backup og meta

ยาคุมแบบ21เม็ด ยาคุมแบบ28เม็ด แตกต่างกันอย่างไร

ยาคุมแบบ21เม็ด ยาคุมแบบ28เม็ด แตกต่างกันอย่างไร

การรับประทานยาคุมกำเนิด ถือเป็นวิธีคุมกำเนิดรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยม ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน แบ่งหลัก ๆ ได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ยาคุมแบบ21เม็ด ยาคุมแบบ28เม็ด การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานทั้ง 2 ชนิดนี้ให้เข้าใจ อาจช่วยให้ตัดสินใจเลือกรับประทานยาคุมกำเนิดได้เหมาะสมกับความต้องการ และช่วยให้สามารถคุมกำเนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

[embed-health-tool-ovulation]

ทำความรู้จักยาคุม (Birth Control Pill)

ยาเม็ดคุมกำเนิด (Birth Control Pill) เป็นหนึ่งในอุปกรณ์คุมกำเนิดที่นิยมใช้ทั่วไป ยาเม็ดคุมกำเนิดประกอบด้วยฮอร์โมนเพศหญิง 2 ชนิด คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ช่วยในการคุมกำเนิดโดยป้องกันการตกไข่ และทำให้มูกในช่องคลอดเหนียวข้นขึ้นจนอสุจิผ่านเข้ามาได้ยากขึ้น จึงช่วยลดโอกาสในการตั้งครรภ์ได้

ยาคุมแบบ 21 เม็ด และยาคุมแบบ 28 เม็ด ต่างกันอย่างไร

ยาเม็ดคุมกำเนิดโดยทั่วไปจะมี 2 ชนิด คือยาคุมกำเนิดแบบ 21 เม็ด และยาคุมกำเนิดแบบ 28 เม็ด โดยเม็ดตัวยาที่ 1-21 ของทั้งสองแบบจะมีลักษณะเหมือนกันทั้งขนาด สี และปริมาณตัวยาภายในเม็ด แต่จะมีวิธีการรับประทานที่แตกต่างกัน ดังนี้

ยาคุมกำเนิด ปริมาณ 1 แผง  บรรจุ 21 เม็ด

  • การรับประทานยาคุมกำเนิดแบบ 21 เม็ด เริ่มรับประทานเม็ดแรกในการมีประจำเดือนครั้งถัดไป
  • เมื่อรับประทานยาหมดแผง ให้เว้นระยะการรับประทาน 7 วัน แล้วค่อยเริ่มแผงใหม่
  • ในระยะช่วงที่หยุดรับประทานยาคุมใน 7 วันนั้น อาจมีเลือดออกเล็กน้อยคล้ายประจำเดือน

ยาคุมกำเนิด ปริมาณ 1 แผง  บรรจุ 28 เม็ด

  • การรับประทานยาคุมกำเนิดแบบ 28 เม็ด จะมีลักษณะการรับประทานเหมือนยาคุมกำเนิดแบบ 21 เม็ด
  • ในแผงยาคุมกำเนิดจะมีเม็ดยาที่ไม่มียาฮอร์โมนอีก 7 เม็ด หรือที่เรียกว่า เม็ดแป้ง หรือ เม็ดยาหลอก มีไว้เพื่อช่วยให้ไม่ลืมรับประทานยา
  • เมื่อรับประทานยาคุมกำเนิดครบ 28 เม็ด สามารถเริ่มรับประทานยาแผงใหม่ได้เลย

อาการข้างเคียงจากการใช้ยาคุมกำเนิด

ยาคุมกำเนิด อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงหลังจากการรับประทานยาได้ หากมีอาการรุนแรงควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำและรับการรักษา โดยผลข้างเคียงจะมีอาการ ดังต่อไปนี้

  • อาการชาที่แขนและขา
  • ไอเป็นเลือด
  • เจ็บหน้าอก หายใจติดขัด
  • ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน
  • ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน

ยาคุมกำเนิดอาจทำให้เสี่ยงเกิดโรคความดันโลหิตสูง และภาวะเส้นเลือดอุดตัน ผู้ที่รับประทานยาคุมเป็นประจำควรตรวจสุขภาพร่างกายทุก ๆ 6 เดือน

ยาคุมกำเนิดในปัจจุบันถูกผลิตออกมาหลายยี่ห้อ และได้มีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพตัวยาอยู่เรื่อย ๆ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดผลข้างเคียงจากการทานยาให้น้อยที่สุด

อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนรับประทานยาคุมกำเนิด อ่านฉลากและเอกสารกำกับยาให้ละเอียด หากมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับคำแนะนำในการรับประทานยาคุมกำเนิดที่เหมาะสมกับตนเอง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Combined pill. https://www.nhs.uk/conditions/contraception/combined-contraceptive-pill/. Accessed February 28, 2023.

Birth Control Pill. https://kidshealth.org/en/teens/contraception-birth.html. Accessed February 28, 2023.

Birth Control Pill. Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/drugs/3977-birth-control-the-pill. Accessed February 28, 2023.

The Combined Oral Contraceptive (COC) Pill. https://patient.info/sexual-health/hormone-pills-patches-and-rings/combined-oral-contraceptive-coc-pill#refdis. Accessed February 28, 2023.

Birth Control Pills. https://www.webmd.com/sex/birth-control/birth-control-pills. Accessed February 28, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/02/2023

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาคุมกำเนิด กับ การตั้งครรภ์ และข้อควรรู้ก่อนใช้ยา

ถ้า หยุดกินยาคุมกำเนิด แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายผู้หญิง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 28/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา