backup og meta

Hydrocele คืออะไร มีสาเหตุ อาการ และการรักษาอย่างไร

Hydrocele คืออะไร มีสาเหตุ อาการ และการรักษาอย่างไร

Hydrocele (ถุงน้ำในอัณฑะ) คือ ภาวะที่เกิดจากของเหลวเข้าไปสะสมในถุงอัณฑะ ส่งผลมีถุงน้ำในอัณฑะและเกิดอาการปวดบวม มักพบได้บ่อยในทารกและอาจหายไปได้เองเมื่อเจริญเติบโตขึ้น แต่บางกรณีก็อาจเกิดขึ้นในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ได้ หากสังเกตพบความผิดปกติ เช่น อัณฑะบวม ปวดอัณฑะ ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและไส้เลื่อนที่ขาหนีบ

[embed-health-tool-heart-rate]

Hydrocele คืออะไร

Hydrocele คือ ภาวะถุงน้ำในอัณฑะ ภาวะที่มีของเหลวในถุงอัณฑะ ซึ่งเป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของอัณฑะให้เหมาะกับการเลี้ยงอสุจิให้เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ โดยปกติในช่วงที่ระบบสืบพันธุ์กำลังพัฒนา อัณฑะจะเริ่มเคลื่อนลงมาจากช่องท้องของทารกและเริ่มสร้างถุงอัณฑะล้อมรอบลูกอัณฑะ โดยถุงอัณฑะนี้มักจะปิดช่วงใกล้คลอดและร่างกายทารกจะดูดซึมของเหลวภายในถุงอัณฑะได้เองภายในปีแรกหลังคลอด แต่หากเกิดความผิดปกติในระหว่างการพัฒนา เช่น ถุงอัณฑะปิดไม่สนิท ร่างกายไม่ดูดซึมของเหลวในถุงอัณฑะ ก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะถุงน้ำในอัณฑะได้

ภาวะถุงน้ำในอัณฑะอาจส่งผลให้ผลิตตัวอสุจิได้น้อยลง อสุจิไม่แข็งแรง ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดภาวะมีบุตรยากได้

สาเหตุของ Hydrocele คืออะไร

Hydrocele อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • ถุงน้ำบริเวณอัณฑะชนิดที่มีรูเปิด (Communicated hydrocele) เกิดจากถุงอัณฑะที่ล้อมรอบลูกอัณฑะเปิดอยู่ ส่งผลให้ของเหลวสามารถเข้าไปภายในถุงอัณฑะทำให้เกิดถุงน้ำในอัณฑะและอัณฑะบวมได้
  • ถุงน้ำบริเวณอัณฑะชนิดที่มีรูปิด (Non-communicating hydrocele) เกิดจากการที่ร่างกายของทารกไม่ดูดซึมน้ำที่ตกค้างอยู่ในถุงอัณฑะ ส่งผลให้เกิดภาวะถุงน้ำในอัณฑะ

นอกจากนี้ ภาวะถุงน้ำในอัณฑะยังอาจเกิดจากการบาดเจ็บ การผ่าตัดบริเวณอัณฑะ การติดเชื้อ ที่ทำให้ถุงอัณฑะปิดไม่สนิท ส่งผลให้ของเหลวบริเวณช่องท้องหรือโดยรอบไหลเข้าสู่ถุงอัณฑะ นำไปสู่ภาวะถุงน้ำในอัณฑะได้

อาการของ Hydrocele คือ

อาการของ Hydrocele มีดังนี้

  • อัณฑะบวมข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง
  • อาการเจ็บปวดอัณฑะที่อาจเกิดขึ้นในบางคน
  • รู้สึกว่าอัณฑะหนักหรือรู้สึกถ่วงเมื่อไม่ได้ใส่กางเกงชั้นใน

หากสังเกตว่าอัณฑะของทารกไม่หายบวมภายใน 1 ปีหลังจากคลอด หรือมีอาการเจ็บปวดอัณฑะ อัณฑะบิดงอ อัณฑะบวม ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างรวดเร็ว

การวินิจฉัย Hydrocele

การวินิจฉัย Hydrocele อาจทำได้ดังนี้

  • ใช้แรงกดบริเวณช่องท้องและถุงอัณฑะเพื่อตรวจหาก้อนถุงน้ำ
  • ฉายแสงผ่านถุงอัณฑะ เพื่อตรวจของของเหลวภายในถุงอัณฑะ
  • ตรวจเลือดและปัสสาวะ ที่อาจทำให้ทราบว่ามีการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์หรือไม่ เพราะอาจส่งผลให้เกิดถุงน้ำในอัณฑะได้
  • อัลตราซาวนด์ เพื่อตรวจดูลักษณะภายในอัณฑะ และช่วยหาเนื้องอกบริเวณอัณฑะที่อาจทำให้ถุงอัณฑะบวม

การรักษา Hydrocele

ภาวะ Hydrocele ส่วนใหญ่มักหายได้เองหลังจากคลอดภายใน 1 ปี แต่หากถุงน้ำในอัณฑะไม่หายไปหรือเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ การผ่าตัด การติดเชื้อ และมีอาการบวมรุนแรงขึ้น คุณหมออาจรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อตัดถุงน้ำในอัณฑะออกหรือผ่าตัดขนาดเล็กด้วยวิธีการสอดกล้องและท่อที่มีความยืดหยุ่นเพื่อระบายของเหลวออก ซึ่งคุณหมออาจให้ดมยาสลบก่อนเริ่มผ่าตัดเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวด

อย่างไรก็ตาม หลังการผ่าตัด 1-3 วัน ควรพักผ่อนให้มาก ๆ รับประทานยาที่คุณหมอแนะนำ เช่น ยาแก้ปวด วิตามินและอาหารเสริม เพื่อช่วยฟื้นฟูร่างกาย อีกทั้งควรเข้าพบคุณหมอตามนัดหมาย เพื่อตรวจสอบว่ามีของเหลวสะสมภายในถุงอัณฑะอีกหรือไม่ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Hydrocele. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hydrocele/symptoms-causes/syc-20363969.Accessed December 30, 2022

Hydrocele. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hydrocele/diagnosis-treatment/drc-20363971.Accessed December 30, 2022

Hydrocele. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/16294-hydrocele.Accessed December 30, 2022

Hydrocele. https://www.webmd.com/parenting/baby/hydrocele-baby-boys.Accessed December 30, 2022

Hydrocele repair. https://medlineplus.gov/ency/article/002999.htm.Accessed December 30, 2022

 

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/02/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

เลือดออกจากองคชาต หลังมีเพศสัมพันธ์ เกิดจากอะไร

อัณฑะอักเสบ ปัญหาสุขภาพเพศชายที่ควรระวัง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 06/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา