backup og meta

ทาสกินแคร์ อย่างไรให้ถูกต้อง เพื่อบำรุงผิวหน้า

ทาสกินแคร์ อย่างไรให้ถูกต้อง เพื่อบำรุงผิวหน้า

สกินแคร์ อาจช่วยบำรุงผิวให้มีความชุ่มชื้น ป้องกันริ้วรอยก่อนวัยอันควร และอาจช่วยปกป้องผิวหน้าจากแสงแดด โดยการเลือกสกินแคร์อาจต้องเลือกให้เหมาะสมกับประเภทผิวของตัวเอง นอกจากนี้ ลำดับในการ ทาสกินแคร์ ก็มีส่วนสำคัญ เนื่องจากสกินแคร์แต่ละประเภทนั้นอาจซึบซับเข้าสู่ผิวได้แตกต่างกัน ดังนั้น เข้าใจถึงลำดับในการทาสกินแคร์ อาจช่วยให้การทาสกินแคร์มีประโยชน์ตอสุขภาพผิวมากขึ้น

สภาพผิวแต่ละประเภท มีอะไรบ้าง

สภาพผิวของแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกัน โดยประเภทผิวนั้นอาจแบ่งออกได้ ดังนี้

  • ผิวหน้าธรรมดา เป็นผิวที่ไม่แห้งและไม่มันจนเกินไป อาจเป็นผิวที่มีปัญหาในเรื่องการอุดตันในรูขุมขนน้อยที่สุด โดยสภาพผิวประเภทนี้อาจเลือกครีมหรือมอยส์เจอไรเซอร์ที่ไม่ทำให้ผิวเกิดการระคายเคือง เพิ่มความชุ่มชื้น และเนื้อครีมบางเบาไม่หนาจนหนักหน้า
  • ผิวมันเป็นสิวง่าย มีลักษณะรูขุมขนที่ขยายใหญ่ ผิวหมองคล้ำ มีสิวหัวดำ และสิวอื่น ๆ ปะปน จึงอาจเลือกใช้ครีมที่ไม่อุดตันรูขุมขน และมีส่วนผสมของกรดอัลฟาไฮดรอกซี (Alpha Hydroxy Acids) เป็นหลัก
  • ผิวแห้งขาดความชุ่มชื้น อาจสังเกตได้จากการที่ผิวที่แตกลอก มีอาการคันระคายเคือง จึงอาจบำรุงด้วยมอยส์เจอร์ไรเซอร์ที่มีส่วนผสมของกรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic Acid) ที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวบริเวณใบหน้า
  • ผิวแพ้ง่าย เป็นผิวที่มีความบอบบาง จึงอาจเลือกใช้สกินแคร์ที่ปราศจากน้ำหอม เพื่อลดโอกาสในการทำให้ผิวเกิดการแพ้และระคายเคือง

วิธีการเลือกผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับใบหน้า

สำหรับผู้ที่ยังไม่แน่ใจถึงประสิทธิภาพการทำงานของสกินแคร์ว่าเหมาะสมกับผิวของตัวเองหรือไม่ อาจทดลองทาสกินแคร์บริเวณด้านในของข้อมือ เพื่อสังเกตปฏิกิริยาอาการแพ้ เช่น ผดผื่น แดง อาการคันระคายเคือง เป็นเวลา 48 ชั่วโมง หากมีอาการข้างต้นนี้อาจหมายถึงกำลังแพ้ผลิตภัณฑ์นี้ จึงควรล้างออกทันทีและทำความสะอาดผิวด้วยสบู่สูตรอ่อนโยน

วิธีเลือกสกินแคร์

สำหรับวิธีการเลือกสกินแคร์ อาจทำได้ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงสกินแคร์ที่มีส่วนผสมของสีและน้ำหอม
  • หลีกเลี่ยงสกินแคร์ที่มีส่วนประกอบของกรดอัลฟาไฮดรอกซี (Alpha-Hydroxy Acids) กรดไกลโคลิก (Glycolic Acid) กรดเรติโนอิค (Retinoic Acid) และกรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) สำหรับผู้ที่มีผิวหน้าแห้ง และผิวแพ้ง่าย
  • หลีกเลี่ยงสกินแคร์ที่มีส่วนผสมสเตียรอยด์ (Steroids)
  • เลือกสกินแคร์ที่มีส่วนผสมของวิตามินอีและวิตามินซี
  • เลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป และทาก่อนออกจากบ้านอย่างน้อย 15 นาที
  • เลือกมอยส์เจอไรเซอร์ที่เหมาะกับสภาพผิวและช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น

ทาสกินแคร์ อย่างไรให้ถูกต้อง

การบำรุงผิวอย่างถูกวิธี ก่อนแต่งหน้าในช่วงเช้า อาจทำได้ดังนี้

  1. ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหน้า (Cleanser) ซึ่งมีทั้งสูตรน้ำและสูตรน้ำมัน โดยอาจเลือกตามความเหมาะสมกับสภาพผิว
  2. โทนเนอร์ (Toner) นำสำลีชุบโทนเนอร์แล้วเช็ดตามใบหน้าหลังจากการอาบน้ำหรือล้างหน้าเสร็จ
  3. เซรั่ม (Serum) ทาเซรั่มให้ทั่วใบหน้าและลำคอ เพื่อชะลอริ้วรอยก่อนวัย
  4. ยาแต้มสิว (Acne Treatment) อาจใช้เป็นสำลี แทนการใช้มือ แต้มไปบริเวณที่เกิดสิว และปล่อยให้แห้งก่อนลงสกินแคร์ตัวอื่นๆ
  5. ครีมบำรุงรอบดวงตา (Eye Cream) ทาบริเวณรอบดวงตาลดความหมองคล้ำ โดยใช้นิ้วนางกดเบาๆ
  6. มอยส์เจอไรเซอร์ (Moisturizer) บีบมอยส์เจอไรเซอร์ขนาดถั่วเขียว ทาในส่วนรอบแก้มก่อนนวดตามใบหน้าและบริเวณอื่น ๆ
  7. ครีมกันแดด (Sunscreen) เป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนเริ่มการแต่งหน้า ที่อาจช่วยปกป้องผิวไม่ให้เกิดความหมองคล้ำ หรือผิวไหม้จากแดด

การใช้สกินแคร์ทำความสะอาด และบำรุงผิวก่อนนอน อาจทำได้ดังนี้

  1. ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเครื่องสำอาง (Makeup Remover) อาจมีส่วนผสมที่ประกอบด้วยน้ำมันธรรมชาติ หรือสูตรน้ำธรรมดา โดยนำมาชโลมลงบนผิวหน้า และนวดเบา ๆ ให้ทั่ว จนกว่าเครื่องสำอางจะออกจากใบหน้าจนหมด จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด
  2. แผ่นมาส์ก (Mask) อาจช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว รวมถึงดูดสิ่งสกปรกที่ตกค้างในรูขุมขน โดยอาจใช้มาส์กหน้าอย่างน้อย สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง หลังจากนั้นล้างออกด้วยน้ำอุ่น
  3. โทนเนอร์ (Toner) นำสำลีชุบโทนเนอร์เพื่อเช็ดสิ่งสกปรกบนใบหน้า และตามแนวรูขุมขน
  4. เซรั่ม (Serum) หยดเซรั่มลงบนฝ่ามือ และทาไปที่ผิวหน้าอย่างเบา ๆ
  5. ยาแต้มสิว (Acne Treatment) ใช้ยาแต้มสิวแต้มตามจุดที่เกิดสิว โดยอาจใช้ในกรณีที่สิวขึ้นเพียงเท่านั้น
  6. ครีมบำรุงรอบดวงตา (Eye Cream) การบำรุงรอบดวงตาในช่วงเข้านอน อาจช่วยทำให้ส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทำงานได้อย่างเต็มที่
  7. ครีมที่ใช้ขณะกลางคืน (Night Skincare) หรือไนท์ครีม (Night Cream) อาจช่วยฟื้นฟูผิวหน้าด้วยครีมที่ใช้สำหรับกลางคืน เพื่อที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว และอาจช่วยให้ผิวไม่แห้งกร้าน

นอกจากนี้ ควรดื่มน้ำประมาณ 2.7 ลิตร/วัน เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว จัดเวลาการพักผ่อน และเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม เลี่ยงอาหารที่มีความมัน และรสชาติเค็ม นอกจากนี้ หากมีปัญหาผิวจากการใช้สกินแคร์ที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองอย่างรุนแรง โปรดปรึกษาคุณหมอเพื่อเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Choosing the Right Moisturizer for Your Skin https://www.webmd.com/beauty/features/moisturizers#1 Accessed January 28, 2020

What’s Your Skin Type? https://www.webmd.com/beauty/whats-your-skin-type#1Accessed January 28, 2020

Skin serum: What it can and can’t do. https://www.health.harvard.edu/blog/skin-serum-what-it-can-and-cant-do-2018061214029. Accessed May 17, 2022

The optimal cleansing method for the removal of sunscreen:Water, cleanser or cleansing oil?. https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1111/jocd.12995. Accessed May 17, 2022

Novel retinoid ester in combination with salicylic acid for the treatment of acne. https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/jocd.12190. Accessed May 17, 2022

DERMATOLOGISTS’ TOP TIPS FOR RELIEVING DRY SKIN. https://www.aad.org/public/everyday-care/skin-care-basics/dry/dermatologists-tips-relieve-dry-skin. Accessed May 17, 2022

Impact of cleanser pH on maintaining a healthy skin barrier. https://www.jaad.org/article/S0190-9622(17)31962-X/fulltext. Accessed May 17, 2022

SHOULD I APPLY MY SKIN CARE PRODUCTS IN A CERTAIN ORDER?. https://www.aad.org/public/everyday-care/skin-care-basics/care/apply-skin-care-certain-order. Accessed May 17, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/05/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ล้างหน้าตามแนวขน เคล็ดไม่ (ลับ) สำหรับคนเป็นสิว

ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวออร์แกนิก ที่ดีต่อสุขภาพผิว


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 17/05/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา