backup og meta

เริมเกิดจากอะไร

เริมเกิดจากอะไร

เริม คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จากไวรัสเริม ที่ส่งผลให้เกิดอาการคันและมีแผลบริเวณอวัยวะเพศ ช่องปาก เริม เป็นโรคที่พบได้ทุกเพศทุกวัย และอาจเป็นซ้ำ ๆ ได้บ่อย ควรศึกษาว่า เริมเกิดจากอะไร มีอาการอย่างไร เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

เริมเกิดจากอะไร

เริม เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเริมผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันกับผู้ที่ติดเชื้อ และสัมผัสกับสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย การใช้สิ่งของร่วมกัน การจูบ สัมผัสกับผิวหนัง 

ไวรัสเริมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • ไวรัสเริ่มชนิดที่ 1 (HSV-1) ส่วนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณช่องปาก และรอบ ๆ ปาก แต่ก็อาจส่งผลให้ติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศได้หากมีเพศสัมพันธ์ทางปาก บางกรณีไวรัสเริมชนิดที่ 1 อาจถ่ายทอดจากมารดาที่ติดเชื้อสู่ทารกระหว่างการคลอดบุตรผ่านทางช่องคลอดที่มีเชื้อไวรัส ซึ่งอาจส่งผลให้ทารกติดเชื้อไวรัสเริม มีแนวโน้มเป็นโรคไข้สมองอักเสบ การติดเชื้อที่ตา โรคไขข้ออักเสบ ระบบประสาทได้รับความเสียหาย 
  • ไวรัสเริมชนิดที่ 2 (HSV-2) เป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก และการสัมผัสกับสารคัดหลั่งที่มีเชื้อไวรัสเริมผ่านทางผิวหนัง เป็นประเภทที่อาจพบได้บ่อยและมีการแพร่กระจายสูง อีกทั้งยังอาจส่งผลให้ทารกได้รับเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 2 ได้จากมารดาตั้งครรภ์เหมือนไวรัสเริมชนิดที่ 1

ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันด้วยการสวมถุงยางอนามัย อาจมีแนวโน้มเสี่ยงได้รับเชื้อไวรัสเริม ซึ่งเริมอาจเกิดขึ้นบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

อาการของเริม 

อาการของเริมอาจเกิดขึ้นประมาณ 2-12 วันหลังจากสัมผัสกับไวรัส โดยอาจมีอาการดังต่อไปนี้

  • ปวด แสบร้อน คันบริเวณที่ติดเชื้อ
  • มีตุ่มแดง และตุ่มสีขาวเล็ก ๆ ปรากฏบริเวณริมฝีปาก อวัยวะเพศหลังจากติดเชื้อได้ 2-3 สัปดาห์
  • แผลพุพองแตกออก มีเลือดไหล หากเกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศอาจทำให้ปัสสาวะลำบาก
  • ผิวหนังเป็นสะเก็ด ลอกเป็นขุย หลังจากแผลพุพองหาย
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบบวม
  • ปวดศีรษะ
  • มีไข้

สำหรับผู้หญิง อาจพบอาการเหล่านี้บริเวณก้น ต้นขา ทวารหนัก ปาก ท่อปัสสาวะ ช่องคลอด ปากมดลูก อวัยวะเพศรอบนอก สำหรับผู้ชาย อาจเกิดขึ้นบริเวณถุงอัณฑะ องคชาต รอบริมฝีปาก ต้นขา ทวารหนัก 

วิธีรักษาเริม

คุณหมออาจให้ยาต้านเชื้อไวรัส เช่น อะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) แฟมไซโคลเวียร์ (Famciclovir) วาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir) เพื่อช่วยลดความรุนแรงของการติดเชื้อไวรัสเริม ลดความเสี่ยงการแพร่กระจายเชื้อไวรัส และอาจทำให้แผลหายไว้ขึ้น แต่ไม่อาจรักษาการติดเชื้อให้หายขาดได้  

วิธีป้องกันเริม

วิธีป้องกันไวรัสเริม อาจทำได้ดังนี้

  • สวมถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสเริม
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก
  • ไม่ใช้สิ่งของที่สัมผัสกับสารคัดหลั่งร่วมกับผู้อื่น เช่น แปรงสีฟัน ช้อนส้อม
  • สตรีมีครรภ์ที่มีการติดเชื้อเริม ควรแจ้งคุณหมอให้ทราบและเข้ารับการรักษาทันที
  • หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคน
  • ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอเนื่องจากในภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลงจะทำให้ ติดเชื้อเริม ได้ง่ายขึ้นและกลับเป็นซ้ำได้ง่ายเช่นกัน

[embed-health-tool-ovulation]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Genital Herpes – CDC Fact Sheet. https://www.cdc.gov/std/herpes/stdfact-herpes.htm  . Accessed October 30, 2021

Genital herpes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/genital-herpes/symptoms-causes/syc-20356161  . Accessed October 30, 2021

Herpes Simplex Virus: HSV-1 & HSV-2. https://www.webmd.com/genital-herpes/pain-management-herpes#1  . Accessed October 30, 2021

Genital herpes. https://www.nhs.uk/conditions/genital-herpes/  . Accessed October 30, 2021

Herpes simplex virus. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/herpes-simplex-virus  . Accessed October 30, 2021

HERPES SIMPLEX: WHO GETS AND CAUSES. HTTPS://WWW.AAD.ORG/PUBLIC/DISEASES/A-Z/HERPES-SIMPLEX-CAUSES  . Accessed October 30, 2021

HERPES SIMPLEX: DIAGNOSIS AND TREATMENT. HTTPS://WWW.AAD.ORG/PUBLIC/DISEASES/A-Z/HERPES-SIMPLEX-TREATMENT  . Accessed October 30, 2021

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

13/06/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ป้องกันได้

ทำความรู้จักกับ เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 13/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา