backup og meta

ยาคุมฮอร์โมนต่ำ คืออะไร

ยาคุมฮอร์โมนต่ำ คืออะไร

ยาคุมฮอร์โมนต่ำ คือ ยาคุมกำเนิดชนิดหนึ่งที่มีปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยกว่ายาคุมกำเนิดปกติ โดยปกติแล้ว ยาคุมกำเนิดมักจะมีส่วนผสมของฮอร์โมนเอสโตรเจนประมาณ 30-50 ไมโครกรัม แต่ยาคุมฮอร์โมนต่ำอาจมีส่วนผสมของฮอร์โมนเอสโตรเจนประมาณ 20 ไมโครกรัม หรือน้อยกว่านั้น ทั้งนี้ ยาคุมฮอร์โมนต่ำอาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่ต่างจากยาคุมกำเนิดแบบปกติหากใช้อย่างถูกวิธี อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อนตัดสินใจรับประทาน

[embed-health-tool-ovulation]

ยาคุมกำเนิดมีกี่ประเภท 

ยาคุมกำเนิดอาจแบ่งแยกประเภทได้ ดังนี้ 

  • ยาคุมกำเนิดฮอร์โมนเดี่ยว เป็นยาคุมที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หนึ่งแผงจะมียาทั้งหมด 28 เม็ด หากรับประทานถูกวิธี เช่น เจ็บหน้าอก ผิวเป็นจุดคล้ายกระ ซึ่งส่วนใหญ่อาการจะหายได้เองภายใน 2-3 เดือน
  • ยาคุมกำเนิดฮอร์โมนรวม เป็นยาคุมที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสติน ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์เลียนแบบฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนตามธรรมชาติ มีทั้งชนิดแผงละ 21 เม็ด และแผงละ 28 เม็ด ถือเป็นยาคุมกำเนิดที่นิยมใช้กันมากที่สุด หากรับประทานถูกวิธี  การรับประทานยาคุมกำเนิดฮอร์โมนรวมอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อารมณ์แปรปรวน เจ็บเต้านม ปวดศีรษะ หน้าเป็นฝ้า เลือดออกกะปริบกะปรอย ซึ่งอาการมักดีขึ้นหลังจากเริ่มใช้ยาประมาณ 2-3 เดือน
  • ยาคุมฉุกเฉิน เป็นตัวยาที่มีส่วนประกอบฮอร์โมนโปรเจสโตรเจนขนาดสูง คือ ลีโวนอร์เจสเตรล (levonorgestrel) ยาที่มีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน คือ Mifepristone (RU 486) และยาฮอร์โมนกลุ่มอื่นๆ ที่นำมาใช้เพื่อคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน ควรรับประทานเฉพาะในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น เช่น ถุงยางอนามัยขาด มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน โดยรับประทานภายใน 72-120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ ขึ้นอยู่กับชนิดของยา แต่หากรับประทานทันทีหลังมีเพศสัมพัน์หรือเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ก็อาจทำให้ยายิ่งมีประสิทธิภาพ หากรับประทานยาไปไม่ถึง 2-3 ชั่วโมงแล้วอาเจียน ควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรทันที เพราะอาจต้องรับประทานยาใหม่อีกครั้งหรือใช้วิธีคุมกำเนิดฉุกเฉินวิธีอื่น เช่น การใช้ห่วงอนามัยหรือห่วงคุมกำเนิด (Intrauterine Device หรือ IUD)

ยาคุมฮอร์โมนต่ำ คืออะไร 

ยาคุมฮอร์โมนต่ำ คือ ยาคุมกำเนิดที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยกว่ายาคุมกำเนิดแบบปกติ โดยในตัวยาอาจมีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจนเพียง 20 ไมโครกรัม หรือน้อยกว่า เมื่อเทียบเท่ากับยาคุมกำเนิดที่ปกติอาจมีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจนประมาณ 30-50 ไมโครกรัม อีกทั้งยาคุมฮอร์โมนต่ำอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงที่มักพบเมื่อใช้ยาคุมกำเนิดปกติ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ เจ็บเต้านม หรือในกรณีร้ายแรงแต่พบได้ยาก อาจทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันจนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ 

วิธีการใช้ยาคุมฮอร์โมนต่ำ

ผู้ที่ใช้ยาคุมฮอร์โมนต่ำควรรับประทานยาคุมทุกวันติดต่อกันเป็นเวลา 21 วัน โดยปกติจะเริ่มรับประทานยาคุมกำเนิดเม็ดแรกในช่วงวันที่ 1-5 ของรอบเดือน จากนั้นรับประทานยาวันละ 1 เม็ดในเวลาเดียวกันของทุกวัน โดยควรรับประทานก่อนนอน โดยรับประทานยาตามลูกศรไปจนครบ 21 เม็ด แล้วหยุดยาเป็นเวลา 7 วัน ในช่วง 7 วันที่หยุดยา จะมีประจำเดือนมา แม้ประจำเดือนยังคงมาอยู่หรือหมดไปแล้วก็ตาม เมื่อครบ 7 วันแล้ว ในวันที่ 8 ให้เริ่มทานยาเม็ดแรกของแผงใหม่ได้เลย

ข้อดีของยาคุมฮอร์โมนต่ำ

ยาคุมฮอร์โมนต่ำอาจมีข้อดี ดังนี้

  • ป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์
  • ผลข้างเคียงน้อยกว่ายาคุมกำเนิดขนาดปกติ
  • ลดอาการก่อนมีประจำเดือน และอาจช่วยลดอาการปวดประจำเดือนด้วย 
  • ประจำเดือนอาจมาสม่ำเสมอมากขึ้น
  • ลดความเสี่ยงในการเกิดสิว  
  • ลดความแปรปรวนของระดับฮอร์โมนเพศ
  • ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก โรคมะเร็งรังไข่ ซีสต์รังไข่ 

ข้อควรระวังในการรับประทานยาคุมกำเนิด

การรับประทานยาคุมกำเนิด อาจมีผลข้างเคียง ดังต่อไปนี้ 

  • คลื่นไส้ อาเจียน 
  • เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ 
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้น 
  • คัดตึงเต้านม 
  • ความดันโลหิตสูง
  • ท้องอืด 
  • ประจำเดือนไม่มา 
  • เลือดออกช่องคลอดผิดปกติ 
  • อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล 
  • สำหรับคุณแม่ให้นมลูกอาจส่งผลให้การผลิตน้ำนมลดน้อยลง
  • อาจเพิ่มความเสี่ยงด้านปัญหาสุขภาพ เช่น ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง 
ผลข้างเคียงของยาคุมกำเนิดอาจขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงที่มีประวัติลิ่มเลือดอุดตัน มะเร็งเต้านม มีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด โรคเส้นเลือดหัวใจ โรคตับ โรคไมเกรนชนิดที่มีออร่า สตรีตั้งครรภ์ โรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดและผู้หญิงอายุเกิน 35 ปี ที่สูบบุหรี่ไม่ควรรับประทานยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Birth control. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/birth-control/in-depth/best-birth-control-pill/art-20044807. Accessed Jan 7, 2022

Birth Control Pill. https://kidshealth.org/en/teens/contraception-birth.html. Accessed Jan 7, 2022

Low-Dose and Ultra-Low-Dose Birth Control Pills. https://www.webmd.com/sex/birth-control/low-dose-birth-control-pills. Accessed Jan 7, 2022

Estrogen and Progestin (Oral Contraceptives). https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a601050.html.  Accessed Jan 7, 2022

Very-Low-Dose Birth Control Pills in Mid-Life (Perimenopause). https://www.aafp.org/afp/1998/1015/p1381.html. Accessed Jan 7, 2022

Combined pill. https://www.nhs.uk/conditions/contraception/combined-contraceptive-pill/. Accessed Jan 7, 2022

The Progestogen-only pill. https://www.nhs.uk/conditions/contraception/the-pill-progestogen-only/. Accessed Jan 7, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/03/2023

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงวรัญญา สิริธนาสาร

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาคุม มีกี่ประเภท และแตกต่างกันอย่างไร

ฝังเข็มยาคุม อีกหนึ่งทางเลือกของการคุมกำเนิด


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงวรัญญา สิริธนาสาร

สุขภาพทางเพศ · โรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 03/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา