backup og meta

ครีมกันแดดหมดอายุ ยังปกป้องผิวได้หรือไม่

ครีมกันแดดหมดอายุ ยังปกป้องผิวได้หรือไม่

ครีมกันแดด อาจช่วยปกป้องผิวจากรังสีอัลตราไวโอเลตเอ (UVA) และรังสีอัลตราไวโอเลตบี (UVB) ในแสงแดด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวหนังเกิดอาการแดง ผิวไหม้ เกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควร ดังนั้น การทาครีมกันแดดเป็นประจำทุกวันอาจช่วยป้องกันผิวที่อาจถูกทำร้ายจากแสงแดดได่ อย่างไรก็ตาม การเลือกครีมกันแดดให้เหมาะกับสภาพผิว และการสังเกตว่า ครีมกันแดดหมดอายุ ก็เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อที่ครีมกันแดดจะได้ปกป้องผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

[embed-health-tool-bmr]

อายุการใช้งานของ ครีมกันแดด

องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (The Food and Drug Administration หรือ FDA) กำหนดให้ ครีมกันแดดทุกตัวมีประสิทธิภาพเต็มที่ประมาณ 3 ปี โดยครีมกันแดดที่มีส่วนผสมหลักมาจากแร่ธาตุ (Physical หรือ Mineral Sunscreens) อาจมีความเสถียรมากกว่าเมื่อเทียบกับครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารเคมี (Chemical Sunscreens) ดังนั้น จึงอาจมีอายุการเก็บรักษานานขึ้น

สำหรับความแตกต่างระหว่าง ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมหลักมาจากแร่ธาตุกับครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารเคมี คือ ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมหลักมาจากแร่ธาตุ เมื่อทาแล้วจะเคลือบอยู่ด้านบนของผิวหนัง เพื่อทำหน้าที่สะท้อนรังสีอัลตราไวโอเลตเอ (UVA) และรังสีอัลตราไวโอเลตบี (UVB ในขณะที่ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารเคมีจะเปลี่ยนรังสียูวีเป็นความร้อน เนื่องจาก ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารเคมี ประกอบด้วยโมเลกุลที่ไม่เสถียร แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาผู้ผลิตเริ่มเพิ่มสารคงตัว เช่น อ็อกโตครีลีน (Octocrylene) ลงไป ในทางกลับกัน ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมหลักมาจากแร่ธาตุ จะมีส่วนผสมของสังกะสีออกไซด์ (Zinc Oxide) และไททาเนียมไดออกไซด์ (Titanium Dioxide) เป็นหลัก

ครีมกันแดดหมดอายุ สังเกตอย่างไร

สำหรับวิธีการตรวจสอบว่า ครีมกันแดดหมดอายุหรือไม่ อาจดูวันหมดอายุที่ระบุอบยุ่บนฉลาก เพราะผู้ผลิตหลายรายจะพิมพ์วันหมดอายุเอาไว้ แต่หากหาวันหมดอายุไม่เจอ อาจโทรไปยังฝ่ายบริการลูกค้าตามเบอร์ที่ระบุไว้บนฉลาก แล้วแจ้งรหัสที่พิมพ์อยู่บนขวดของครีมกันแดด ทางฝ่ายบริการลูกค้าอาจได้ว่า ครีมกันแดดหมดอายุหรือไม่ รหัสที่พิมพ์อยู่บนฉลากครีมกันแดดจะระบุวันที่ ครั้งที่ผลิต และสถานที่ที่ผลิตเอาไว้

ไม่รู้วันที่ ครีมกันแดดหมดอายุ ควรทำอย่างไร

เนื่องจาก บางประเทศไม่กำหนดให้ระบุวันหมดอายุของครีมกันแดด ดังนั้น สิ่งที่ควรทำ คือ จดเดือนและปีที่ซื้อครีมกันแดดเอาไว้ และหมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลง เช่น กลิ่น หากกลิ่นมีการเปลี่ยนแปลงควรทิ้ง อย่านำมาใช้ต่อ นอกจากนี้ อาจใช้วิจารณญาณของตัวเอง เช่น หากทิ้งครีมกันแดดไว้ในรถที่ร้อนเป็นเวลา 1 ปี ประสิทธิภาพของครีมกันแดดอาจจะเปลี่ยนไป ดังนั้นไม่ควรนำมาทางลงบนผิวหนัง ควรทิ้งทันที เพราะอาจเป็นไปได้ว่าครีมกันแดดหมดอายุแล้ว

ครีมกันแดดหมดอายุปกป้องผิวได้หรือไม่

หากยังไม่มีครีมกันแดดขวดใหม่ และจำเป็นจะต้องใช้ครีมกันแดดที่หมดอายุแล้ว อาจยังสามารถนำมาใช้งานได้ ทั้งนี้ ครีมกันแดดควรมีกลิ่นเหมือนกับตอนแรกที่ซื้อมา เพราะการทาครีมกันแดดหมดอายุอาจช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดได้มากกว่าการไม่ทาครีมกันแดด นอกจากนี้ ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมหลักมาจากแร่ธาตุ ซึ่งมีส่วนผสมของสังกะสีออกไซด์ และไททาเนียมไดออกไซด์ เมื่อส่วนผสมทั้ง 2 ชนิดนี้สัมผัสกับรังสียูวี จะยังมีความทึบแสงและมีความสม่ำเสมอเหมือนแป้ง เนื่องจาก ส่วนผสมทั้ง 2 ชนิดนี้มีโครงสร้างโมเลกุลที่ไม่เปลี่ยนแปลงนั่นเอง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Skin Cancer Prevention (PDQ®)–Patient Version. https://www.cancer.gov/types/skin/patient/skin-prevention-pdq. Accessed April 23, 2021

Spend Time Outside and Stay Sun-safe. https://www.cancer.org/latest-news/stay-sun-safe-this-summer.html. Accessed April 23, 2021

Sunscreen: How to protect your skin from the sun. https://www.fda.gov/drugs/understanding-over-counter-medicines/sunscreen-how-help-protect-your-skin-sun. Accessed April 23, 2021

Is sunscreen from last year still good? When does sunscreen expire?. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/expert-answers/sunscreen-expire/faq-20057957#:~:text=Sunscreens%20are%20required%20by%20the,one%20year%20to%20the%20next. Accessed April 23, 2021

Sunscreen: How to Help Protect Your Skin from the Sun. https://www.fda.gov/drugs/understanding-over-counter-medicines/sunscreen-how-help-protect-your-skin-sun. Accessed April 23, 2021

Spend Time Outside and Stay Sun-safe. https://www.cancer.org/latest-news/stay-sun-safe-this-summer.html. Accessed April 23, 2021

Skin Cancer Prevention (PDQ®)–Patient Version. https://www.cancer.gov/types/skin/patient/skin-prevention-pdq. Accessed April 23, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/04/2023

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ครีมกันแดด ประเภท วิธีการใช้ และสารที่ควรเลี่ยง

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับครีมกันแดด มีอะไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 03/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา