backup og meta

ออรัลเซ็กส์ ความเสี่ยงต่อสุขภาพที่คู่รักควรรู้

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 12/04/2023

    ออรัลเซ็กส์ ความเสี่ยงต่อสุขภาพที่คู่รักควรรู้

    ออรัลเซ็กส์ (Oral Sex) เป็นการร่วมเพศทางปาก ที่สร้างความพึงพอใจให้คู่รักได้ อย่างไรก็ตาม หากไม่ดูแลรักษาความสะอาดทั้งก่อนและหลังทำออรัลเซ็กส์ อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อหรือโรคร้ายต่าง ๆ ได้ เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคซิฟิลิส เชื้อเอชไอวี ซึ่งหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเชื้อ ปากเป็นแผล หรือมีแผลที่อวัยวะเพศก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดโรคได้มากขึ้น

    ความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น

    โรคติดเชื้อเอชพีวีที่ปาก (Oral HPV) อาจแพร่จากคนหนึ่งสู่คนหนึ่งผ่านการทำออรัลเซ็กส์ โดยการใช้ปากกับทวารหนัก หรือกับอวัยวะเพศของอีกฝ่าย หรือแม้แต่การจูบแบบใช้ลิ้น (French Kissing) โดยคู่รักที่อยู่ด้วยกันมานานอาจมีแนวโน้มที่จะส่งต่อเชื้อเอชพีวีที่อวัยะเพศแก่กัน ซึ่งหมายถึงทั้ง 2 ฝ่ายต่างสามารถติดเชื้อนี้ได้ทั้งคู่ ดังนั้น ก่อนทำออรัลเซ็กส์ ควรพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการรับเชื้อมะเร็งในลำคอหรือปาก หรือควรมีการไปตรวจร่างกายและตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อความสบายใจของทั้ง 2 ฝ่าย

    เมื่อไหร่ที่ควรหลีกเลี่ยงการออรัลเซ็กส์

    • สถานะร่างกาย ความเสี่ยงจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) เป็นผู้กระทำหรือถูกกระทำในการออรัลเซ็กส์ หากผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้รับการออรัลเซ็กส์ ผู้ที่ทำออรัลเซ็กส์ให้ก็อาจมีความเสี่ยงสูงกว่าหากช่องปากมีแผล แต่ในทางกลับกันน้ำลายไม่ได้เป็นพาหะของเชื้อไวรัส
    • ปริมาณเชื้อไวรัส ความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีจะเพิ่มสูงขึ้น หากผู้ติดเชื้อมีปริมาณไวรัสสูง เพราะปริมาณของไวรัสที่สูงขึ้นจะช่วยเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อให้มากขึ้นตามไปด้วย
    • การหลั่งน้ำอสุจิ ขณะที่ทำออรัลเซ็กส์ การหลั่งน้ำอสุจิในปากจะช่วยเพิ่มความเสี่ยง เพราะถือเป็นการกระจายเชื้อไวรัสออกมา
    • บาดแผล การมีบาดแผลไม่ว่าจะเป็นที่ปาก ทวารหนัก ช่องคลอด หรือว่าที่อวัยวะเพศ ต่างก็เป็นช่องทางในการติดเชื้อเอชไอวีได้ทั้งสิ้น
    • ประจำเดือน เซลล์ที่มีเชื้อเอชไอวีจะหลั่งจากปากมดลูก ในระหว่างที่มีประจำเดือน การสัมผัสกับเลือดประจำเดือนด้วยปากอาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี
    • ท่อปัสสาวะอักเสบ อาการท่อปัสสาวะอักเสบทำให้เกิดความอักเสบและการระคายเคืองในท่อปัสสาวะ ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสของการติดเชื้อเอชไอวีได้เช่นกัน และโดยเฉพาะผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี มีผลการศึกษาว่ามีแนวโน้มที่จะหลั่งไวรัสได้ เมื่อพวกเขามีอาการท่อปัสสาวะอักเสบร่วมด้วย

    ออรัลเซ็กส์ ไม่ใช่สำหรับทุกคน

    ออรัลเซ็กส์ไม่ได้เหมาะกับทุกคน พูดอีกอย่างก็คือ ในขณะที่บางคนเห็นว่า ออรัลเซ็กส์อาจเป็นสิ่งที่จำเป็น และขาดไม่ได้สำหรับชีวิตคู่ แต่ขณะเดียวกันก็อาจเป็นสิ่งที่แย่สำหรับบางคนได้เช่นกัน หากรู้สึกไม่อยากทำ รู้สึกแย่เวลาที่ต้องออรัลเซ็กส์ให้กับคู่รัก ควรพูดคุยและแชร์ความรู้สึกของตัวเองเกี่ยวกับออรัลเซ็กส์ให้คู่รักรู้ เพราะยังมีเรื่องบนเตียงอีกหลายอย่างที่คู่รักจะได้สนุกสนาน และมีความสุขไปด้วยกัน ไม่ใช่แค่ออรัลเซ็กส์เท่านั้น และควรระลึกไว้เสมอว่า การร่วมเพศควรเป็นความสุขที่สุขด้วยกันทั้งคู่ ไม่ใช่ทำตามความต้องการของฝ่าย.ดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น ไม่ควรมีการบังคับ หรือนำมาซึ่งความไม่พึงพอใจ

    ออรัลเซ็กส์ อาจทำให้ความสัมพันธ์แนบแน่นขึ้น หรืออาจทำลายความสัมพันธ์ก็ได้

    สำหรับผู้ใหญ่ การทำรักด้วยปากไม่ใช่สิ่งแปลกหรือสิ่งต้องห้าม หากแต่เป็นเรื่องปกติ สำหรับผู้ชอบความแปลกใหม่ หรือความท้าทายทางเพศ แต่ไม่ใช่คู่รักทุกคู่ที่ทำกิจกรรมทางเพศรูปแบบนี้แล้วจะไม่เกิดความกังวลใจ บางคู่กังวลถึงความสะอาด ในขณะที่บางคู่กังวลว่าจะทำได้ไม่ดีพอ หรือกังวลว่าจะเป็นที่พอใจแก่อีกฝ่ายหรือไม่ นั่นหมายความว่า มีหลายปัจจัยที่ทำให้คู่รักกังวล เกี่ยวกับการทำรักด้วยปาก และความกังวลเหล่านั้นอาจนำมาซึ่งปัญหาในอนาคต หากไม่ได้รับการจัดการที่ดีและเหมาะสม ดังนั้น หากรู้สึกว่าออรัลเซ็กส์อาจเป็นอะไรที่มากเกินไป และจะทำลายความสัมพันธ์ได้ ลองใช้วิธีการอื่น ๆ บนเตียง ที่สามารถสร้างความพึงพอใจด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย

    ออรัลเซ็กส์อาจเป็นที่นิยมมากกว่าในกลุ่มคนอายุน้อย

    ออรัลเซ็กส์ก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์อาจเป็นที่แพร่หลายในกลุ่มคนอายุน้อยมากกว่าผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม การทำรักด้วยปาก เป็นเพียงเหตุผลของวัยรุ่น เพราะหลายคนที่มีประสบการณ์ด้านนี้ ในขณะที่อยู่ในวัยคะนองอาจทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจ มีความรู้สึกในทางลบ หรือแม้กระทั่งมีปัญหาในการสานต่อความสัมพันธ์กับผู้อื่น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

    สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 12/04/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา