามีการตอบสนองต่อแสงมากน้อยเพียงใด
    • Light (L) ในการตรวจนี้ คุณหมอมักจะส่องแสงไฟเข้าที่รูม่านตา เพื่อดูว่า รูม่านตาตอบสนองได้ดีแค่ไหน เช่น หากส่องไฟเข้าไปแล้วรูม่านตาไม่มีการหดตัวลง ก็อาจคาดเดาได้ว่าขณะนั้นกำลังเสี่ยงกับปัญหาด้านสายตาบางอย่างอยู่
    • Accommodation (A) คือการเช็กความสามารถการมองเห็นในระยะใกล้-ไกล หากทดสอบแล้วรูม่านตาไม่มีการหดตัวเวลามองสิ่งที่อยู่ใกล้ หรือไม่มีการขยายออกขณะมองวัตถุที่อยู่ในระยะไกล ก็อาจสรุปได้ว่ากำลังมีปัญหาทางด้านสายตาที่ผิดปกติอยู่นั่นเอง

    ขั้นตอนการตรวจ รูม่านตา จากทางการแพทย์

    ในการตรวจนั้น คุณหมออาจให้เข้าไปในห้องตรวจเฉพาะในสภาวะแสงไฟสลัว หรือแสงน้อย แล้วจึงเริ่มขั้นตอนการตรวจ ดังนี้

  • ขั้นตอนแรก คุณหมอจะตรวจดูรูม่านตา เพื่อตรวจสอบขนาด และรูปทรงของรูม่านตาว่าต่างไปจากปกติหรือไม่
  • จากนั้นจะแกว่งไฟฉายไปมา โดยให้คนไข้มองตรงไปด้านหน้า เพื่อตรวจสอบรูม่านตาว่ามีการตอบสนองต่อแสงที่เห็นมากน้อยเพียงใด
  • ส่วนในขั้นตอนสุดท้าย คุณหมอจะนำวัตถุบางอย่าง เช่น ปากกา มาร่วมทดสอบ โดยนำวัตถุเข้าไปใกล้ในระยะสายตา และนำออกมาให้ไกลสายตา หรือเลื่อนปากกาไปทางซ้ายขวา เพื่อดูการโฟกัสของรูม่านกับวัตถุว่ามีปฏิกิริยาอย่างไร
  • ผลการตรวจ บอกอะไรได้บ้าง

    หากคุณหมอระบุผลลัพธ์ว่า รูม่านตามีการทำงานผิดปกติ ก็อาจเป็นได้ว่ากำลังมีความเสี่ยงในการเกิดโรค และปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดวงตา โดยแยกได้เป็น 2 กรณีหลัก ดังต่อไปนี้

    1. รูม่านตามีขนาด หรือรูปร่างไม่สม่ำเสมอ อาจเป็นเพราะ ต้อหิน เนื้องอกในสมอง โรคหลอดเลือดในสมอง ไมเกรน การตกเลือดภายในกะโหลกศีรษะ อุบัติเหตุจากการถูกกระแทกอย่างรุนแรง
    2. รูม่านตาไม่มีการตอบสนองต่อแสง หรือวัตถุที่เคลื่อนไหว อาจเป็นเพราะ โรคประสาทอักเสบ การติดเชื้อที่จอประสาทตา เส้นประสาทตาถูกทำลาย เนื้องอกในเส้นประสาทตา โรคระบบประสาทขาดเลือด ต้อหิน

    เนื่องจากสภาวะของโรคที่ผู้ป่วยกำลังเผชิญค่อนข้างมีอาการแตกต่างกัน ดังนั้ นการเลือกเทคนิครักษาที่เหมาะสมก็อาจต่างกันตามไปด้วย ทางที่ดี เมื่อพบว่ากำลังมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นกับดวงตา เช่น เริ่มมองเห็นภาพเบลอ มองไม่ชัด เจ็บตา ปวดตา ก็สามารถเข้ารับการตรวจเบื้องต้นจากจักษุแพทย์ได้ทันที และอย่าลืมแจ้งประวัติสุขภาพหรือโรคประจำตัวให้คุณหมอทราบด้วย เพื่อจะได้วางแผนวิธีการรักษา หรือจ่ายยารักษาให้อย่างเหมาะสมที่สุด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 31/05/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา