backup og meta

ติ่งเนื้อเกิดจากอะไร และรักษาอย่างไร

ติ่งเนื้อเกิดจากอะไร และรักษาอย่างไร

ติ่งเนื้อเกิดจากอะไร อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย ทั้งนี้ ติ่งเนื้อเป็นสภาพผิวหนังปกติที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่ออายุมากขึ้น หรือผิวหนังขยายตัวและเสียดสีกันจนเกิดเป็นติ่งเนื้อ มักปรากฏขึ้นบริเวณรอยพับของผิวหนัง เช่น ลำคอ ใต้ราวนม รักแร้ เปลือกตา ขาหนีบ แม้ติ่งเนื้อจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่อาจทำให้ผิวหนังดูไม่สวยงามและอาจทำให้เสียความมั่นใจได้

[embed-health-tool-bmi]

ติ่งเนื้อเกิดจากอะไร

ติ่งเนื้อ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังชั้นบนสุดตามอายุ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แต่อาจพบได้บ่อยในผู้ที่อายุ 30 ปีขึ้นไป ติ่งเนื้อจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นกับผู้ที่มีสภาพผิวหนังขยายออกจนเกิดรอยพับ เช่น ผู้หญิงตั้งครรภ์ ผู้มีน้ำหนักเกิน ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เนื่องจากผิวหนังบริเวณที่มีรอยพับ เช่น รักแร้ ขาหนีบ เปลือกตา ลำคอ ใต้ราวนม อาจทำให้ผิวหนังเสียดสีกันเองได้ง่าย

แม้ติ่งเนื้ออาจไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ก็อาจขยายใหญ่และทำให้มีอาการเจ็บปวดและคันได้ เมื่อติ่งเนื้อเสียดสีกับผิวหนัง เสื้อผ้าหรือเครื่องประดับ ดังนั้น ควรสวมใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ นุ่ม โปร่งสบายเพื่อลดการเสียดสีที่อาจก่อให้เกิดความระคายเคือง หรืออาจเข้ารับการรักษาหากติ่งเนื้อก่อให้เกิดความกังวลใจและทำให้เสียความมั่นใจ

ลักษณะของติ่งเนื้อ

ติ่งเนื้ออาจมีลักษณะแตกต่างกันไป ดังนี้

  • มีขนาดเล็กประมาณ 2 มิลลิเมตร หรืออาจใหญ่ถึง 10 มิลลิเมตร
  • อาจเป็นก้อนติดกับผิวหนังหรือห้อยออกจากผิวหนัง
  • มีเนื้อสัมผัสนุ่มและเรียบ
  • มีสีเดียวกับสีผิวหรืออาจมีสีเข้ม
  • มักพบบริเวณรอยพับผิวหนัง เช่น รักแร้ ข้อพับ ขาหนีบ ใต้ราวนม ลำคอ เปลือกตา
  • ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดหรือไม่สบายตัว เว้นแต่จะถูกเสียดสีอย่างรุนแรง
  • ไม่เป็นโรคติดต่อและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่อาจทำให้เสียความมั่นใจ

โดยปกติ ติ่งเนื้อที่มีขนาดเล็กอาจไม่จำเป็นต้องรักษา แต่หากติ่งเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และไม่หยุดการเติบโตหรือโตเร็วผิดปกติ มีการเปลี่ยนสี และมีอาการเจ็บปวด บวมแดงร่วมด้วย ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการทันทีและทำการรักษา เพราะอาจเป็นก้อนเนื้อร้ายที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

วิธีรักษาติ่งเนื้อ

ติ่งเนื้อไม่เป็นอันตรายและไม่กลายเป็นมะเร็ง เพียงแต่อาจทำให้ผิวหนังดูไม่สวยงามและอาจทำให้ทำให้เสียความมั่นใจ การกำจัดติ่งเนื้ออาจทำได้หลายวิธี ดังนี้

  • การผ่าตัดด้วยการใช้มีดหรือกรรไกรตัดติ่งเนื้อ
  • การรักษาด้วยความร้อน เช่น การจี้ไฟฟ้า การเลเซอร์
  • การรักษาด้วยความเย็น เช่น ไนโตรเจนเหลว
  • การผูกติ่งเนื้อ เพื่อให้เลือดหยุดไหลเวียนไปเลี้ยงติ่งเนื้อ เมื่อเวลาผ่านไปติ่งเนื้อจะค่อย ๆ แห้งและหลุดออกเอง

หลังการรักษาอาจมีแผลตื้นเล็กน้อย ควรรอให้แผลแห้งประมาณ 48 ชั่วโมง แล้วจึงค่อยทำความสะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ นอกจากนี้ ควรทายาตามที่คุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัดเพื่อช่วยสมานแผล สำหรับบางคนอาจต้องเข้าพบคุณหมอตามนัด เพื่อตรวจดูแผลหลังการผ่าตัด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

“ติ่งเนื้อ” ทิ้งไว้จะกลายเป็นมะเร็งหรือไม่?. https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD-%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A5/. Accessed April 25, 2023.

Skin tag. https://dermnetnz.org/topics/skin-tag. Accessed April 25, 2023.

Skin tags. https://www.nhs.uk/conditions/skin-tags/. Accessed April 25, 2023.

Skin Tags. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/picture-of-skin-tags. Accessed April 25, 2023.

SKIN TAGS. https://www.aocd.org/page/SkinTags. Accessed April 25, 2023.

Skin tags. https://www.healthdirect.gov.au/skin-tags. Accessed April 25, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

25/04/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ห้อเลือด ส่งผลต่อสุขภาพผิวอย่างไร

แผลถลอก รักษายังไงให้หายอย่างรวดเร็ว


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 25/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา