backup og meta

ตกขาวเป็นก้อน เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร

ตกขาวเป็นก้อน เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร
ตกขาวเป็นก้อน เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร

ตกขาวเป็นก้อน คือ สัญญาณที่อาจบอกถึงการติดเชื้อในช่องคลอด เช่น เชื้อราในช่องคลอด อาจมีอาการตกขาวสีขาวข้น สีเหลือง สีเขียว มีกลิ่นเหม็น คัน ปวด บวม แดงบริเวณช่องคลอด ซึ่งอาจเกิดจากความระคายเคือง การใช้ยาปฏิชีวนะ การตั้งครรภ์ โรคเบาหวาน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น เหล่านี้อาจมีส่วนทำให้เชื้อราและแบคทีเรียดีในช่องคลอดไม่สมดุลจนเกิดการติดเชื้อ โดยปกติตกขาวเป็นก้อนไม่เป็นอันตรายร้ายแรง แต่อาจสร้างความรำคาญและความเจ็บปวด การใช้ยารักษาและการดูแลตัวเองอาจช่วยลดปัญหาอาการตกขาวเป็นก้อนได้

[embed-health-tool-ovulation]

ตกขาวเป็นก้อน เกิดจากอะไร

ตกขาวเป็นก้อนหนา สีเหลือง มีกลิ่นเหม็น อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อราในช่องคลอด โดยปกติภายในช่องคลอดจะมีสมดุลของเชื้อราและแบคทีเรียดี เช่น แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) เพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพช่องคลอด ป้องกันการติดเชื้อจากภายนอก และป้องกันไม่ให้เชื้อราเติบโตมากเกินไป แต่การใช้ยาปฏิชีวนะ การตั้งครรภ์ โรคเบาหวาน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง การรับประทานยาคุมกำเนิด อาจทำให้แบคทีเรียและเชื้อราดีในช่องคลอดเสียสมดุล จนเกิดการอักเสบขึ้น

โดยเชื้อราก่อโรคที่พบส่วนใหญ่ คือ เชื้อราแคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida Albicans) ซึ่งสามารถเจริญเติบโตและกระจายการติดเชื้อได้อย่างรวดเร็ว และทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการ ดังนี้

  • ตกขาวเป็นก้อนหนา ลักษณะคล้ายนมบูด
  • ตกขาวสีขาวข้น สีเหลือง หรือสีเขียว
  • มีกลิ่นเหม็นออกจากช่องคลอด

นอกจากนี้ อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น

การวินิจฉัยตกขาวเป็นก้อน

เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดปัญหาตกขาวเป็นก้อน คุณหมออาจวินิจฉัยอาการด้วยวิธีตรวจอวัยวะเพศภายนอก เพื่อตรวจหากสัญญาณการติดเชื้อ จากนั้นคุณหมออาจใช้เครื่องมือเฉพาะสอดเข้าไปในช่องคลอดให้ผนังช่องคลอดเปิดออก เพื่อตรวจสอบปากมดลูกและช่องคลอด นอกจากนี้ คุณหมออาจส่งตัวอย่างของเหลวในช่องคลอดเพื่อตรวจหาเชื้อราก่อโรคเพิ่มเติม

การรักษาตกขาวเป็นก้อน

การรักษาตกขาวเป็นก้อนอาจจำเป็นต้องรักษาที่สาเหตุหลัก เช่น การติดเชื้อราในช่องคลอด  เมื่อสาเหตุหลักหายดีอาการตกขาวก็จะดีขึ้นตามไปด้วย

อาการเล็กน้อยถึงปานกลาง

  • การรักษาทางช่องคลอดระยะสั้น ใช้ยาต้านเชื้อราเฉพาะที่รูปแบบครีม ขี้ผึ้ง หรือยาเหน็บ เช่น ไมโคนาโซล (Miconazole) เทอโคนาโซล (Terconazole)
  • ยารับประทานครั้งเดียว เช่น ยาฟลูโคนาโซล (Fluconazole) ซึ่งเป็นยาต้านเชื้อราแบบรับประทานครั้งเดียว แต่หากอาการรุนแรงขึ้น คุณหมออาจให้รับประทานครั้งละ 2 โดส ห่างกัน 3 วัน

อาการรุนแรง

  • การรักษาทางช่องคลอดระยะยาว คุณหมออาจสั่งยาต้านเชื้อราไมโคนาโซล (Miconazole) เทอโคนาโซล (Terconazole) ให้ทาทุกวันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ จากนั้นใช้เพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้งเป็นระยะเวลา 6 เดือน
  • ยาต้านเชื้อราแบบรับประทานหลายขนาด  อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยวิธีนี้อาจไม่เหมาะกับหญิงตั้งครรภ์เนื่องจากการรับประทานยาอาจส่งผลต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ได้
  • รักษาด้วยกรดบอริก (Boric Acid) ชนิดแคปซูล ใช้สอดในช่องคลอดเพื่อรักษาเชื้อราแคนดิดดา (Candida) ที่ดื้อต่อยาต้านเชื้อราปกติเท่านั้น ห้ามรับประทานเพราะอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

ในระหว่างการรักษาอาจจำเป็นต้องงดกิจกรรมทางเพศจนกว่าอาการจะหายขาด เพื่อลดการแพร่เชื้อและการติดเชื้อราเพิ่มขึ้น

การป้องกันตกขาวเป็นก้อน

เพื่อลดปัญหาตกขาวเป็นก้อนจึงควรป้องกันตั้งแต่สาเหตุเริ่มต้น ด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อราในช่องคลอด ดังนี้

  • เลือกผลิตภัณฑ์อาบน้ำ หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นสูตรอ่อนโยน ปราศจากน้ำหอม และหลีกเลี่ยงการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด เพื่อลดความระคายเคืองและการอักเสบ
  • หลีกเลี่ยงการแช่น้ำในอ่างอาบน้ำ เพราะในอ่างน้ำอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อโรคอื่น ๆ ที่อาจทำให้ช่องคลอดอักเสบและติดเชื้อได้
  • หลังจากอาบน้ำ ว่ายน้ำ หรือเปียกฝน ควรถอดเสื้อผ้าที่เปียกออก อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายและเช็ดตัวให้แห้งเสมอ เพื่อลดการสะสมของเชื้อรา หรือเชื้อโรคอื่น ๆ
  • หลีกเลี่ยงการใส่ถุงน่องหรือกางเกงที่รัดรูป คับแน่นมากเกินไป เพราะอาจทำให้บริเวณช่องคลอดอับชื้น และเกิดการเสียดสีของเสื้อผ้ากับผิวหนัง
  • หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอด เพราะการสวนล้างอาจเพิ่มความระคายเคืองและกำจัดแบคทีเรียดีภายในช่องคลอด เพิ่มโอกาสทำให้ติดเชื้อราได้ง่าย
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น เพราะยาปฏิชีวนะอาจฆ่าเชื้อแบคทีเรียดีในช่องคลอดออกไปส่งผลให้อาจติดเชื้อราได้ง่ายขึ้น แต่หากจำเป็นต้องใช้ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Vaginal Discharge: What’s Abnormal?. https://www.webmd.com/women/guide/vaginal-discharge-whats-abnormal. Accessed December 21, 2021

Yeast infection (vaginal). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/yeast-infection/symptoms-causes/syc-20378999. Accessed December 21, 2021

Yeast infection (vaginal). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/yeast-infection/diagnosis-treatment/drc-20379004. Accessed December 21, 2021

Vaginal discharge. https://www.nhs.uk/conditions/vaginal-discharge/. Accessed December 21, 2021

Vaginal Discharge. https://www.sutterhealth.org/pamf/health/teens/female/vaginal-discharge. Accessed December 21, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/04/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ตกขาว อาการ สาเหตุ การรักษา และการดูแลตัวเอง

ตกขาวสีเขียว มีสาเหตุ การรักษาอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 29/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา