backup og meta

ปวดท้องน้อย บ่งบอกโรคอะไรได้บ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 30/09/2022

    ปวดท้องน้อย บ่งบอกโรคอะไรได้บ้าง

    ปวดท้องน้อย เป็นเรื่องปกติที่ผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะเจอเวลาที่มีประจำเดือน อย่างไรก็ตาม หากมีอาการปวดแบบเฉียบพลัน และมีอาการปวดแบบเรื้อรัง อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกโรคบางอย่างได้ ดังนั้น หากมีอาการปวดท้องน้อยแบบผิดปกติ ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจและรักษาในทันที

    ปวดท้องน้อย บ่งบอกโรคอะไรได้บ้าง

    1. ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis)

    อาการ

    •    ปวดท้องน้อย ข้างขวาอย่างรุนแรง
    •    ปวดท้องฉับพลันบริเวณสะดือ และเปลี่ยนมาปวดที่ท้องน้อยด้านขวา
    •    เจ็บมากเวลาไอ เดิน หรือเคลื่อนไหวร่างกาย
    •    อาเจียน วิงเวียนศีรษะ
    •    เป็นไข้ และอาการแย่ลงเรื่อยๆ
    •    มีอาการท้องผูก ท้องร่วง หรือท้องอืด

    อาการปวดท้องน้อยที่มีสาเหตุมาจากไส้ติ่งอักเสบนั้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอายุ และปัจจัยอื่นๆ เช่น ถ้าตั้งครรภ์ อาการปวดก็จะไม่ใช่บริเวณท้องน้อย แต่ปวดบริเวณท้องด้านบนแทน เพราะว่าไส้ติ่งไปอยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้นเนื่องจากการตั้งครรภ์

    สาเหตุ ไส้ติ่งอักเสบ เกิดจากการที่มีสิ่งอุดตันในไส้ติ่งจนทำให้เกิดการอักเสบ เชื้อแบคทีเรียที่มาจากสิ่งอุดตันจะแพร่เชื้ออย่างรวดเร็วจนทำให้ไส้ติ่งบวม อักเสบ และอาจเกิดภาวะไส้ติ่งแตกได้

    การรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบเกิดขึ้นได้ในคนที่อายุ 10—30 ปี  การรักษาโรคนี้คือจะเป็นการผ่าตัดไส้ติ่งออก

    2. นิ่วในไต (Kidney stones)

    อาการปวดท้องน้อยแบบไหน คือนิ่วในไต

    •    ปวดท้องน้อย ไปจนถึงขาหนีบล่าง
    •    ปวดท้องอย่างรุนแรงที่ด้านข้างและด้านหลังใต้ซี่โครง
    •    ปวดๆ หายๆ
    •    ปวดท้องตอนที่ปัสสาวะ
    •    ปัสสาวะสีชมพูแดงหรือน้ำตาล
    •    คลื่นไส้และอาเจียน
    •    เป็นไข้และหนาวสั่น ถ้ามีการติดเชื้อ

    อาการปวดท้องน้อยไปทั่วบริเวณ อาจเกิดจากโรคนิ่วในไต ซึ่งอาการปวดอาจเปลี่ยนไปหรืออาการรุนแรงมากขึ้น ถ้านิ่วเคลื่อนที่ไปตามท่อปัสสาวะ

    สาเหตุเกิดจากอะไร นิ่วในไตคือของเสียที่แข็งตัว ซึ่งเกิดจากแร่ธาตุ หรือเกลือที่มาจากไตของเรา ชนิดของนิ่วในไตก็เช่น ก้อนนิ่วที่เกิดจากแคลเซียมออกซาเลต  (Calcium Oxalate) ก้อนนิ่วสตรูไวท์ และก้อนนิ่วกรดยูริก ที่มักจะพบในคนที่ดื่มน้ำน้อยเกินไป หากก้อนนิ่วเคลื่อนที่ไปตามท่อปัสสาวะจะทำให้เกิดอาการปวดท้องได้ นอกจากนี้นิ่วในไตยังอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอื่นๆ เช่น ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

    การรักษาโรคนิ่วในไต การรักษาของแพทย์จะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดก้อนนิ่ว และลักษณะของก้อนนิ่วในไต

    3. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)

    อาการปวดท้องน้อยแบบไหน คือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

    • ปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือน หรือมีอาการปวดท้องประจำเดือนรุนแรงมากจนไม่สามารถทำอะไรได้
    • ปวดท้องน้อยเวลามีเพศสัมพันธ์
    • เวลามีประจำเดือน จะปวดท้องเวลาปัสสาวะ
    • มีอาการท้องเสียตอนมีประจำเดือน
    • อาเจียน เวียนหัวตอนมีประจำเดือน

    สาเหตุเกิดจากอะไร เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่เกิดจากการที่เยื่อบุไปเกิดขึ้นนอกโพรงมดลูก เช่น ในรังไข่ เยื่อบุช่องท้อง หรือผนังลำไส้ โดยถึงแม้จะยังอยู่นอกมดลูกก็ยังคงมีปฏิกิริยาเวลามีประจำเดือนคือเยื่อบุโพรงมดลูกจะหนาขึ้นและหลุดลอกเป็นเลือดประจำเดือนเพียงแต่ไม่ได้มาจากภายในมดลูก เป็นเหตุให้ผู้หญิงบางคนปวดท้องอย่างหนักเวลามีประจำเดือน

    การรักษาโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ การปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือนทุกครั้ง และปวดมากๆ อาจเกิดจากการเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สาวๆ ที่มีอาการปวดท้องน้อยอย่างรุนแรงตอนมีประจำเดือนควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและทำการรักษาโรคต่อไป

    4. ปวดท้องประจำเดือน เนื่องจากการตกไข่ (Mittelschmerz)

    อาการปวดท้องน้อยแบบไหน คือปวดท้องประจำเดือน เนื่องจากการตกไข่

    • ปวดท้องน้อยด้านใดด้านหนึ่ง
    • ปวดเกร็งบริเวณท้องน้อย
    • ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน

    การปวดท้องน้อยที่เกิดจากการตกไข่ จะขึ้นอยู่กับปีกมดลูกข้างที่เกิดการตกไข่ บางคนอาจปวดท้องน้อยข้างเดียวติดต่อกันเป็นเวลาหลายเดือน หรือบางคนปวดสลับกันด้านซ้ายด้านขวา

    สาเหตุเกิดจากอะไร อาจเกิดจากเวลาเกิดการตกไข่ ไข่จะขยายขนาดทำให้เกิดอาการปวดได้

    การรักษาโรคปวดท้องประจำเดือน เนื่องจากการตกไข่ อาการของโรคนี้ไม่ค่อยส่งผลกระทบ และส่วนมากไม่เป็นอันตราย แพทย์จะวินิจฉัยโรคจากการซักประวัติ การตรวจร่างกาย ซึ่งถ้าสาวๆ มีอาการปวดท้องน้อยทุกๆ เดือนบริเวณรังไข่ ก็อาจไปพบคุณหมอเพื่อขอคำปรึกษา

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 30/09/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา