backup og meta

โพลีกามี่ คือความสัมพันธ์แบบไหน มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 05/04/2022

    โพลีกามี่ คือความสัมพันธ์แบบไหน มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง

    โพลีกามี่ (Polygamy) หรือ ความสัมพันธ์แบบมีคนรักหลายคน คือ ความสัมพันธ์แบบบุคคลคนกลาง 1 คน มีคู่ครองมากกว่า 1 คนในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ผู้ชาย 1 คน มีภรรยามากกว่า 1 คน ในเวลาเดียวกัน ซึ่งเกิดจากความยินยอมของทุกฝ่าย

    ความสัมพันธ์แบบโพลีกามี่กับการยอมรับทางสังคม

    ความสัมพันธ์แบบโพลีกามี่มีมาตั้งแต่สมัยอดีต นบางประเทศเช่น ประเทศอินเดียได้มีการยอมรับให้สามีมีภรรยาได้หลายคนเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย และสำหรับชาวมุสลิมภายใต้กฎหมายผู้ชายสามารถมีภรรยาได้ถึง 4 คน ตราบเท่าที่สามีปฎิบัติต่อภรรยาทั้ง 4 คน อย่างเท่าเทียมกัน แต่ในประเทศทวีปยุโรปและเอเชีย เช่น ประเทศจีน ประเทศออสเตรเลีย การมีภรรยาหลายคนถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย

    ข้อดีและข้อเสียของความสัมพันธ์แบบโพลีกามี่

    ข้อดีของความสัมพันธ์แบบโพลีกามี่

  • ช่วยกันแบ่งเบาภาระในครอบครัว
  • เพศชายมีความพึงพอใจในเรื่องกิจกรรมทางเพศมากขึ้น
  • ข้อเสียของความสัมพันธ์แบบโพลีกามี่

    • หากไม่มีการตกลงกันที่ชัดเจนอาจทำให้เกิดความขัดแย้งได้
    • ในครอบครัวที่มีภรรยาหลายคน หากมีบุตร ทารกมีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าครอบครัวที่มีคู่สมรสคนเดียว

    วิธีลดความเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

    ความสัมพันธ์แบบโพลีกามี่ คือ การมีคู่ครองหลายคน ซึ่งหากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน อาจทำให้เสี่ยงเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ จึงควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์ และรักษาสุขอนามัยทางเพศอยู่เสมอ เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้

    • โรคหนองในเทียม
    • โรคซิฟิลิส
    • การติดเชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus หรือ HIV)
    • โรคเริม
    • การติดเชื้อเอชพีวี (Human Papillomavirus หรือ HPV)

    ถึงแม้ว่าโรคติดต่อที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์จะไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่สามารถบรรเทาอาการให้ลดลงได้ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ เมื่อพบอาการผิดปกติใด ๆ ควรรีบไปพบคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาแต่เนิ่น ๆ ซึ่งอาจช่วยให้รับมือกับโรคได้ดีขึ้น และอาจช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไปสู่ผู้อื่นด้วย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 05/04/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา