backup og meta

ถุงยางอนามัยสตรี เรื่องจริงที่ผู้ชายไม่เคยรู้ และผู้หญิงควรรู้

ถุงยางอนามัยสตรี เรื่องจริงที่ผู้ชายไม่เคยรู้ และผู้หญิงควรรู้

ถุงยางอนามัยสตรี คือ ถุงเล็ก ๆ ทำจากพลาสติก สามารถใส่เข้าไปในอวัยวะเพศหญิง และปิดช่องคลอดบางส่วน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแลกเปลี่ยนของเหลวกันระหว่างคนสองคน ที่ปลายทั้งสองมีวงแหวนนุ่ม ๆ ด้านหนึ่งอยู่ข้างนอก และอีกด้านอยู่ใกล้กับปากมดลูก เพื่อป้องกันไม่ให้ ถุงยางอนามัย หลุดออกไป

[embed-health-tool-ovulation]

ถุงยางอนามัยสตรี คืออะไร

ถุงยางอนามัยสตรี คือ ถุงเล็ก ๆ ทำจากพลาสติก สามารถใส่เข้าไปในอวัยวะเพศหญิง และปิดช่องคลอดบางส่วน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแลกเปลี่ยนของเหลวกันระหว่างคนสองคน ที่ปลายทั้งสองมีวงแหวนนุ่ม ๆ ด้านหนึ่งอยู่ข้างนอก และอีกด้านอยู่ใกล้กับปากมดลูก เพื่อป้องกันไม่ให้ถุงยางอนามัย หลุดออกไป ถุงยางอนามัยสตรีทำงานโดยการเก็บเชื้อสเปิร์ม และป้องกันไม่ให้มันหลุดเข้าไปในอวัยวะเพศ หากใช้งานอย่างถูกต้อง ถุงยางอนามัยสตรีอาจช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง

ข้อดีของถุงยางอนามัยสตรี

  • ถุงยางอนามัยสตรีปกคลุมอยู่ด้านนอกอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิง จึงอาจทำให้ลดความเสี่ยงในการสัมผัสกับเริม และหูดที่อวัยวะเพศ
  • มีขนาดเล็กและพกพาสะดวก
  • ขนาดพอดีกับผู้หญิงทุกคน
  • อาจใช้ขณะมีประจำเดือนได้
  • อาจใช้กับการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก อย่างไรก็ตาม ควรระวังอย่างมากเนื่องจากถ้าถุงยางหลุดเข้าไปในทางทวารหนักแล้ว การเอาออกจะยากกว่าทางช่องคลอดมาก อาจจำเป็นต้องไปส่องกล้องเพื่อเอาออกมา

ข้อเสียของถุงยางอนามัยสตรี

  • อวัยวะเพศชายอาจจะลื่นเข้าไปในบริเวณระหว่างถุงยางอนามัยสตรีกับผนังมดลูก
  • อาจทำให้เกิดเสียงขณะมีเพศสัมพันธ์ แต่อาจแก้ได้ด้วยการใช้สารหล่อลื่นแบบวอเตอร์เบส
  • ถุงยางอนามัยสตรีอาจจะหลุดออกหรือฉีกขาด ขณะที่นำอวัยวะเพศชายออกจากอวัยวะเพศหญิง
  • ถุงยางอนามัยสตรีไม่แพร่หลายเหมือนกับถุงยางอนามัยสำหรับผู้ชาย และยังมีราคาที่แพงกว่า

การใช้สารหล่อลื่นกับถุงยางอนามัยสตรี

โดยปกติแล้ว ถุงยางอนามัยสตรีมักจะมีสารหล่อลื่นอยู่แล้ว เพื่อให้พร้อมต่อการใช้งาน แต่อาจจำเป็นต้องใช้สารหล่อลื่นเพิ่ม เพื่อป้องกันการฉีกขาด ถุงยางอนามัยสตรีทำจากโพลียูรีเทน (Polyurethane) ซึ่งสามารถใช้ร่วมกับสารหล่อลื่นชนิดไหนก็ได้ ในขณะที่ ถุงยางอนามัยชายแบบลาเท็กซ์นั้น ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารหล่อลื่นแบบออยล์เบส เช่น น้ำมันทาตัว เจลปิโตรเลียม ได้

ข้อเท็จจริงของถุงยางอนามัยสตรี 

  1. ถุงยางอนามัยสตรีสามารถป้องการตั้งครรภ์ได้มากถึงร้อยละ 95 หมายความว่า ผู้หญิงที่ใช้ถุงยางอนามัยผู้หญิง 5 ใน 100 คนในทุก ๆ ปีอาจมีสิทธิ์ตั้งครรภ์
  2. อาจต้องใส่ถุงยางอนามัยให้เข้าที่ ก่อนการมีเพศสัมพันธ์
  3. ถุงยางอนามัยสตรีควรเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป หลีกเลี่ยงการเก็บถุงยางอนามัยไว้ใกล้กับของมีคม ที่อาจทำให้มีการฉีกขาด
  4. ถุงยางอนามัยสตรีที่มีคุณภาพ ควรมีสัญลักษณ์ CE บนห่อผลิตภัณฑ์ หมายถึง ถุงยางอนามัยนี้ได้มาตรฐานยุโรป
  5. ถุงยางอนามัยสตรีอาจถูกดันเข้าไปในอวัยวะเพศจนลึก แต่ไม่ต้องกังวล เพราะสามารถเอาออกมาได้ง่าย ๆ แต่ในกรณีที่หลุดเข้าไปในช่องคลอดควรใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วย
  6. ผู้หญิงที่รู้สึกไม่สบายใจที่จะสัมผัสบริเวณอวัยวะเพศของตัวเอง อาจจะรู้สึกว่าการใช้ถุงยางอนามัยสตรีนี้เป็นเรื่องยาก
  7. ห้ามใช้ถุงยางอนามัยสตรีอันเดิมซ้ำ หากต้องการเปลี่ยนท่าให้ใช้ถุงยางอันใหม่

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Female condoms. https://www.getthefacts.health.wa.gov.au/condoms-contraception/types-of-contraception/female-condoms. Accessed May 15, 2017.

Female condoms. https://www.nhs.uk/conditions/contraception/female-condoms/. Accessed May 15, 2017.

Female condom. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/female-condom/about/pac-20394129. Accessed May 15, 2017.

Internal (sometimes called Female) Condom Use. https://www.cdc.gov/condomeffectiveness/internal-condom-use.html. Accessed December 17, 2021

How do I use an internal condom?. https://www.plannedparenthood.org/learn/birth-control/internal-condom/how-do-i-use-an-internal-condom. Accessed December 17, 2021

Female (Internal) Condom. https://www.fpnsw.org.au/factsheets/individuals/contraception/female-condom. Accessed December 17, 2021

Female Condoms. https://www.webmd.com/sex/birth-control/what-are-female-condoms. Accessed December 17, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/06/2023

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เซ็กส์ กับคนเป็น โรคหัวใจ ไม่ได้ห้าม แค่ต้องระวัง

ยาคุมกำเนิด กับ การตั้งครรภ์ และข้อควรรู้ก่อนใช้ยา


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 06/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา