backup og meta

เฟติช คืออะไร ผิดปกติหรือไม่

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 27/11/2023

    เฟติช คืออะไร ผิดปกติหรือไม่

    เฟติช คือ การมีอารมณ์ทางเพศต่อวัตถุและเรือนร่าง หรือคลั่งไคล้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายของอีกฝ่าย เช่น เท้า รักแร้ สะดือ ซึ่งแต่ละคนอาจมีรสนิยมที่แตกต่างกันออกไป เฟติชอาจเกิดจากประสบการณ์ในวัยเด็ก การเกิดปมในใจที่ทำให้ฝังใจ และไม่สามารถลบออกได้ จนแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมทางเพศ

    เฟติช คืออะไร

    เฟติช (Feitsh) คือ ความปรารถนา ความคลั่งไคล้ทางเพศที่มีต่อวัตถุ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเป็นพิเศษ ซึ่งมีความหลากหลาย เช่น รสนิยมทางเพศที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอย่าง เสื้อผ้า ถุงน่อง แว่น การแต่งตัวเหมือนสัตว์ ทั้งยังอาจแยกย่อยออกได้ไปอีก บางคนอาจชอบให้คู่รักใส่เสื้อผ้าแบบลาเท็กซ์ สวมถุงน่อง หรือแม้แต่การให้คู่รักแต่งตัวคล้ายสัตว์ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศ

    ส่วนเฟติชที่มีอารมณ์กับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นเท้า รักแร้ สะดือ นอกจาก จะมีอารมณ์ทางเพศ เมื่อเห็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายคู่รักที่มีความสวยงามแล้ว ยังนิยมมีกิจกรรมทางเพศกับอวัยวะส่วนนั้นด้วย เช่น การเล้าโลมไปจนถึงเลียเท้า

    เฟติชเกิดจากอะไร

    เฟติชอาจเกิดจากประสบการณ์ในวัยเด็ก การเกิดปมในใจที่ทำให้ฝังใจ และไม่สามารถลบออกได้ เช่น การดูพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมหรือการล่วงละเมิดทางเพศในวัยเด็ก จนแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมทางเพศ

    รูปแบบการเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมแสดงให้เห็นว่า เด็กที่ตกเป็นเหยื่อหรือสังเกตพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ได้เรียนรู้ที่จะเลียนแบบและเสริมสร้างพฤติกรรมดังกล่าวในภายหลัง แบบจำลองนี้แสดงให้เห็นว่า บุคคลเหล่านี้ถูกกีดกันจากเรื่องเพศแบบปกติ จึงหาวิธีเติมเต็มด้วยวิธีการอื่น ๆ

    เฟติชอาจพบบ่อยในเพศชาย พฤติกรรมดังกล่าวมีสาเหตุมาจากความสงสัยเกี่ยวกับความเป็นชายในตัวเอง ความสามารถ ความกลัวที่จะถูกปฏิเสธ และความอับอาย จึงเกิดเป็นเฟติชและเรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุที่กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ซึ่งอาจเป็นการปกป้องตัวเองและชดเชยความรู้สึกบางส่วน

    เฟติช รสนิยมทางเพศหรือความป่วย

    เฟติชอาจเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นจินตนาการ จนเกิดมีการเรียกร้องและมีพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดึงดูดความสนใจทางเพศกับวัตถุที่ไม่มีชีวิต นับเป็นพฤติกรรมทางเพศที่พบได้ แต่ตามมาตรฐานของสังคม เฟติชอาจถือเป็นความผิดปกติหรือป่วยทางจิต เพราะแตกต่างจากพฤติกรรทางเพศของคนทั่วไป

    ตามคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต ที่จัดทำโดยสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา (American Psychiatric Association) บันทึกว่า เฟติชไม่ใช่โรคทางจิตแต่หากเป็นรสนิยมทางเพศอย่างหนึ่ง แต่หากเฟติชทำให้เกิดความทุกข์ทรมานทางร่างกายหรือจิตใจขึ้นกับตัวเองหรือคนอื่นจนได้รับความบาดเจ็บ กระทบกระเทือนทางจิตใจหรือเสียชีวิต แม้กระทั่ง การไม่ได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย ไม่เต็มใจ ถูกบังคับให้ทำก็จะถือว่าคนนั้นมีอาการทางจิต

    เฟติช ทำให้เกิดปัญหาอะไร

    เฟติช อาจนำมาซึ่งปัญหาความสัมพันธ์ ได้ แม้ว่าคู่รักจะมีความรู้สึกดี ๆ ต่อกันมากขนาดไหน   แต่เมื่อรสนิยมทางเพศ ความชอบกิจกรรมทางเพศแตกต่างกัน อาจจะทำให้เกิดปัญหาได้ เช่น บางคนชอบให้แฟนใส่หูแมวขณะมีกิจกรรมทางเพศ ซึ่งคู่รักอาจจะยอมใส่ในระยะสั้น ๆ เพื่อประคองความสัมพันธ์ แต่หากนั่นไม่ใช่ความชอบจริง ๆ อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในอนาคตได้

    ผู้ที่มีรสนิยมทางเพศแบบเฟติชบางราย มีแนวโน้มที่จะทำผิดกฎหมาย รูปแบบของเฟติชมักแบ่งออกเป็นหลายแบบ อย่างเช่น การชอบเด็กสาว นับเป็นหนึ่งในรสนิยมเฟติช หากไม่สามารถควบคุมตนเองได้ก็อาจก่อให้เกิดอาชญากรรมทางเพศ เช่น การล่วงละเมิดเด็ก การข่มขืน การทำอนาจารแก่เด็ก

    เฟติช และการควบคุมตนเอง

    เฟติช ไม่ใช่อาการที่จำเป็นต้องรักษา ยกเว้นเฟติชส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ทำให้เกิดความทุกข์ ไม่สามารถทำงานหรือใช้ชีวิตได้ตามปติ เฟติช มีแนวโน้มที่จะมีอาการต่อเนื่อง และอาจมีความต้องการอย่างรุนแรงมากขึ้นจนควบคุมตนเองไม่ได้และอาจต้องใช้เวลารักษาเป็นระยะเวลานานเพื่อให้การรักษาได้ผลและมีประสิทธิภาพ

    สำหรับวิธีการรักษาเฟติช อาจทำได้ด้วยการบำบัดต่าง ๆ ทั้งการรักษาแบบจิตวิเคราะห์แบบดั้งเดิม การสะกดจิต สร้างกระบวนการทางความคิดเพื่อให้เกิดความเข้าใจ พฤติกรรมบำบัด และการให้ยา โดยจะมีการให้ยากลุ่ม SSRIs และยากลุ่มแอนโดรเจน การให้ยาบางชนิดส่งผลต่อความรู้สึกทางเพศที่รุนแรงให้ลดลง ซึ่งจะช่วยให้ความรู้สึกทางเพศแบบเฟติชลดลง โดยยาที่เรียกว่า แอนตี้แอนโดรเจน (Antiandrogens) อาจลดระดับฮอร์โมนเพศชายได้อย่างรวดเร็วและถูกนำมาใช้ร่วมกับการรักษาเฟติชในรูปแบบอื่น ซึ่งยานี้อาจลดพฤติกรรมทางเพศของผู้ชาย นอกจากนั้น การรักษาด้วยยาควรทำควบคู่ไปกับการบำบัดด้วยความรู้ความเข้าใจ เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 27/11/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา