จากสถิติมะเร็งในสตรีไทยของ GLOBOCAN 2018 มะเร็งปากมดลูกพบเป็นอันดับที่ 2 รองมาจากมะเร็งเต้านม โดยมี อุบัติการณ์ 16.2 ต่อสตรี 100,000 คน/ปี มีผู้ป่วยรายใหม่ปีละ 8,622 คน หรือ ประมาณ 24 คนต่อวัน และเสียชีวิตปีละ 5,015 คน หรือประมาณ 14 คนต่อวัน
มะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้
เนื่องจากสามารถป้องกันได้หลายวิธี ทั้งโดยการฉีดวัคซีน HPV ป้องกันการติดเชื้อ HPV และการตรวจคัดกรองซึ่งมีหลากหลายวิธี ที่มีประสิทธิภาพวัคซีน HPV ที่มีใช้ในประเทศไทย ในปัจจุบันสามารถ ป้องกันการติดเชื้อ HPV16 และ HPV18 ซึ่งเป็นสาเหตุประมาณ 70-75% ของมะเร็งปากมดลูกในสตรีไทย นอกจากนี้ ยังมีสายพันธุ์อื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ได้แก่ HPV 31, HPV 33, HPV 45, HPV 52 และ HPV 58 ซึ่งเป็น สาเหตุประมาณ 15-20% ของมะเร็งปากมดลูกในสตรีไทย ส่วนเชื้อ HPV6 และ HPV11 เกี่ยวข้องกับการป้องกันหูดหงอนไก่
ตั้งแต่เริ่มฉีดวัคซีน HPV ในสตรีทั่วไปในปี ค.ศ.2006 พบว่าปัจจุบันความชุกของการติดเชื้อ HPV16/18 ในสตรีลดลงไปมากถึง 90% abnormal cytology ลดลงไป 50% และ รอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูก (CIN2+) ลดลงไปมากกว่า 85%
การติดเชื้อ HPV ในสตรีวัยทำงาน
ความชุกของการติดเชื้อ HPV จะสูงที่สุดในช่วงวัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 16-20 ปี (25-35%) แล้วค่อย ๆ ลดลงในช่วงอายุ 21-25 ปี (20-25%) หลังอายุ25 ปีความชุกของการติดเชื้อ HPV ถึงแม้ว่าจะลดลง แต่ก็ยังคง สูงอยู่ประมาณ 10-15% ความเสี่ยงที่สตรีจะติดเชื้อ HPV ใหม่อีกยังคงมี อยู่ตลอดช่วงชีวิตที่ยังมีเพศสัมพันธ์อยู่ ในแต่ละปีสตรีในวัยทำงานช่วง อายุ 25-45 ปี จะมีโอกาสติดเชื้อ HPV ใหม่อีกประมาณ 5-15% ความเสี่ยง ที่การติดเชื้อ HPV คงอยู่เนิ่นนาน (persistent) จะสูงขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะเชื้อ HPV 16 และ18 สตรีอายุ 25-45 ปี ที่ติดเชื้อ HPV 16 มีความเสี่ยง ต่อ persistent infection ประมาณ 25% แต่ถ้าอายุ 45-64 ปี ความเสี่ยงดังกล่าวจะสูงขึ้นถึง 42% persistent HPV infection นี้เป็นขั้นตอนสำคัญขั้นตอนแรกของการดำเนินโรคต่อไปเป็นรอยโรคก่อนมะเร็ง และมะเร็งปากมดลูก
ความชุกของการติดเชื้อ HPV ในสตรีไทย พบประมาณ 5-10%
ดังตาราง โดยจะลดลงตามอายุที่มากขึ้น แต่อัตราการคงอยู่เนิ่นนานของเชื้อ (persistence) จะสูงขึ้นตามอายุ เชื้อ HPV16 เป็นเชื้อที่พบมากที่สุด และมีอัตราการคงอยู่เนิ่นนานสูงที่สุด(1)
ประสิทธิภาพของการฉีดวัคซีน HPV ในสตรีวัยทํางานอายุ 24-45 ปี
การฉีดวัคซีน HPV ในสตรีวัยทํางานอายุ 24-45 ปี พบว่ามีศักยภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (immunogenicity) สูง มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการติดเชื้อ HPV, persistent HPV infection, cervical & external genital diseases และมีความปลอดภัยสูง ไม่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ชนิดรุนแรงจากการฉีดวัคซีน
TH-HPV-00173