backup og meta

เมนส์มาน้อย ผิดปกติหรือไม่ ประจำเดือนมาน้อย เสี่ยงโรคอะไรบ้าง

เมนส์มาน้อย ผิดปกติหรือไม่ ประจำเดือนมาน้อย เสี่ยงโรคอะไรบ้าง

เมนส์มาน้อยหรือประจำเดือนมาน้อย อาจเป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ หรือเป็นเพราะร่างกายส่งสัญญาณอันตราย ความเสี่ยงต่อโรคที่ต้องพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด

[embed-health-tool-ovulation]

เมนส์ คืออะไร

ประจำเดือนหรือเมนส์ คือ การหลุดลอกตัวของผนังเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อเตรียมไว้สำหรับรับการฝังตัวของตัวอ่อน แต่เมื่อไม่มีการฝังตัว ผนังเยื่อบุโพรงมดลูกจะผลัดออกมาตามการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ปรากฎเป็นเลือดออกมาทางช่องคลอดเป็นประจำทุกเดือน โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงจะเริ่มมีประจำเดือนช่วงอายุ 12 ปี 

ประจำเดือนแบบไหนปกติ

  • เมนส์มาปกติควรมาไม่เกิน 7 วันต่อรอบเดือน มาเพียงเดือนละ 1 ครั้ง ยกเว้นผู้หญิงที่มีเมนส์ช่วงต้นเดือน อาจมาอีกครั้งในช่วงปลายเดือนก็ได้
  • รอบเดือนแต่ละครั้งจะห่างกัน 28 วันโดยเฉลี่ย แต่อาจเป็นประจำเดือนได้ตั้งแต่ 21 ถึง 35 วัน ผู้ที่เริ่มมีรอบเดือนในช่วงปีแรก ๆ และวัยใกล้หมดประจำเดือน อาจพบว่า เมนส์มาไม่สม่ำเสมอได้
  • ปริมาณของประจำเดือน ไม่ควรเกิน 80 ซีซี ปกติแล้วค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 35 ซีซีต่อรอบ เปรียบเทียบปริมาณได้กับผ้าอนามัยประมาณ 3-4 ผืนต่อวัน หากเมนส์มาน้อยกว่านี้อาจพบความผิดปกติได้

สาเหตุที่ทำให้เมนส์มาน้อย

ประจำเดือนมาไม่ปกติเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุที่ทำให้เมนส์มาน้อย เช่น

  1. ภาวะเครียดหรือวิตกกังวล : ความเครียดจากทั้งการเรียน การทำงาน และปัญหาส่วนตัว ล้วนส่งผลต่อฮอร์โมนในร่างกายที่ผิดปกติ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เมนส์มาน้อย
  2. พักผ่อนไม่เพียงพอ : เมื่อนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ โดยเฉพาะผู้ที่โหมงานหนัก เสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วยไม่สบาย อีกทั้งส่งผลให้ประจำเดือนมาผิดปกติอีกด้วย
  3. การใช้ยาคุมกำเนิด : การใช้ยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ๆ หรือฉีดยาคุมกำเนิด ส่งผลต่อฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้เมนส์มาน้อย ประจำเดือนมากะปริดกะปรอย ในบางรายพบได้เมื่อเปลี่ยนยี่ห้อยาคุมกำเนิด
  4. วัยใกล้หมดประจำเดือน : เมื่ออายุ 45-55 ปีขึ้นไป ร่างกายจะเปลี่ยนแปลงเพราะเข้าสู่วัยใกล้หมดประจำเดือน ส่งผลให้เมนส์มาน้อยลง ฮอร์โมนเริ่มลดลง ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ และเข้าสู่การหมดประจำเดือนในที่สุด
  5. ลดน้ำหนักรวดเร็วเกินไป : การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ได้รับสารอาหารน้อยเกินไป สวนทางกับการออกกำลังกายมากเกินพอดี ส่งผลต่อประจำเดือนได้เช่นกัน 
  6. ดื่มน้ำน้อยเกินไป : ส่งผลให้เกิดประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เมนส์มาน้อย อาจมีสีเข้ม เป็นลิ่มเลือด หรือปวดท้องประจำเดือนมาก เกิดจากน้ำในร่างกายไม่พอนำไปสร้างเป็นประจำเดือน

เมนส์มาน้อย สาเหตุของโรคอะไร

ประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจเป็นสาเหตุของโรคได้ เช่น

  • โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือช็อกโกแลตซีสต์ : เลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน อาจเกิดได้จากโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ทำให้บริเวณนั้นเป็นพังผืดมองเห็นเป็นจุดเลือดออก หากพบปริมาณมากและนานเข้าจะมีลักษณะข้นเรียกว่า “ช็อกโกแลตซีสต์”
  • ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome; PCOS) : ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก พบอาการเมนส์มาน้อย ร่วมกับรังไข่มีขนาดโต พบถุงน้ำหลายใบ ขนดก มีสิวมากกว่าปกติ และอ้วนขึ้น

นอกจากนี้ เมนส์มาน้อยยังอาจเกิดได้จากการอักเสบภายในร่างกาย เช่น ช่องคลอด ปากมดลูก หรือพบพังผืดบริเวณโพรงมดลูก เมื่อพบความผิดปกติของประจำเดือน จึงควรตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อรับการรักษาต่อไป

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ประจำเดือนแบบไหนไม่ปกติ. https://www.gj.mahidol.ac.th/main/knowledge-2/menstruation/. Accessed July 2023.

ประจำเดือนกะปริบกะปรอยหลังเปลี่ยนยาคุมกำเนิด. https://pharmacy.mahidol.ac.th/DIC/knowledge_full.php?id=41. Accessed July 2023.

ประจำเดือนมาไม่ปกติ. https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/827/Amenorrhea. Accessed July 2023.

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome). https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/4818/ . Accessed July 2023.

Irregular periods https://www.nhs.uk/conditions/irregular-periods/#:~:text=What%20are%20irregular%20periods%3F,shorter%20or%20longer%20than%20this. Accessed July 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

05/07/2023

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ประจําเดือนขาด มีสาเหตุมาจากอะไร และวิธีช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ

ประจำเดือนมา2ครั้ง ในเดือนเดียว ผิดปกติไหม


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 05/07/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา