backup og meta

แต่งหน้าจัด ส่งผลเสียต่อสุขภาพผิวอย่างไร

แต่งหน้าจัด ส่งผลเสียต่อสุขภาพผิวอย่างไร

แต่งหน้าจัด อาจส่งผลต่อ สุขภาพผิว เนื่องจากเครื่องสำอางอาจปกปิดรูขุมขนจนผิวไม่มีอากาศหายใจ ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองและเกิดสิวได้ นอกจากนี้ การแต่งหน้าจัดยังอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพผิวในด้านอื่น ๆ ได้อีกด้วย ดังนั้น การแต่งหน้าอย่างถูกวิธี รวมถึงการทำความสะอาดผิวอย่างถูกต้อง อาจช่วยให้ผิวมีสุขภาพที่ดีได้

แต่งหน้าจัด ส่งผลเสียต่อ สุขภาพผิว อย่างไร

ปัญหาสุขภาพผิวที่อาจเกิดขึ้นจากการแต่งหน้าจัดมีดังนี้

อาจทำให้รูขุมขนอุดตัน

การแต่งหน้าจัดอาจต้องใช้เครื่องสำอางเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนผสมของเครื่องสำอางนั้นมีมากมายไม่ว่าจะเป็นส่วนผสมที่เป็นธรรมชาติอย่างน้ำมันมะพร้าว ไปจนถึงส่วนผสมที่เป็นสารสังเคราะห์อย่างซิลิโคน และปิโตรเคมีภัณฑ์ ซึ่งมีแนวโน้มที่อาจทำให้รูขุมขนอุดตัน ระคายเคือง และเกิดสิวขึ้นบนใบหน้า นอกจากนี้ ซึ่งเมื่อส่วนผสมพวกนี้หลุดเข้าไปอยู่ในรูขุมขนพร้อม ๆ กับเชื้อแบคทีเรียและสิ่งสกปรกก็อาจทำให้เกิดสิวอักเสบและสิวหัวดำเกิดขึ้น ดังนั้น หลังจากแต่งหน้าแล้วควรล้างหน้าให้สะอาดหมดและควรพักผิวเพื่อให้รูขุมขนได้มีโอกาสหายใจ

อาจเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรค

เครื่องสำอางอาจกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อแบคทีเรียจากการใช้เพียงแค่ครั้งเดียว นอกจากนี้ อุปกรณ์สำหรับใช้แต่งหน้าบริเวณดวงตา เช่น แปรงปัดมาสคาร่า ก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจาก ดวงตาและปากถือเป็นบริเวณที่เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ดังนั้น ไม่ควรใช้เครื่องสำอางที่เก่าเกินไป ไม่ควรใช้เครื่องสำอางและอุปกรณ์ในการแต่งหน้าร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งควรดูแลเรื่องความสะอาดของอุปกรณ์แต่งหน้าและกระเป๋าใส่เครื่องสำงอาง

อาจทำให้ริ้วรอยแย่ลง

การแต่งหน้าจัดอาจความเสี่ยงที่จะทำให้ผิวหน้าเกิดริ้วรอย นอกจากนี้ การถูผิวที่บอบบางบริเวณรอบดวงตาบ่อย ๆ ก็อาจทำให้ผิวขาดความยืดหยุ่นจนกลายเป็นปัญหา นอกจากนี้ การแต่งหน้าจัดยังอาจทำให้คอลลาเจนและเส้นเลือดฝอยเกิดความเสียหาย ดังนั้น ควรแต่งหน้าบริเวณที่บอบบางให้น้อยลง โดยเฉพาะบริเวณดวงตา

อาจต้องใช้เมคอัพรีมูฟเวอร์มากขึ้น

เมื่อแต่งหน้าจัดก็อาจทำให้ต้องใช้คลีนเซอร์ในการทำความสะอาดผิวหน้ามากขึ้น แล้วรู้อะไรมั้ย? เคลนเซอร์ที่คุณใช้อยู่ทำให้เกิดคราบตกค้างที่เป็นอันตรายต่อผิวหน้าได้ นอกจากนี้ เครื่องสำอาแต่ละชนิดก็อาจให้ผลดีและผลเสียที่ไม่เท่ากัน การอ่านฉลากส่วนผสมจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญ

เมคอัพรีมูฟเวอร์อาจใช้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว แต่ก็อาจมีส่วนผสมที่สามารถตกค้างอยู่บนผิวได้ ซึ่งส่วนผสมส่วนใหญ่อาจเป็นพวกสารเคมีต่าง ๆ เช่น สารกักเก็บความชุ่มชื้น สารลดแรงตึงผิว จึงอาจส่งผลให้ผิวแห้งและเกิดอาการระคายเคืองได้ นอกจากนี้ สารเคมีบางอย่างอาจมีวัตถุกันเสียรวมอยู่ด้วย เช่น พาราเบน ฟอร์มัลดีไฮด์ ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดอาการแพ้ได้แบบเดียวกับส่วนผสมที่เป็นน้ำหอม

วิธีดูแลสุขภาพผิวหลังจากแต่งหน้าจัด

สิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย คือ หลังจากแต่งหน้าควรดูแลสุขภาพผิวให้ดีอยู่เสมอ โดยเริ่มจากการทำความสะอาดผิวหน้าให้สะอาดอยู่เสมอ จากนั้น อาจทำการขัดผิวหน้าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ทำความสะอาดรูขุมขน และขจัดคราบเครื่องสำอางตกค้างต่าง ๆ ออกไป นอกจากนี้ อาจใช้มาส์กพอกหน้าชนิดโคลนเพื่อดึงสิ่งสกปรกต่าง ๆ ออกจากผิว โดยไม่ทำให้ผิวเกิดความเสียหาย เนื่องจาก ไม่มีส่วนผสมที่เป็นสารเคมีแรง ๆ และเมื่อผิวหน้าสะอาดแล้วก็ควรบำรุงผิวด้วยเซรั่มหรือครีมบำรุงผิวชนิดต่าง ๆ เพื่อช่วยฟื้นฟูผิว รวมทั้งอาจช่วยให้ผิวกักเก็บความชุ่มชื้นได้ดียิ่งขึ้น

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

what happen when you wear too much makeup. https://www.thelist.com/77654/happens-wear-much-makeup/. Accessed on June 7, 2018

How Much is Too Much? https://www.webmd.com/beauty/video/how-much-is-too-much. Accessed on June 7, 2018

Makeup and Skin Care for Acne. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/acne/acne-skin-care-makeup. Accessed August 09, 2020

Campaign for safe cosmetics. (2016). https://www.safecosmetics.org. Accessed August 09, 2020

Cosmetic ingredients database. (n.d.). rsc.org/Education/Teachers/Resources/Contemporary/student/pop_cosmetic_db.html. Accessed August 09, 2020

Prohibited & restricted ingredients. (2015, January 26). https://www.fda.gov/cosmetics/cosmetics-laws-regulations/prohibited-restricted-ingredients-cosmetics. Accessed August 09, 2020

Top tips for safer products. (n.d.). https://www.ewg.org/skindeep/contents/top-tips/. Accessed August 09, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/04/2022

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ชอบแชร์เครื่องสำอางต้องระวัง! อาจเป็น โรคติดต่อ จากเครื่องสำอางไม่รู้ตัว

5 ส่วนผสมอันตรายในผลิตภัณฑ์ความงาม ที่ควรหลีกเลี่ยง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 16/04/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา