backup og meta

การผลัดเซลล์ผิว คืออะไร ควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนผลัดเซลล์ผิว

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 06/03/2023

    การผลัดเซลล์ผิว คืออะไร ควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนผลัดเซลล์ผิว

    การผลัดเซลล์ผิว คือ การนำสารเคมีมาทาบริเวณที่ต้องการผลัดเซลล์ผิว จากนั้นจึงทำการลอกออก เพื่อขจัดผิวหนังชั้นบนสุด การผลัดเซลล์ผิวต้องทำโดยคุณหมอเท่านั้น และอาจต้องทำหลายครั้งกว่าจะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม การผลัดเซลล์ผิวอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ผิวแดง ตกสะเก็ด มีอาการแดง เกิดรอยแผลเป็น ดังนั้น การรู้ถึงวิธีการผลัดเซลล์ผิวและข้อควรระวังจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

    การผลัดเซลล์ผิว คืออะไร

    การผลัดเซลล์ผิวด้วยสารเคมี (Chemical Peel) เป็นกระบวนการที่ใช้สารละลายเคมีกับผิวหนัง เพื่อขจัดผิวหนังชั้นบนสุด โดยผิวที่ถูกทำลายไปจะสร้างขึ้นมาใหม่จากชั้นลึกของหนังกำพร้าและจากผิวหนังชั้นตื้น ซึ่งผิวหนังที่ถูกสร้างขึ้นใหม่จะกลับมาเรียบเนียนขึ้น อย่างไรก็ตาม การผลัดเซลล์ผิวอาจทำได้ในระดับความลึกของชั้นผิวที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่ระดับตื้นไปจนถึงระดับลึก ซึ่งการผลัดเซลล์ผิวอาจต้องใช้เวลาพักฟื้นนานกว่าการผลักเซลล์ผิวระดับตื้น นอกจากนี้ การผลัดเซลล์ผิวอาจต้องทำมากกว่า 1 ครั้ง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

    ระดับความลึกของ การผลัดเซลล์ผิว

    การผลัดเซลล์ผิวเป็นการนำสารเคมีมาใช้ในการผลัดเซลล์ผิวหนังออก โดยการผลัดเซลล์ผิวอาจขึ้นอยู่กับปัญหาที่ต้องการแก้ไข โดยการผลัดเซลล์ผิวอาจมีความลึกอยู่ 3 ระดับ ดังนี้

    1. การผลัดเซลล์ผิวชั้นนอกสุด (Light Chemical Peel) เป็นการผลัดเซลล์ผิวชั้นนอกของผิวหนังชั้นหนังกำพร้า ใช้เพื่อรักษาริ้วรอย สิว สีผิวไม่สม่ำเสมอ และความแห้งกร้าน ซึ่งอาจต้องทำการผลัดเซลล์ผิวทุก 2-5 สัปดาห์
    2. การผลัดเซลล์ผิวในระดับกลาง หรือเซลล์ผิวที่ตายแล้ว (Medium Chemical Peel) เป็นการผลัดเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วออกจากเซลล์ผิวหนังชั้นนอกและจากส่วนบนของผิวหนังชั้นกลาง หรือที่เรียกว่า ชั้นหนังแท้ การผลัดเซลล์ผิวชนิดนี้อาจใช้เพื่อรักษาริ้วรอย แผลเป็นจากสิว และสีผิวที่ไม่สม่ำเสมอ โดยอาจต้องทำซ้ำ ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
    3. การผลัดเซลล์ผิวในระดับลึก (Deep Chemical Peel) เป็นการขจัดเซลล์ผิวได้อย่างล้ำลึก โดยคุณหมออาจแนะนำให้ทำในกรณีที่มีริ้วรอยที่ลึก รอยแผลเป็น หรือรอยบนผิวหนังที่อาจกลายเป็นมะเร็งได้ (Precancerous Growths) โดยอาจไม่จำเป็นต้องทำซ้ำ ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เต็มที่

    อย่างไรก็ตาม การผลัดเซลล์ผิวนั้น ไม่สามารถขจัดรอยแผลเป็น ริ้วรอยที่ลึกมาก หรือกระชับผิวหนังที่หย่อนคล้อยได้

    สำหรับสารเคมีที่นำมาใช้ในการผลัดเซลล์ผิว อาจมีดังนี้

  • เรตินอยด์ เช่น ตรทติโนอิน (Tretinoin) ละลายในโพรพิลีนไกลคอล (Propylene Glycol)
  • กรดอัลฟาไฮดรอกซี (Alpha Hydroxy Acids) เช่น กรดแลคติก (Lactic Acid) กรดไกลโคลิก (Glycolic Acid)
  • กรดเบต้าไฮดรอกซี (Beta Hydroxy Acid) เช่น กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid)
  • กรดไตรคลอโรอะซิติก (Trichloroacetic Acid) และฟีนอล (Phenol) เช่น กรดคาร์บอกซิลิก (Carboxylic Acid)
  • การใช้สารละลายเจสเนอร์ (Jessner Peeling) ซึ่งประกอบด้วยรีซอร์ซินอล (Resorcinol) 14 กรัม กรดซาลิไซลิก แอซิด (Salicylic acid) 14 กรัม กรดแลคติก (Lactic Acid) 85% ในเอทานอล 95%
  • สิ่งที่ควรรู้และการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผลัดเซลล์ผิว 

    ก่อนเริ่มการผลัดเซลล์ผิว ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับความต้องการของตัวเอง รวมถึงรับคำแนะนำจากคุณหมอ นอกจากนี้ คุณหมออาจทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้

    • ซักถามประวัติทางการแพทย์ ดังนั้น ควรเตรียมพร้อมในการตอบคำถามเกี่ยวกับสภาวะทางการแพทย์ การใช้ยาต่าง ๆ รวมถึงการใช้เครื่องสำอางทั้งในอดีตและปัจจุบัน
    • ตรวจร่างกาย คุณหมออาจตรวจสอบผิวหนังและบริเวณที่ต้องทำการผลัดเซลล์ผิว เพื่อพิจารณาว่า ควรผลัดเซลล์ผิวในระดับใดถึงจะเห็นผล และอาจต้องพิจารณาลักษณะทางกายภาพ เช่น สีผิว ความหนาของผิวหนัง ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจส่งผลต่อผลลัพธ์
    • พูดคุยเกี่ยวกับความคาดหวัง ควรพูดคุยกับคุณหมอเกี่ยวกับแรงจูงใจ ความคาดหวัง และความเสี่ยงที่อาจะเกิดขึ้น รวมถึงรวจสอบให้แน่ใจว่า ต้องเข้ารับการผลัดเซลล์ผิวกี่ครั้ง ระยะเวลาในการพักฟื้น รวมถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผลัดเซลล์ผิว

    หลังจากคุยกับคุณหมอเรียบร้อยแล้ว ก่อนเข้ารับการผลัดเซลล์ผิวอาจต้องปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้

    • กินยาต้านไวรัส คุณหมออาจสั่งจ่ายยาต้านไวรัสก่อนและหลังรักษา เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัส
    • ใช้ครีมเรตินอยด์ คุณหมออาจอาจแนะนำให้ใช้ครีมเรตินอยด์ เช่น เรตินเอ (Retin-A) รีโนวา (Renova) 2-3 สัปดาห์ก่อนการรักษา เพื่อช่วยในการรักษา
    • ใช้สารประกอบกลุ่มฟอกสี คุณหมออาจอาจแนะนำให้ใช้สารฟอกสี เช่น ไฮโดรควิโนน  (Hydroquinone) ซึ่งอาจช่วยยับยั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงของสีผิว และครีมเรตินอยด์ หรืออาจแนะนำให้ใช้ทั้ง 2 อย่าง ก่อนหรือหลังการผลัดเซลล์ผิว เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง
    • หลีกเลี่ยงแสงแดด การตากแดดมากเกินไปก่อนทำหัตถการ อาจทำให้เกิดเม็ดสีผิดปกติถาวรในบริเวณที่ทำการผลัดเซลล์ผิว ดังนั้น ควรปรึกษาเรื่องการป้องกันแสงแดดกับคุณหมอ
    • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางบางชนิดและการกำจัดขนบางประเภท ประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผลัดเซลล์ผิว และหยุดใช้เทคนิคการกำจัดขนต่าง ๆ เช่น อิเล็กโทรไลซิส (Electrolysis) นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการทำทรีทเม้นต์ต่าง ๆ เช่น ทรีทเม้นต์ผม ดัดผม ยืดผมถาวร มาส์กหน้า สครับหน้า ประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนผลัดเซลล์ผิว และไม่ควรโกนขนในบริเวณที่จะทำการผลัดเซลล์ผิวเป็นเวลาประมาณ 24 ชั่วโมงก่อนทำการผลัดเซลล์ผิว
    • จัดหารถในการนั่งรถกลับบ้าน หากไม่แน่ใจว่าหลักจากการผลัดเซลล์ผิวแล้ว จะสามารถกลับบ้านเองได้หรือไม่ ให้เตรียมการสำหรับกลับบ้านเอาไว้ โดยอาจชวนคนในครอบครัว หรือเพื่อนไปด้วย

    ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเข้ารับการผลัดเซลล์ผิว

    การผลัดเซลล์ผิวนั้นอาจจทำให้เกิดความเสี่ยงและผลข้างเคียงต่างๆ ตามมาได้ ซึ่งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีดังนี้

    • ผิวแดง ตกสะเก็ด และอาจมีอาการบวมร่วมด้วย การรักษาตามปกติจากการผลัดเซลล์ผิวอาจเกี่ยวข้องกับรอยแดงของผิวหนังที่ผ่านการผลัดเซลล์ผิว โดยหลังจากการผลัดเซลล์ผิวด้วยสารเคมีระดับกลางหรือระดับลึกแล้ว รอยแดงอาจอยู่ได้นานถึง 2-3 เดือน
    • เสี่ยงต่อการเกิดแผลเป็น แม้การผลัดเซลล์ผิวด้วยสารเคมีอจไม่ทำให้เกิดรอยแผลเป็น แต่หากมีรอยแผลเป็นเกิดขึ้นก็มักจะอยู่บริเวณส่วนล่างของใบหน้าซึ่งคุณหมออาจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะและยาสเตียรอยด์ ที่อาจช่วยทำให้แผลเป็นที่เกิดขึ้นดูอ่อนลง
    • การเปลี่ยนแปลงของสีผิว การผลัดเซลล์ผิวด้วยสารเคมีอาจทำให้ผิวมีสีเข้มกว่าปกติ เกิดรอยดำ หรือสีผิวที่อ่อนกว่าปกติ (Hypopigmentation) ซึ่งการรอยดำอาจเรื่องปกติที่มักเกิดขึ้นหลังจากทำการผลัดเซลล์ผิว ในขณะที่การเกิดสีผิวที่อ่อนกว่าปกติ มักเกิดขึ้นหลังจากการผลัดเซลล์ผิวในระดับที่ลึก ปัญหาเหล่านี้อาจพบได้ในผู้ที่มีสีผิว ซึ่งบางครั้งอาจเกิดขึ้นถาวร
    • การติดเชื้อ การผลัดเซลล์ผิวอาจนำไปสู่การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือไวรัส เช่น การลุกลามของไวรัสเริม ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดเริมที่ริมฝีปาก (Cold Sores)
    • หัวใจ ไต หรือตับถูกทำลาย การผลัดเซลล์ผิวในระดับที่ลึกอาจต้องใช้กรดคาร์โบลิก (Carboxylic Acid) ซึ่งอาจทำลายกล้ามเนื้อหัวใจและทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลต่อไตและตับ ดังนั้น เพื่อจำกัดการสัมผัสกับกรดคาร์โบลิก จึงควรเข้ารับการผลัดเซลล์ผิวด้วยเคมีในระดับลึกทีละส่วน ในช่วงเวลา 10-20 นาทีเท่านั้น

    การผลัดเซลล์ผิวอาจไม่เหมาะสมสำหรับทุกคน ดังนั้น คุณหมออาจไม่แนะนำให้ทำการผลัดเซลล์ผิว หากมีพฤติกรรมต่าง ๆ ดังนี้

    • ใช้ยารักษาสิวไอโสเตรติโนอิน (Isotretinoin) แบบกิน ในช่วง 6 ดือนที่ผ่านมา
    • มีประวัติส่วนตัวหรือประวัติครอบครัวเกี่ยวกับการเกิดคีลอยด์
    • กำลังตั้งครรภ์
    • มีเริมที่ริมฝีปาก (Cold Sores) บ่อยหรือรุนแรง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 06/03/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา