backup og meta

ระยะปลอดภัย นับอย่างไร ช่วยคุมกำเนิดได้จริงหรือไม่

ระยะปลอดภัย นับอย่างไร ช่วยคุมกำเนิดได้จริงหรือไม่

ระยะปลอดภัย เป็นวิธีคุมกำเนิดตามธรรมชาติ เป็นช่วงเวลาที่อาจเหมาะสำหรับการมีเพศสัมพันธ์สำหรับผู้ที่ไม่ป้องกันด้วยวิธีอื่น และยังไม่พร้อมตั้งครรภ์ เพราะแทบจะไม่มีโอกาสในการตั้งครรภ์เลยหรือมีโอกาสในการตั้งครรภ์ต่ำ อย่างไรก็ตาม การนับระยะปลอดภัย เหมาะกับผู้หญิงที่มีรอบเดือนมาตรงเวลาสม่ำเสมอเพราะทำให้โอกาสในการนับระยะปลอดภัยมีความแม่นยำสูง หากรอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ การคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้อาจมีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์สูง เพราะระยะปลอดภัยอาจคลาดเคลื่อนได้

[embed-health-tool-ovulation]

ระยะปลอดภัย คืออะไร

ระยะปลอดภัย หมายถึง ช่วงระยะเวลาหลังจากตกไข่ไปแล้วและระยะเวลาก่อนที่ร่างกายจะตกไข่อีกครั้ง เมื่อร่างกายยังไม่ตกไข่จึงไม่เกิดการผสมกับอสุจิจนเกิดการปฏิสนธิ ทำให้การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลานั้นไม่ก่อให้เกิดการตั้งครรภ์ และนับเป็นการคุมกำเนิดตามธรรมชาติแบบหนึ่ง

การคุมกำเนิดด้วยการนับระยะปลอดภัย นอกจากประหยัดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังเป็นทางเลือกของผู้หญิงที่อาจมีปัญหาในการคุมกำเนิดแบบอื่น เช่น แพ้ถุงยางอนามัย แพ้ยาคุม ไม่ต้องการการเกิดผลข้างเคียงจากการกินยาคุม เช่น เจ็บเต้านม น้ำหนักขึ้น อารมณ์แปรปรวน ปวดหัว คลื่นไส้ เลือดไหลออกจากช่องคลอด สิวขึ้น

อย่างไรก็ตาม หากต้องการคุมกำเนิดด้วยการนับระยะปลอดภัย ผู้หญิงในกลุ่มต่อไปนี้ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอรับคำแนะนำก่อนเริ่มนับระยะปลอดภัย

  • ผู้หญิงที่เป็นประจำเดือนครั้งแรก
  • ผู้หญิงที่เพิ่งคลอดบุตร
  • ผู้หญิงที่เพิ่งเลิกใช้ยาคุมกำเนิด
  • ผู้หญิงที่ใกล้เข้าสู่วัยทอง
  • ผู้หญิงที่มีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ หรือผิดปกติ

การนับระยะปลอดภัย นับอย่างไร

ผู้หญิงซึ่งสนใจคุมกำเนิดด้วยการนับระยะปลอดภัย ต้องติดตามรอบเดือนของตัวเองเป็นระยะเวลา 6-12 เดือน และจดบันทึกไว้ทุกเดือน โดยนับวันแรกซึ่งมีประจำเดือนเป็นวันที่ 1 และเริ่มนับ 1 อีกครั้ง เมื่อมีประจำเดือนรอบใหม่ โดยปกติรอบเดือนจะห่างกัน 28 วัน และมักจะมีไข่ตกในวันที่ 14 ของรอบเดือนก่อนที่จะมีประจำเดือนครั้งต่อไปโดยบวกลบประมาณ 2 วัน โอกาสที่ไข่ตกจึงอยู่ระหว่างวันที่ 12-16 ของรอบเดือน อย่างไรก็ตาม อสุจิสามารถมีชีวิตอยู่ได้ 2-3 วัน หากมีเพศสัมพันธ์ก่อนไข่ตก ดังนั้น หากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงวันที่ 10ดังนั้น โอกาสเกิดการตั้งครรภ์จึงเพิ่มเป็นวันที่ 12-17  และช่วงไม่ปลอดภัยจึงเพิ่มเป็นวันที่ 9-17 นับจากวันแรกของประจำเดือน  ถ้ารอบเดือนมาทุก ๆ 30 วัน ช่วงไม่ปลอดภัยจะเป็นวันที่ 11-19 นับจากวันแรกของประจำเดือน ระยะปลอดภัยจึงอยู่ที่ช่วงเวลานอกเหนือจากเวลาดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม รอบเดือนของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน หลังจากเก็บข้อมูลรอบเดือนของตัวเองแล้ว ให้นำข้อมูลดังกล่าวมาคำนวณเพื่อหาระยะปลอดภัยดังนี้

  • วันแรกที่สามารถตั้งครรภ์ได้ ให้นำระยะห่างระหว่างรอบเดือนที่สั้นที่สุด ไปลบด้วย 18 โดยผลลัพธ์ที่ได้ จะเท่ากับวันแรกที่มีโอกาสตั้งครรภ์ได้หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ยกตัวอย่างเช่น หากระยะสั้นสุดระหว่างรอบเดือนคือ 26 วัน ให้นำ 26 ไปลบด้วย 18 โดยผลลัพธ์จะเท่ากับ 8 และวันที่ 8 หลังจากวันแรกซึ่งมีรอบเดือน คือวันแรกที่สามารถตั้งครรภ์ได้ ส่วนวันก่อนหน้านั้น ถือเป็นระยะปลอดภัย
  • วันสุดท้ายที่สามารถตั้งครรภ์ได้ ให้นำระยะห่างระหว่างรอบเดือนซึ่งยาวที่สุด ไปลบด้วย 11 โดยผลลัพธ์ที่ได้ จะเท่ากับวันสุดท้ายที่สามารถตั้งครรภ์ได้หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ยกตัวอย่างเช่น หากระยะยาวสุดระหว่างรอบเดือนคือ 32 วัน ให้นำ 32 ไปลบด้วย 11 ซึ่งผลจะเท่ากับ 21 และวันที่ 21 หลังจากการมีรอบเดือน ถือเป็นวันสุดท้ายที่สามารถตั้งครรภ์ได้ ส่วนวันหลังจากนั้น จะเป็นระยะปลอดภัย

การนับระยะปลอดภัยแบบ หน้า 7 หลัง 7 หมายถึงอะไร

สำหรับการนับหน้า 7 หลัง 7 หมายถึงระยะปลอดภัยก่อนและหลังมีประจำซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีประจำเดือนมาสม่ำเสมอและมีรอบเดือนในจำนวนวันที่เท่า ๆ กันในทุกเดือน ได้แก่

หน้า 7 คือ 7 วัน ก่อนวันที่ประจำเดือนมา

หลัง 7 คือ 7 วัน หลังจากวันแรกที่มีประจำเดือน

ยกตัวอย่างเช่น หากประจำเดือนมาวันที่ 8, 9, 10, 11 หน้า 7 จึงหมายถึง วันที่ 1-7 และหลัง 7 หมายถึง วันที่ 8-14 ระยะปลอดภัยจึงหมายถึงวันที่ 1-14 นั่นเอง

ปัจจุบันนี้มีแอปพลิเคชันจำนวนมากรวมทั้งเครื่องมือในเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ช่วยในการคำนวนวันไข่ตก ทำให้สามารถทราบระยะปลอดภัยได้โดยมีความคลาดเคลื่อนน้อย ทำให้การคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ค่อนข้างได้ผล ในขณะเดียวกันก็เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการตั้งครรภ์ในการคำนวนระยะปลอดภัยและเลือกที่จะมีเพศสัมพันธ์ในช่วงอื่นแทนก็ได้เช่นเดียวกัน

ระยะปลอดภัย มีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์หรือไม่

การคุมกำเนิดด้วยระยะปลอดภัย เหมาะกับผู้หญิงที่ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ เพราะหากประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ การนับระยะปลอดภัยอาจคลาดเคลื่อน และทำใหมีโอกาสเสี่ยงตั้งครรภ์ได้ โดยอัตราเสี่ยงในการตั้งครรภ์จากการคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้อยู่ที่ประมาณ 24 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้ หากพบว่าระยะห่างระหว่างรอบเดือนเปลี่ยนไปจากเดิม โดยเกิดได้จากปัจจัยต่าง ๆ อาทิ ความเครียด อาการป่วย หรือการใช้ยาบางชนิด ควรปรับการนับวัน หรือคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นควบคู่

การคุมกำเนิดแบบวัดอุณหภูมิ

เพื่อลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ ผู้ที่เลือกคุมกำเนิดด้วยการนับระยะปลอดภัย อาจใช้วิธีคุมกำเนิดธรรมชาติแบบวัดอุณหภูมิร่างกายร่วมด้วย

ในการคุมกำเนิดวิธีนี้ จำเป็นต้องวัดอุณหภูมิของตัวเองสม่ำเสมอ แล้วบันทึกไว้ โดยให้วัดทันทีหลังตื่นนอนเวลาเดียวกันทุกวัน ก่อนเริ่มทำกิจกรรมต่างๆ (เพราะอาจมีผลต่ออุณหภูมิร่างกายได้) โดยพบว่าเมื่อเกิดการตกไข่อุณหภูมิร่างกายจะสูงขึ้นประมาณ 0.5 องศาเซลเซียส อันเป็นผลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน หรือระหว่าง 36.1-37.2 องศาเซลเซียส จากระดับอุณหภูมิปกติประมาณ 35.5-36.6 องศาเซลเซียส

ทั้งนี้ ระยะปลอดภัยของการคุมกำเนิดแบบวัดอุณหภูมิ คือ หลังไข่ตกไปแล้ว 3 วัน ขณะที่การมีเพศสัมพันธ์ก่อนไข่ตกประมาณ 4 วัน จะมีโอกาสตั้งครรภ์สูง

การคุมกำเนิดด้วยการนับระยะปลอดภัย ไม่สามารถช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้น หากต้องการคุมกำเนิดพร้อมป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ควรสวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What’s the temperature method of FAMs?. https://www.plannedparenthood.org/learn/birth-control/fertility-awareness/whats-temperature-method-fams. Accessed April 8, 2022

Rhythm method for natural family planning. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/rhythm-method/about/pac-20390918#:~:text=The%20rhythm%20method%2C%20also%20called,re%20most%20likely%20to%20conceive. Accessed April 8, 2022

Ovulation Calculator. https://www.webmd.com/baby/healthtool-ovulation-calculator. Accessed April 8, 2022

What’s the calendar method of FAMs?. https://www.plannedparenthood.org/learn/birth-control/fertility-awareness/whats-calendar-method-fams. Accessed April 8, 2022

What’s the temperature method of FAMs?. https://www.plannedparenthood.org/learn/birth-control/fertility-awareness/whats-temperature-method-fams. Accessed April 8, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/03/2023

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงวรัญญา สิริธนาสาร

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

การคุมกำเนิด มีอะไรบ้าง และทำได้อย่างไร

ทำหมัน วิธีคุมกำเนิดแบบถาวรสำหรับชายและหญิง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงวรัญญา สิริธนาสาร

สุขภาพทางเพศ · โรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 03/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา