backup og meta

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหนองในเทียม ส่งผลร้ายต่อร่างกายอย่างไร

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหนองในเทียม ส่งผลร้ายต่อร่างกายอย่างไร

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหนองในเทียม คือ ภาวะที่ร่างกายของผู้ป่วยโรคหนองในเทียมอ่อนแอจนก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนหรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ  แม้บางครั้งร่างกายอาจไม่แสดงอาการเจ็บป่วยของโรคหนองในเทียม แต่เนื่องจากร่างกายมีเชื้อโรคหลบซ่อนอยู่ อาจทำให้แสดงอาการของโรคอื่นแทน หากไม่รีบรักษาหรือหาวิธีป้องกันอาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้

[embed-health-tool-ovulation]

โรคหนองในเทียม คืออะไร

โรคหนองในเทียมเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) ชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการติดเชื้อคลามีเดีย (Chlamydia trachomatis) ซึ่งเชื้อชนิดนี้ทำให้เกิดปากมดลูกอักเสบและท่อปัสสาสะอักเสบได้ โรคหนองในเทียมเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง แต่โดยส่วนใหญ่มักส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเพศหญิง เพราะอาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น  โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ ภาวะมีบุตรยาก การตั้งครรภ์นอกมดลูก อาการปวดกระดูกเชิงกรานเรื้อรัง ส่วนใหญ่โรคหนองในเทียมพบมากในวัยหนุ่มสาว อีกทั้งอาจไม่แสดงอาการจึงทำให้หลายคนเป็นโรคหนองในเทียมโดยไม่รู้ตัว

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหนองในเทียม มีอะไรบ้าง

โรคหนองในเทียมเป็นโรคที่พบได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง และอาจมีการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ได้ ทำให้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคหนองในเทียมตามมา ดังนี้

ภาวะแทรกซ้อนในผู้ชาย

อัณฑะอักเสบ (Epididymitis)

ผู้ชายที่เป็นโรคหนองในเทียม เชื้อคลามีเดียในร่างกายสามารถแพร่กระจายไปยังอัณฑะและท่ออสุจิได้ ซึ่งอาจทำให้มีอาการเจ็บปวด หรือบวม อาการเหล่านี้เรียกว่า อัณฑะอักเสบ (Epididymitis) สามารถรักษาด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะ แต่ถ้าปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอาจส่งผลเสียต่อภาวะเจริญพันธุ์ทำให้มีบุตรยากในอนาคตได้

โรคไขข้ออักเสบ

โรคหนองในเทียมเป็นสาเหตุหลักที่พบบ่อยของโรคไขข้ออักเสบ โดยทำให้บริเวณข้อต่อ ตา หรือท่อปัสสาวะเกิดการอักเสบภายใน 3 สัปดาห์แรกหลังจากติดเชื้อโรคหนองในเทียมแล้วไม่รักษา อย่างไรก็ตาม โรคไขข้ออักเสบนี้อาจรักษาให้ดีขึ้นได้จากการรับประทานยาต้านการอักเสบ เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด

ภาวะแทรกซ้อนในผู้หญิง

ในผู้หญิงหากติดเชื้อคลามีเดียซึ่งเป็นสาเหตุโรคหนองในเทียม เชื้อโรคอาจแพร่กระจายไปยังมดลูก รังไข่ หรือท่อนำไข่ได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา เช่น ภาวะมีบุตรยาก ปวดอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง เพิ่มความเสี่ยงการตั้งครรภ์นอกมดลูก นอกจากนั้นแล้ว ยังอาจเกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ดังนี้

โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ

อาการของโรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ ทำให้รู้สึกไม่สบายหรือปวดบริเวณเชิงกรานขณะมีเพศสัมพันธ์ ปวดขณะปัสสาวะ มีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์  รักษาได้ด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะมีบุตรยาก

ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

ในขณะตั้งครรภ์หากเป็นโรคหนองในเทียม มีโอกาสที่โรคจะสามารถแพร่ไปยังทารกในครรภ์ได้ ซึ่งอาจทำให้ทารกติดเชื้อนำไปสู่ภาวะเยื่อบุตาอักเสบ และปอดบวมได้ อีกทั้งอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด หรือทารกมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ได้ด้วย

วิธีป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคหนองในเทียม

เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคหนองในเทียม ควรรู้จักป้องกันและดูแลสุขภาวะทางเพศให้สะอาดและปลอดภัย โดยเฉพาะเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ดังนี้

  • ใช้ถุงยางอนามัย ใส่ถุงยางอนามัยระหว่างมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย การเปลี่ยนคู่นอนบ่อยอาจเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้
  • ตรวจคัดกรองโรค หากมีพฤติกรรมเสี่ยง หรือมีการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ให้ตรวจคัดกรองโรคทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำเพื่อป้องกันการติดโรค หรือหากติดเชื้อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
  • หลีกเลี่ยงการสวนล้าง โดยเฉพาะในช่องคลอดซึ่งมีเชื้อแบคทีเรียชนิดดี หากสวนล้างบ่อยเกินไปอาจทำให้จำนวนแบคทีเรียชนิดดีลดลง และอาจเพิ่มโอกาสการติดเชื้อได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Chlamydia – CDC Fact Sheet (Detailed). https://www.cdc.gov/std/chlamydia/stdfact-chlamydia-detailed.htm. Accessed April 12, 2022.

Complications. https://www.nhs.uk/conditions/chlamydia/complications/. Accessed April 12, 2022.

Chlamydia trachomatis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chlamydia/symptoms-causes/syc-20355349. Accessed April 12, 2022.

Chlamydia Can Lead to Infertility. https://www.stanfordchildrens.org/en/topic/default?id=chlamydia-can-lead-to-infertility-1-2517. Accessed April 12, 2022.

Epididymitis. https://www.nhs.uk/conditions/epididymitis/. Accessed April 12, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/01/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

หนองในแท้ในทารก โรคติดต่อจากแม่สู่ลูก ที่คุณควรรู้

หนองใน หรือหนองในแท้ อาการ สาเหตุ วิธีรักษา


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 03/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา