backup og meta

เจลว่านหางจระเข้ ดีต่อสุขภาพผิวอย่างไร

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา · โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 05/04/2023

    เจลว่านหางจระเข้ ดีต่อสุขภาพผิวอย่างไร

    เจลว่านหางจระเข้ เป็นผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนและเหมาะกับสภาพผิวบอบบาง แพ้ง่าย จึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพผิว เช่น ช่วยเติมเต็มความชุ่มชื้น ลดการอักเสบ รักษาแผลไหม้ ต้านสารอนุมูลอิสระ ลดความหมองคล้ำ บรรเทาอาการผื่นแดง คัน อาการแสบร้อนจากแสงแดด อย่างไรก็ตาม บางคนอาจเกิดอาการแพ้เจลว่านหางจระเข้ได้ ดังนั้น หากพบว่ามีอาการของโรคผิวหนัง หรือมีอาการผื่นลมพิษเกิดขึ้น ควรเข้าพบคุณหมอ

    เจลว่านหางจระเข้ มีประโยชน์ต่อสุขภาพผิวอย่างไร

    ว่านหางจระเข้เป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพผิว มักใช้ในการรักษาแผลไฟไหม้และลดอาการอักเสบของผิวหนัง รวมทั้งยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพผิวอีกมากมาย ดังนี้

    • ให้ความชุ่มชื้น เนื่องจากเจลว่านหางจระเข้ประกอบไปด้วยน้ำประมาณ 96% จึงอาจช่วยเติมเต็มน้ำให้กับผิวหนังได้ นอกจากนี้ ยังช่วยทำให้ผิวที่แห้งกร้านอ่อนนุ่มขึ้น
    • ปกป้องผิวจากสารอนุมูลอิสระ กรดอะมิโน เอนไซม์ แร่ธาตุและวิตามินหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี วิตามินบี 12 มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ทั้งยังช่วยส่งเสริมการผลิตและการหลั่งคอลลาเจน เพื่อช่วยให้ผิวหนังแข็งแรงและยืดหยุ่นมากขึ้น
    • ช่วยรักษาแผลและต้านการอักเสบ โดยเฉพาะแผลไหม้เล็กน้อย ผิวไหม้ รอยถลอกเล็กน้อย เนื่องจากเจลว่านหหางจระเข้มีสารบาร์บาโลอิน (Barbaloin) ซึ่งมีฤทธิ์ในการชำระล้างสิ่งสกปรก ฆ่าเชื้อ ช่วยรักษาและบรรเทาการอักเสบของผิวหนัง นอกจากนี้ ยังอาจช่วยลดรอยสิว ลดการอักเสบของสิว และลดริ้วรอยได้
    • อาจช่วยบรรเทาอาการแมลงกัดต่อย เนื่องจากว่านหางจระเข้มีคุณสมบัติช่วยฆ่าเชื้อ แก้คัน และช่วยสมานแผล จึงอาจช่วยบรรเทาอาการคัน บวม แดง และอักเสบจากแมลงกัดต่อยได้

    ข้อควรระวังในการใช้เจลว่านหางจระเข้

    เจลว่านหางจระเข้มีความอ่อนโยนและปลอดภัย จึงอาจไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพร้ายแรง อย่างไรก็ตาม บางคนอาจมีความรู้สึกระคายเคืองผิว แสบร้อน แดง ผิวแห้ง ผิวบอบบาง หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเป็นผื่นหรือลมพิษเนื่องจากอาการแพ้ได้

    สำหรับผู้ที่ทาเจลว่านหางจระเข้ทิ้งไว้บนใบหน้า อาจทำให้หน้าแห้งและตึงได้ จึงควรล้างเจลว่านหางจระเข้ออกหากพบว่ามีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น

    นอกจากนี้ ไม่ควรทาเจลว่านหางจระเข้บนผิวหนังที่มีอาการติดเชื้อ เพราะอาจรบกวนกระบวนการรักษาของชั้นผิวหนังและอาจทำให้อาการแย่ลงได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา

    โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลสุขุมวิท


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 05/04/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา