backup og meta

การดูแลผิวบริเวณ รักแร้ ให้สุขภาพดี

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอัญชิสา กาญจโนมัย · โรคผิวหนัง · พรเกษมคลินิก


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 31/05/2022

    การดูแลผิวบริเวณ รักแร้ ให้สุขภาพดี

    รักแร้ หรือผิวบริเวณใต้วงแขน มีความบอบบางกว่าผิวส่วนอื่น จึงอาจก่อให้เกิดปัญหาผิวกวนใจสาว ๆ หลาย ๆ คน เช่น ตุ่มหนังไก่ รักแร้ดำ ผิวไม่เรียบเนียน ขนรักแร้ กลิ่นตัว ซึ่งอาจทำให้สูญเสียความมั่นใจ ดังนั้น การดูแลผิวบริเวณรักแร้ให้มีสุขภาพดีจึงอาจเป็นวิธีที่จะช่วยลดปัญหาผิวที่เกิดขึ้นและอาจช่วยเสริมความมั่นใจได้ด้วย

    ปัญญาผิวบริเวณรักแร้ที่พบบ่อย

    ปัญหาผิวบริเวณรักแร้ที่อาจพบได้บ่อยมีดังนี้

    • รักแร้ดำ

    รักแร้ดำเป็นปัญหาผิวที่เกิดจากร่างกายผลิตเม็ดสีเมลานินมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลมาจากหลายปัจจัย การแพ้ผลิตภัณฑ์หรือสารระคายเคือง การกำจัดขนด้วยการโกน การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ยาสเตียรอยด์ ปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลทำให้ผิวใต้รักแร้ดำขึ้นได้

    • รักแร้ไม่เรียบเนียนและเป็นตุ่มหนังไก่

    รักแร้ไม่เรียบเนียนและเป็นตุ่มหนังไก่ เป็นปัญหาผิวใต้รักแร้ที่อาจเกิดจากรูขุมขนถูกรบกวนจากการถอนหรือโกนขนบ่อยครั้ง จนทำให้รูขุมขนอุดตันกลายเป็นขนคุด รูขุมขนนูนออกมาจนมีลักษณะคล้ายตุ่มหนังไก่ ส่งผลให้ผิวไม่เรียบเนียน นอกจากนี้ อาจมีสาเหตุมาจากการเสียดสีของผิวหนัง ซึ่งส่วนใหญ่ปัญหาตุ่มหนังไก่มักเกิดขึ้นคู่กับปัญหารักแร้ดำ

    • ขนใต้รักแร้

    ขนใต้รักแร้เป็นปัญหาที่อาจทำให้ผิวใต้รักแร้ดูไม่เรียบเนียน รักแร้ดำเนื่องจากเส้นขนสีดำจำนวนมากที่อาจทำให้รักแร้ดูดำลง และอาจทำให้มีกลิ่นตัวมากขึ้น เนื่องจากการสะสมของเหงื่อในรูขุมขน โดยวิธีการกำจัดขนใต้รักแร้อาจทำได้หลายวิธี เช่น โกน ถอน แว็กซ์ เลเซอร์ ซึ่งวิธีเหล่านี้อาจมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ทั้งยังอาจส่งผลให้เกิดปัญหาผิว เช่น การโกนอาจทำให้ผิวระคายเคืองและหมองคล้ำลง การถอนอาจรบกวนผิวและรูขุมขนจนเกิดเป็นตุ่มหนังไก่

    • กลิ่นตัว

    กลิ่นตัวเกิดจากต่อมสร้างกลิ่นแอปโปคริน (Apocrine Gland) ซึ่งเป็นต่อมเหงื่อชนิดหนึ่ง พบมากบริเวณรักแร้และอวัยวะเพศ โดยจะเริ่มสร้างกลิ่นในช่วงวัยรุ่นมากที่สุด ซึ่งสารที่หลั่งออกมาจากต่อมกลิ่นจะประกอบด้วยกรดไขมันที่เป็นของเหลวข้นไม่มีกลิ่น เช่น กรดไขมันอิ่มตัว (Fatty Acid) ซัลฟานิลอัลคานอล (Sulfanyl Alkanols) สเตียรอยด์ (Steroid) หรือฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์ เมื่อหลั่งออกมาภายนอกจะถูกเชื้อแบคทีเรียเปลี่ยนให้เป็นสารที่มีกลิ่น หรือเรียกว่า แอมโมเนียและกรดไขมันสายสั้น

    การดูแลผิวบริเวณรักแร้

    การดูแลผิวบริเวณรักแร้เพื่อช่วยลดและป้องกันปัญหาใต้รักแร้อาจทำได้ดังนี้

    • หลีกเลี่ยงการกำจัดขนด้วยการถอน โกน และการแว็กซ์ เนื่องจากวิธีเหล่านี้อาจสร้างความระคายเคืองผิวและรบกวนรูขุมขน ซึ่งอาจทำให้รักแร้ดำและเป็นตุ่มหนังไก่ได้
    • กำจัดขนด้วยการเลเซอร์ อาจเป็นวิธีกำจัดขนที่ดีที่สุด เนื่องจาก การเลเซอร์เป็นการส่งความร้อนไปรบกวนรูขุมขน ทำให้ขนขึ้นช้าลง สีอ่อนลงและขนน้อยลง อีกทั้งยังไม่ก่อให้เกิดตุ่มหนังไก่และรักแร้ดำอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การทำเลเซอร์อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ผิวแดง แสบ บวมเล็กน้อย ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ ดีขึ้นในเวลาไม่นาน
    • อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายเป็นประจำทุกวัน เป็นการสร้างสุขอนามัยที่ดีเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียรวมถึงเชื้อโรคอื่น ๆ บนผิวหนัง ซึ่งอาจช่วยลดและป้องกันปัญหากลิ่นตัวได้ โดยควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวสูตรอ่อนและมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อ เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอมและแอลกอฮอล์ที่อาจสร้างความระคายเคืองจนอาจก่อให้เกิดการแพ้ได้
    • ให้ความชุ่มชื้นกับผิว หลังอาบน้ำควรให้ความชุ่มชื้นกับผิวทุกครั้งขณะที่ผิวยังเปียกหมาด ๆ
    • ทำความสะอาดเสื้อผ้าอยู่เสมอ โดยเฉพาะหลังออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรมที่มีเหงื่อออกมาก เพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย
    • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายที่มีสารประกอบ เช่น อลูมิเนียมคลอไรด์  (Aluminium Chloride) ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยลดการหลั่งของเหงื่อ ทำให้ผิวหนังแห้ง ลดการสะสมของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกลิ่น นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และน้ำหอม เพราะอาจทำให้ผิวระคายเคืองและทำให้รักแร้ดำได้
    • หลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่ร้อนจัด เพราะอาจทำให้เหงื่อออกมากและเกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียจนเกิดกลิ่นตัว
    • หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นเกินไป เพราะอาจเพิ่มการเสียดสีของผิวหนังกับเสื้อ ทำให้ผิวรักแร้ดำ และอาจเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียเนื่องจากความอับชื้นของเหงื่อ ดังนั้น ควรเลือกเสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้าย เนื้อผ้าโปร่ง หลวมหรือพอดีตัว เพื่อช่วยระบายความร้อนและเหงื่อ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงอัญชิสา กาญจโนมัย

    โรคผิวหนัง · พรเกษมคลินิก


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 31/05/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา