backup og meta

หนองในเทียมหายเองได้ไหม

หนองในเทียมหายเองได้ไหม

หนองในเทียมหายเองได้ไหม อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย ทั้งนี้ หนองในเทียม เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย ในระยะแรก หนองในเทียมอาจไม่แสดงอาการใด ๆ และมักหายเองได้หากอาการไม่รุนแรง แต่หากรู้สึกเจ็บปวดบริเวณอวัยวะเพศ ควรเข้ารับการตรวจรักษาโดยเร็ว เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ การติดเชื้อที่อัณฑะและต่อมลูกหมาก

[embed-health-tool-ovulation]

หนองในเทียม คืออะไร

หนองในเทียม คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า คลาไมเดีย ทราโคมาติส (Chlamydia trachomatis) ผ่านทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือช่องปาก มักเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน หากสตรีตั้งครรภ์เป็นโรคหนองในเทียม อาจแพร่เชื้อให้แก่ทารกในครรภ์ได้ระหว่างคลอด ซึ่งอาจทำให้ทารกแรกเกิดติดเชื้อที่ตา และปอด และนำไปสู่โรคปอดบวมได้

อาการหนองในเทียมในผู้ชายและผู้หญิงมีความแตกต่างกัน ดังนี้

อาการหนองในเทียมในผู้ชาย

  • รู้สึกเจ็บอวัยวะเพศขณะถ่ายปัสสาวะ
  • รู้สึกแสบร้อนและคันองคชาต
  • มีสารคัดหลั่งลักษณะขุ่นใสบริเวณปลายองคชาต
  • อัณฑะบวม

อาการหนองในเทียมในผู้หญิง

  • มีไข้
  • ปวดท้อง
  • ตกขาวมีกลิ่นไม่พึงประสงค์
  • เลือดออกระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • คันและแสบร้อนรอบ ๆ ช่องคลอด หรือภายในช่องคลอด โดยเฉพาะขณะมีเพศสัมพันธ์
  • รู้สึกเจ็บแสบขณะปัสสาวะ

หนองในเทียมหายเองได้ไหม

ในกรณีที่ไม่รุนแรง หนองในเทียมสามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่ในระหว่างนั้นควรงดมีเพศสัมพันธ์จนกว่าหนองในเทียมจะหาย แต่หากมีอาการในระดับปานกลางหรือเจ็บแสบขณะถ่ายปัสสาวะ ควรเข้ารับการตรวจปัสสาวะ หรือคุณหมออาจขอเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งไปตรวจหาสาเหตุและดำเนินการรักษาในลำดับถัดไป

วิธีรักษาหนองในเทียมที่นิยมใช้ อาจมีดังนี้

  • การรับประทานยาปฏิชีวนะตามที่คุณหมอสั่งจ่าย เช่น อะซิโทรมัยซิน (Azithromycin) ด็อกซีไซคลิน (Doxycycline) โดยอาจจำเป็นต้องรับประทานยาติดต่อกัน 5-10 วัน
  • การให้ยาปฏิชีวนะผ่านทางหลอดเลือดดำและอาจจำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด

วิธีดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงโรคหนองในเทียม

วิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหนองในเทียม มีดังนี้

  • งดมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคน เพราะอาจยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคหนองในเทียมและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ
  • หลีกเลี่ยงการสวนล้างอวัยวะเพศ หรือทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศด้วยผลิตภัณฑ์เคมี ควรล้างบริเวณภายนอกอวัยวะเพศด้วยน้ำเปล่า
  • เมื่อขับถ่ายเสร็จแล้ว ควรเช็ดอวัยวะเพศจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากทวารหนักแพร่เชื้อไปยังอวัยวะเพศ
  • เข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อตรวจหาโรคหนองในเทียม และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Chlamydia-CDC Fact sheet. http://www.cdc.gov/std/chlamydia/stdfact-chlamydia.htm. Accessed.October 11, 2021

Sexual transmitted infections (STIs). http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs110/en/. Accessed.October 11, 2021

Chlamydia. https://www.nhs.uk/conditions/chlamydia/. Accessed.October 11, 2021

Chlamydia. https://www.webmd.com/sexual-conditions/chlamydia#1. Accessed.October 11, 2021

Chlamydiatrachomatis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chlamydia/symptoms-causes/syc-20355349. Accessed.October 11, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/07/2024

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

หนองในผู้หญิง สาเหตุ อาการ การรักษา

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหนองในเทียม ส่งผลร้ายต่อร่างกายอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 03/07/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา