backup og meta

ถุงยาง กับความเข้าใจผิด ๆ

ถุงยาง กับความเข้าใจผิด ๆ

ถุงยาง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการคุมกำเนิดและช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งหากใช้ถูกวิธีและสวมใส่อย่างถูกต้องจะมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด 98 เปอร์เซ็นต์ แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้อง และยังมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัย 

[embed-health-tool-ovulation]

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับถุงยาง

1. ถุงยาง 2 ชั้นสามารถป้องกันได้ดีกว่าชั้นเดียว

การสวมถุงยางอนามัย 2 ชั้นอาจทำให้เพิ่มแรงเสียดทานระหว่างถุงยางอนามัยซึ่งทำให้มีแนวโน้มที่ถุงยางอนามัยฉีกขาดได้ ทำให้ประสิทธิภาพของถุงยางอนามัยลดลง

2. ขนาดของถุงยางไม่ใช่ประเด็น

เนื่องจาก อวัยวะเพศชายมีขนาดแตกต่างกัน จึงควรใช้ถุงยางให้ถูกขนาดขององชาตแต่ละคน เพราะการใช้ถุงยางที่มีขนาดพอดีกับอวัยวะเพศชายจะช่วยทำให้ถุงยางมีประสิทธิภาพสูงสุดในการคุมกำเนิด แต่หากใช้ถุงยางผิดขนาดอาจทำให้เกิดปัญหา เช่น การใช้ถุงยางที่มีขนาดเล็กเกินไป หรือคับเกินไป อาจทำให้ถุงยางขาด รวมถึงในกรณีที่สวมถุงยางขนาดใหญ่เกินไป หรือหลวมเกินไปมักเสี่ยงทำให้ถุงยางอนามัยหลุดออก จึงควรเลือกขนาดถุงยางให้พอดีกับขนาดขององคชาตตนเอง

3. ถุงยางอาจมีรูรั่ว หรือผลิตมาไม่ดี

ถุงยางอนามัยถือเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ประเภท 2 (Class II Medical Devices) ซึ่งหมายความว่า การผลิตถุงยางอนามัยได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวด ดังนั้น ถุงยางอนามัยจึงต้องได้มาตรฐานอุตสาหกรรมซึ่งรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ถุงยางอนามัยยังต้องได้รับการทดสอบรูรั่วและข้อบกพร่องอื่น ๆ ในขั้นตอนการผลิต ปัญหาถุงยางมีรูรั่วหรือผลิตมาไม่ดีนั้นพบได้ยากเพราะโดยปกติแล้วปัญหาถุงยางรั่วซึมมักเกิดจากถุงยางหมดอายุหรือเก็บไว้ในที่ร้อนจัด

4. ถุงยางอนามัยใช้ยาก และทำให้ไม่สะดวก

มีความเชื่อว่าถุงยางอนามัยใช้ยากและอาจส่งผลต่อให้การมีเพศสัมพันธ์ต้องสะดุด แต่ความจริงแล้ว การใช้ถุงยางอนามัยไม่ได้รบกวนช่วงเวลาแห่งความสุข เนื่องจาก ถุงยางอนามัยมีหลายลักษณะให้เลือกใช้  ทั้งสี ผิวสัมผัส รวมถึงรสชาติต่าง ๆ ซึ่งมักช่วยสร้างความพึงพอใจและเพิ่มความสุขขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ อย่างไรก็ตาม หากสวมใส่ถุงยางอนามัยแล้วรู้สึกอึดอัด อาจเป็นเพราะเลือกถุงยางอนามัยผิดขนาด สิ่งสำคัญคือ ควรฝึกใส่ถุงยางให้ถูกวิธีเพื่อประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุด

5. ถุงยางอนามัยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100 เปอร์เซ็นต์

ความจริงแล้วไม่มีวิธีการคุมกำเนิดใดที่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่การใช้ถุงยางอนามัยถือว่าเป็นอุปกรณ์การคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงและอาจช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ อย่างไรก็ตาม ควรซื้อถุงยางอนามัยจากยี่ห้อที่น่าเชื่อถือ และควรตรวจสอบรายละเอียดถุงยางก่อนใช้งาน ดังนี้

  • ดูวันผลิตและวันหมดอายุ
  • ผลิตภัณฑ์ปิดสนิท ไม่มีรอยแกะหรือรอยรั่ว
  • ผลิตภัณฑ์ไม่มีความเสียหาย

6. ถุงยางอนามัยไม่สามารถคุมกำเนิดได้

ในกรณีที่ใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธี และใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ถุงยางอนามัยสามารถป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ 98 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ การใช้ถุงยางอนามัยสำหรับคนทั่ว ๆ ไป จะมีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์

คำแนะนำสำหรับการใช้ถุงยาง

  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • ใช้ถุงยางอนามัยให้ถูกต้องและเหมาะสม เช่น เลือกขนาดให้พอดีกับองคชาติ
  • ไม่ควรใช้ถุงยางอนามัยที่หมดอายุ
  • ไม่ควรแกะถุงยางอนามัยด้วยของมีคม หรือใช้เล็บเจาะ
  • ไม่ควรใช้ถุงยางอนามัยซ้ำ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Condoms. https://www.webmd.com/sex/birth-control/birth-control-condoms. Accessed August 5, 2022.

Male condoms: know the facts. https://www.nhs.uk/live-well/sexual-health/condoms-know-the-facts/. Accessed August 5, 2022.

Condom Myths and Misconceptions: The Male Perspective. https://www.academia.edu/1850717/Condom_Myths_and_Misconceptions_The_Male_Perspective. Accessed August 5, 2022.

Condom Myths Busted!. https://www.teensource.org/hookup/condom-myths-busted. Accessed August 5, 2022.

Condom Myths and Facts. https://phctheproject.org/condom-myths-and-facts/. Accessed August 5, 2022.

CONDOMS – FACTS & FICTION. https://www.sexualhealthdg.co.uk/condomyths.php. Accessed August 5, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

05/08/2022

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

การใช้ถุงยางอนามัย ให้ถูกต้อง ไม่รั่ว ไม่หลุด และมีข้อควรระวังอะไรบ้าง

กินยาคุม แบบผิดวิธี อาจทำให้ตั้งครรภ์ได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 05/08/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา