backup og meta

วิธีแก้ขาแตกลาย ทำได้อย่างไรบ้าง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา · โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 24/06/2022

    วิธีแก้ขาแตกลาย ทำได้อย่างไรบ้าง

    ขาลาย หรือขาแตกลาย เป็นหนึ่งในปัญหาทางผิวหนัง ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ตั้งครรภ์ ลดน้ำหนักกะทันหันจนเกิดเนื้อส่วนเกิน และมีรอยแตกลายเนื่องจากผิวหนังขยายตัวมาก ๆ ขาแตกลายอาจไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่อาจส่งผลทำให้วิตกกังวล ขาดความมั่นใจ ไม่กล้าใส่กางเกงขาสั้น กระโปรงสั้น หรือชุดว่ายน้ำ ซึ่งรอยแตกที่ขามักจางลงแต่ไม่หายสนิท หากรักษาด้วย วิธีแก้ขาลาย หรือขาแตกลายเองแล้ว รอยยังไม่บรรเทาลง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเพื่อรักษาตามขั้นตอน  

    สาเหตุการเกิดขาแตกลาย 

    ขาลายหรือขาแตกลายอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้ 

  • ลดน้ำหนัก หรือน้ำหนักเพิ่มขึ้นเร็วเกินไป อาจทำให้ผิวหนังยืด หรือหดไม่ทัน อาจส่งผลให้เกิดขาแตกลาย หรือเกิดผิวเปลือกส้มได้
  • เพาะกาย อาจทำให้กล้ามเนื้อนูนขึ้น และทำให้เกิดขาแตกลาย
  • การตั้งครรภ์ เนื่องจากผู้หญิงที่ตั้งครรภ์อาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผิวหนังยืดไม่ทัน และอาจทำให้ขาแตกลายได้ 
  • การใช้สเตียรอยด์ ยาสเตียรอยด์อาจทำให้การผลิตคอลลาเจนผิวหนังลดลง และสูญเสียความชุ่มชื้น ส่งผลให้ขาแตกลายได้ 
  • ปัญหาทางด้านสุขภาพ เช่น คุชชิ่งซินโดรม (Cushing’s Syndrome) เกิดจากร่างกายมีฮอร์โมนคอลติซอล (Cortisol) มากเกินไป อาจทำให้เกิดการกินจุ กินบ่อย และส่งผลทำให้เกิดภาวะอ้วน ผิวหนังและกล้ามเนื้อยืด จนขาแตกลาย
  • วิธีแก้ขาลาย หรือขาแตกลาย

    ขาลายหรือขาแตกลายอาจรักษาได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ 

    • หลีกเลี่ยงการเพิ่มน้ำหนักเร็วเกินไป เนื่องจากอาจทำให้ผิวหนังยืดไม่ทัน จนเกิดขาแตกลายได้ 
    • ทาครีมและโลชั่น เพื่อให้ความชุ่มชื้นกับผิว โดยผลิตภัณฑ์ควรมีส่วนผสมของเรตินอยด์ (Retinoid) วิตามินอี กรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic Acid) เป็นต้น เนื่องจากสารเหล่านี้อาจช่วยสร้างคอลลาเจนในชั้นผิวหนังขึ้นมาใหม่ รวมถึงอาจช่วยลดเลือนริ้วรอย แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น รอยแดง ระคายเคือง
    • บำบัดด้วยเลเซอร์ โดยการรักษาด้วยเลเซอร์มีหลายประเภท เช่น เลเซอร์เพาซ์ดายด์ (Pulsed Dye Laser) Fractional CO2 เป็นการกระตุ้นให้สร้างคอลลาเจนใหม่ขึ้นมา ไมโครเดอมาเบรชั่น (Microdermabrasion) เป็นการขัดผิดด้วยผลึกคริสตัลขนาดเล็ก เพื่อขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกจากผิวหนังกำพร้าชั้นนอก และเผยให้เซลล์ผิวใหม่ ทั้งนี้ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนังเท่านั้น 

    วิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกันขาลาย

    การป้องกันขาลายอาจทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ 

    • ทาครีม โลชั่นเป็นประจำ เพื่อให้ผิวหนังชุ่มชื้น 
    • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อและผิวหนังกระชับ และไม่ควรเพิ่มน้ำหนักหรือลดน้ำหนักเร็วเกินไป 
    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์อุดมด้วยโปรตีน สังกะสี และวิตามิน เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี ที่อาจช่วยสร้างคอลลาเจนที่ดีกับผิวหนัง 

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา

    โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลสุขุมวิท


    เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 24/06/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา