backup og meta

หน้าดำ สาเหตุและการดูแล

หน้าดำ สาเหตุและการดูแล

หน้าดำ เป็นปัญหาผิวที่อาจเกิดจากความผิดปกติของเม็ดสีผิว หรืออาจเกิดจากสภาพแวดล้อมที่ส่งผลทำให้ผิวหน้าหมองคล้ำ การดูแลผิวหน้าให้สะอาด สดใส จึงอาจเป็นวิธีที่จะช่วยทำให้สุขภาพผิวดีขึ้น และอาจลดปัญหาผิวหมองคล้ำบนใบหน้า

สาเหตุที่ทำให้หน้าดำ

หน้าดำหรือหน้าหมองคล้ำ อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยเฉพาะปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อม ที่สามารถส่งผลกระทบต่อผิวโดยตรง และทำให้ผิวหมองคล้ำลงได้ นอกจากนี้ ยังอาจมีสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้

แสงแดด

แสงแดดยามเช้าอาจเป็นตัวกระตุ้นการสังเคราะห์วิตามินดีที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่แสงอัลตราไวเลต (UV) จากดวงอาทิตย์ก็อาจสร้างอันตรายให้กับผิวหนังได้ ร่างกายจึงผลิตเม็ดสีเมลานิน (Melanin) ขึ้นเพื่อช่วยปกป้องผิวจากอันตรายของแสงอาทิตย์ เมื่อมีเม็ดสีเมลานินบนผิวหนังมากขึ้นจึงทำให้ผิวหน้าดำ ดูหมองคล้ำลง

ดื่มน้ำไม่เพียงพอ

การดื่มน้ำส่งผลต่อสุขภาพผิว ช่วยให้ผิวแข็งแรง มีสุขภาพที่ดี และเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว แต่ถ้าหากดื่มน้ำไม่เพียงพออาจส่งผลทำให้ผิวแห้งกร้าน ขาดน้ำ ผิวหน้าดำ ไม่สดใสได้

การสูบบุหรี่

การสูบบุหรี่นอกจากจะส่งผลต่อสุขภาพแล้ว ยังอาจส่งผลกระทบต่อผิวหนังอย่างมาก เช่น ทำให้ผิวหย่อนคล้อย มีริ้วรอย ผิวหน้าดำ เนื่องจากควันบุรี่อาจเข้าทำลายออกซิเจนในผิวและทำให้ผิวลดการผลิตคอลลาเจน ส่งผลต่อเนื้อเยื่อและความยืดหยุ่นของผิวหนัง ทำให้ผิวดูแก่กว่าวัย

อายุ

อายุที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลทำให้ผิวเสื่อมสภาพลง ผิวหนังขาดความกระชับ หย่อนคล้อย มีริ้วรอย รวมทั้งผิวหน้าดำ หมองคล้ำลงด้วย

การผลัดเซลล์ผิว

ผิวหนังจะสร้างเซลล์ผิวใหม่มาแทนที่เซลล์ผิวที่ตายแล้วตามธรรมชาติ แต่ในบางครั้งเมื่อกระบวนการผลัดเซลล์ผิวเก่าเกิดขึ้นช้าอาจส่งผลทำให้ผิวแห้ง ผิวแตกเป็นขุย และหน้าดำ หมองคล้ำได้

ความผิดปกติของเม็ดสีผิว

เกิดจากเซลล์ผิวหนังผลิตเมลานินเสียหายหรือไม่แข็งแรง จนอาจส่งผลให้ผลิตเมลานินมากหรือน้อยเกินไป ซึ่งหากร่างกายผลิตเมลานินมากขึ้นจะทำให้สีผิวเข้มขึ้น 

หน้าดำ ดูแลอย่างไร

วิธีดูแลผิวหน้าดำ ลดความหมองคล้ำ ไม่สดใส อาจทำได้ ดังนี้

  • ทำความสะอาดผิวเป็นประจำทุกวันเพื่อขจัดเครื่องสำอาง และสิ่งสกปรกที่อุดตันรูขุมขน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของความหมองคล้ำ ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าที่อ่อนโยน ขัดถูอย่างเบามือเพื่อไม่ให้ผิวหน้าระคายเคือง
  • ใช้น้ำอุณภูมิปกติในการล้างหน้าเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวแห้งและระคายเคืองได้ง่าย
  • ควรขัดผิวสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อขจัดเซลล์ผิวเก่าที่ตายแล้ว ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของความหมองคล้ำ ผิวแห้งแตกเป็นขุย
  • ทามอยเจอร์ไรเซอร์หลังอาบน้ำเป็นประจำเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว และป้องกันไม่ให้ผิวเสียความชุ่มชื้น นอกจากนี้อาจใช้เซรั่มเพื่อช่วยให้ผิวกระจ่างใสขึ้น ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ วิตามินซี กรดเฟอรูลิก (Ferulic Acid) และวิตามินบี 3
  • ทาครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน เพื่อช่วยปกป้องผิวจากแสงอัลตราไวเลต ของดวงอาทิตย์ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของผิวหน้าหมองคล้ำ จุดด่างดำ และผิวหนังหยาบกร้าน

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Skin Pigmentation Disorders. https://medlineplus.gov/skinpigmentationdisorders.html. Accessed September 8, 2021

The Role of Moisturizers in Addressing Various Kinds of Dermatitis: A Review. http://www.clinmedres.org/content/15/3-4/75. Accessed September 8, 2021

Slideshow: Surprising Ways Smoking Affects Your Looks and Life. https://www.webmd.com/smoking-cessation/ss/slideshow-ways-smoking-affects-looks. Accessed September 8, 2021

Smoking and its effects on the skin. https://dermnetnz.org/topics/smoking-and-its-effects-on-the-skin. Accessed September 8, 2021

HOW TO SAFELY EXFOLIATE AT HOME. https://www.aad.org/public/everyday-care/skin-care-secrets/routine/safely-exfoliate-at-home. Accessed September 8, 2021

Sun’s effect on skin. https://medlineplus.gov/ency/anatomyvideos/000125.htm. Accessed September 8, 2021

Dietary water affects human skin hydration and biomechanics. https://www.dovepress.com/dietary-water-affects-human-skin-hydration-and-biomechanics-peer-reviewed-fulltext-article-CCID. Accessed September 8, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/06/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผิวสวย ด้วยกรด เป็นไปได้จริงหรือ และมีกรดอะไรบ้าง

วิธีรักษาปัญหาผดร้อน ที่เกิดขึ้นในช่วงหน้าร้อน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 15/06/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา