backup og meta

ครีมลดฝ้า กระ ควรมีส่วนผสมอะไรบ้าง

ครีมลดฝ้า กระ ควรมีส่วนผสมอะไรบ้าง

ฝ้า กระ เป็นปัญหาผิวที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีผิวใต้ชั้นผิวหนัง จนทำให้เกิดฝ้าเป็นปื้นสีดำหรือสีน้ำตาลขนาดใหญ่ และกระที่เป็นจุดกลมเล็ก ๆ สีน้ำตาลกระจายบนผิวหนัง ซึ่งอาจรักษาเพื่อบรรเทาอาการได้ด้วยการใช้ ครีมลดฝ้า กระ ที่มีส่วนผสมของสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวี ช่วยผลัดเซลล์ผิว และชะลอการสร้างเม็ดสีในชั้นผิวหนัง เพื่อให้ผิวดูสม่ำเสมอและกระจ่างใสขึ้น

[embed-health-tool-bmi]

ฝ้า และ กระ แตกต่างกันอย่างไร

ความแตกต่างระหว่างฝ้าและกระ อาจมีดังนี้

ฝ้า

เป็นความผิดปกติของเม็ดสีผิวใต้ชั้นผิวหนังจนทำให้เกิดจุดด่างดำเป็นปื้นขนาดใหญ่สีดำหรือสีน้ำตาล ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการสัมผัสรังสียูวีในแสงแดดมากเกินไป นอกจากนี้ ยังอาจมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การกินยาบางชนิด และการแพ้เครื่องสำอาง

กระ

เป็นปัญหาผิวที่เกิดขึ้นเมื่อมีการรวมตัวของเม็ดสีผิวใต้ผิวหนังมากเกินไป จนเกิดเป็นจุดสีน้ำตาลกระจายบนผิวหนัง พบได้บ่อยในช่วงวัยเด็กและผู้ที่มีผิวขาว โดยกระอาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ กระตามกรรมพันธุ์ (Ephelides) จะเกิดขึ้นตั้งแต่อายุยังน้อย และกระแดด (Solar Lentigines) ซึ่งที่พัฒนาเมื่ออายุมากขึ้นประมาณ 50 ปีขึ้นไป หรือเรียกว่า จุดด่างอายุ (Age Spots)

ดังนั้น ความแตกต่างของฝ้าและกระ อาจแยกได้จากสาเหตุของการเกิดฝ้าและกระ รวมถึงลักษณะของฝ้าและกระ โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดฝ้า คือ เม็ดสีผิวผิดปกติ สว่นใหญ่เกิดจากการสัมผัสกับรังสียูวีในแสงแดดมากเกินไป และมีลักษณะเป็นปื้นสีดำหรือสีน้ำตาลขนาดใหญ่ ในขณะที่สาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิดกระ คือ การสืบทอดทางพันธุกรรม และกระจะมีลักษณะเป็นจุดกลมเล็ก ๆ สีน้ำตาลกระจายบนผิวหนัง

ครีมลดฝ้า กระ ควรมีส่วนผสมอะไรบ้าง

การเลือกใช้ครีมที่มีส่วนผสมของสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องผิวจากการทำร้ายของรังสียูวี ช่วยให้ผิวแข็งแรง ช่วยผลัดเซลล์ผิว และช่วยชะลอการสร้างเม็ดสี อาจช่วยในการรักษาฝ้า กระได้ ดังนี้

  • เรตินอยด์ (Retinoid) มีคุณสมบัติยับยั้งการสร้างเม็ดสีใต้ชั้นผิวหนัง ช่วยรักษาจุดด่างดำต่าง ๆ เช่น ฝ้า กระ รอยสิว มักใช้ร่วมกับไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) ที่ช่วยชะลอการสร้างเม็ดสีใต้ชั้นผิวหนัง แต่เรตินอยด์อาจมีผลข้างเคียง เช่น แสบร้อน ผื่นแดง ผิวแห้งลอก
  • ไฮโดรควิโนน มีคุณสมบัติช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีผิวใต้ชั้นผิวหนัง ช่วยลดจุดด่างดำและผิวหมองคล้ำ มักใช้ร่วมกับสารชนิดอื่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น เรตินอยด์ สเตียรอยด์ กรดไกลโคลิก (Glycolic Acid) โดยไฮโดรควิโนนอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ระคายเคืองผิว ผื่นแดง แสบร้อนผิว ผิวหนังอักเสบ
  • กรดเบต้าไฮดรอกซี (Beta Hydroxy Acid หรือ BHA) และกรดอัลฟ่า-ไฮดรอกซี (Alpha-Hydroxy Acids) มีคุณสมบัติช่วยผลัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ ช่วยขจัดสิ่งสกปรกที่ผิวหนัง ช่วยลดความหมองคล้ำและจุดด่างดำ ส่งผลให้ผิวดูกระจ่างใสและสม่ำเสมอมากขึ้น แต่อาจมีผลข้างเคียงบางประการ เช่น ระคายเคืองผิว ผิวแดง ผิวบาง
  • ไนอาซินาไมด์ (Niacinamide) และวิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องผิวจากการทำร้ายของรังสียูวี ชะลอและป้องกันการสร้างเม็ดสีใต้ชั้นผิวหนังที่มากเกินไป ส่งผลให้ผิวแลดูกระจ่างใสและสม่ำเสมอขึ้น แต่อาจมีผลข้างเคียงบางประการ เช่น ระคายเคืองผิว ผิวแดง คัน
  • กลูตาไธโอน (Glutathione) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวี ช่วยล้างสารพิษตกค้างในชั้นผิวหนัง ปกป้องและชะลอการสร้างเม็ดสีผิว ช่วยให้ผิวขาวกระจ่างใสขึ้น แต่อาจมีผลข้างเคียงบางประการ เช่น มึนงง ปวดหัว ตาพร่ามัว
  • กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) กรดแลคติก (Lactic Acid) และกรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid) ช่วยผลัดเซลล์ผิวเก่าที่เสื่อมสภาพ ลดปัญหาผิวหมองคล้ำและจุดด่างดำ ช่วยให้ผิวแลดูสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ยังช่วยกระชับรูขุมขนและลดเลือนริ้วรอย แต่อาจมีผลข้างเคียง เช่น ระคายเคืองผิว ผิวแดง ผิวบาง
  • กรดโคจิก (Kojic Acid) มีคุณสมบัติช่วยต้านสารอนุมูลอิสระ และช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสีใต้ชั้นผิวหนัง จึงอาจช่วยลดเลือนจุดด่างดำและช่วยให้ผิวสม่ำเสมอมากขึ้น ซึ่งมีผลข้างเคียงที่น้อยกว่าส่วนผสมอื่น ๆ หรืออาจไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อผิว

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Freckles. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/freckles-skin-spots#:~:text=Freckles%20are%20extra%20patches%20of,most%20likely%20to%20have%20them. Accessed October 15, 2022

MELASMA: OVERVIEW. https://www.aad.org/public/diseases/a-z/melasma-overview#:~:text=Melasma%20is%20a%20skin%20condition,diagnosis%20and%20individualized%20treatment%20plan. Accessed October 15, 2022

Retinoids: active molecules influencing skin structure formation in cosmetic and dermatological treatments. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6791161/#:~:text=Retinol%20stimulates%20fibroblasts%20to%20synthesize,of%20elastin%20fibres%20%5B14%5D. Accessed October 15, 2022

Beta Hydroxy Acids. https://www.fda.gov/cosmetics/cosmetic-ingredients/beta-hydroxy-acids#:~:text=While%20both%20AHAs%20and%20BHAs,with%20the%20use%20of%20AHAs.&text=Currently%2C%20the%20BHA%20most%20commonly%20used%20in%20cosmetics%20is%20salicylic%20acid. Accessed October 15, 2022

Hydroquinone. https://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/compound/Hydroquinone. Accessed October 15, 2022

Introduction. https://www.sciencedirect.com/topics/chemistry/hydroquinone. Accessed October 15, 2022

Dual Effects of Alpha-Hydroxy Acids on the Skin. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6017965/. Accessed October 15, 2022

TOPICAL TREATMENT OF MELASMA. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2807702/. Accessed October 15, 2022

Glutathione as a skin whitening agent: Facts, myths, evidence and controversies. https://ijdvl.com/glutathione-as-a-skin-whitening-agent-facts-myths-evidence-and-controversies/. Accessed October 15, 2022

AHA and BHA for Skin: What to Know. https://www.webmd.com/beauty/aha-bha-skin-exfoliate. Accessed October 15, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/04/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอัญชิสา กาญจโนมัย

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

หน้าเป็นฝ้า สาเหตุ วิธีรักษาและดูแลตัวเอง

จุดด่างดำ คือ อะไร และมีวิธีการรักษาได้อย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอัญชิสา กาญจโนมัย

โรคผิวหนัง · พรเกษมคลินิก


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 27/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา