backup og meta

คันฝ่ามือ หรือ คันมือ เกิดจากอะไร และวิธีการรักษา

คันฝ่ามือ หรือ คันมือ เกิดจากอะไร และวิธีการรักษา

อาการ คันฝ่ามือ หรือ คันมือ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาการแพ้ ภาวะผิวแห้ง โรคผิวหนังอักเสบ โดยปกติแล้ว สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการใช้ยาแก้แพ้และยาต้านอักเสบ อย่างไรก็ตาม หากรักษาเบื้องต้นแล้วอาการคันฝ่ามือไม่ทุเลาลง อาจเป็นสัญญาณของโรคผิวหนัง หรือโรคอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยและรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคัน

[embed-health-tool-bmr]

อาการคันฝ่ามือเกิดจากอะไร

อาการคันฝ่ามือ อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • อาการแพ้ ฝ่ามืออาจไปสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้บางชนิด เช่น น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก หรือโดนแมลงกัดต่อย ทำให้ผิวหนังระคายเคือง และก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น คันมือ มีลมพิษ มีผื่นแดง
  • ภาวะผิวแห้ง สภาพผิวหนังที่แห้ง แตก ลอกง่าย เนื่องจากมีน้ำมันเคลือบผิวน้อย อาจทำให้เกิดอาการคันฝ่ามือได้
  • โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่รักษาได้ยาก ผู้ป่วยมักมีผิวอักเสบเป็นผื่นนูนแดง ผิวลอกเป็นขุย ซึ่งสามารถพบได้ทั่วร่างกาย รวมถึงบริเวณฝ่ามือ และอาการของโรคสะเก็ดเงินเหล่านี้ อาจส่งผลให้คันฝ่ามือได้
  • โรคผิวหนังอักเสบอื่น ๆ เป็นภาวะอักเสบของผิวหนังที่เกิดจากภูมิแพ้ หรือการติดเชื้อ เป็นต้น อาการที่พบบ่อยของโรคนี้ ได้แก่ ผื่นแดง อาการคัน ซึ่งอาจพบที่บริเวณฝ่ามือด้วย
  • โรคเบาหวาน คือ ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการผิวหนังติดเชื้อง่าย ผิวแห้งง่าย จนอาจทำให้ผิวหนังบริเวณฝ่ามือแห้ง ลอก มีปัญหาผิวหนังอักเสบตามตัวและเกิดอาการคันได้
  • การใช้ยารักษาโรค อาการคันมืออาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาแอสไพริน ยาลดความดันโลหิตบางชนิด นอกจากนี้ การรักษามะเร็งก็อาจส่งผลให้เกิดอาการคันฝ่ามือได้เช่นกัน

วิธีรักษาอาการคันฝ่ามือ

การรักษาอาการคันมือ อาจทำได้ดังนี้

  • สำหรับอาการคันมือจากผิวหนังแห้ง อาจใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนังบริเวณฝ่ามือได้
  • สำหรับอาการคันฝ่ามือจากภูมิแพ้ หรือโรคผิวหนัง เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคผิวหนังอักเสบ อาจรักษาด้วยยาแก้แพ้หรือยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine) หรือยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ที่ช่วยต้านการอักเสบและลดอาการบวม คัน บริเวณผิวหนัง
  • สำหรับอาการคันฝ่ามือจากโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง และโรคสะเก็ดเงิน คุณหมออาจรักษาอาการคันตามร่างกายและฝ่ามือด้วยการฉายแสงอาทิตย์เทียม (phototherapy) ร่วมกับการใช้ยา หรือในกรณีที่รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล
  • สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรทาโลชั่นให้ผิวบริเวณฝ่ามือชุ่มชื้นอยู่สม่ำเสมอ และต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้เป็นปกติ เพราะอาจช่วยบรรเทาอาการคันได้
  • สำหรับผู้ที่คันฝ่ามือและบริเวณอื่น ๆ ของร่างกายเนื่องจากการใช้ยารักษาโรค ไม่ควรหยุดยาเองหรือหยุดยากะทันหัน อาจบรรเทาอาการคันเบื้องต้นด้วยการทายารักษาอาการคัน และไปปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรเพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติม

วิธีป้องกันอาการ คันฝ่ามือ

วิธีเหล่านี้ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการคันมือได้

  • เมื่อล้างมือ ให้ใช้สบู่หรือน้ำยาทำความสะอาดที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม และเช็ดมือให้แห้งทุกครั้ง
  • ทามอยส์เจอร์ไรเซอร์เป็นประจำ โดยอาจเลือกที่มีส่วนผสมของน้ำมันเพื่อช่วยคงความชุ่มชื้นให้กับผิว
  • ใส่ถุงมือเมื่อต้องทำงานหรือทำกิจกรรมที่ต้องสัมผัสกับสารเคมี พยายามอย่าให้มือเปล่าสัมผัสกับสารเคมีโดยตรง
  • หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาล้างมือแบบเจล เพราะมักมีแอลกอฮอล์แห้งความเข้มข้นสูงเป็นส่วนประกอบ ซึ่งอาจทำให้ผิวหนังแห้ง แตก และคันได้
  • ใช้ครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน เพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด
  • อาบน้ำด้วยน้ำอุ่น หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อนเพราะอาจทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้น ผิวแห้ง และเกิดอาการคันได้
  • ประคบบริเวณที่คันด้วยผ้าเย็น หรือผ้าห่อน้ำแข็ง ช่วยลดอาการคันมือได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Why Do My Hands and Feet Itch?. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/hands-feet-itch. Accessed April 26, 2022

“The itching hand“– important differential diagnoses and treatment. https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1610-0387.2012.08002.x. Accessed April 26, 2022

10 REASONS YOUR SKIN ITCHES UNCONTROLLABLY AND HOW TO GET RELIEF. https://www.aad.org/public/everyday-care/itchy-skin/itch-relief/relieve-uncontrollably-itchy-skin. Accessed April 26, 2022

Itchy Skin (Pruritus). https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/11879-pruritus. Accessed April 26, 2022

Itching. https://medlineplus.gov/itching.html. Accessed April 26, 2022

อาการคัน (Pruritus). https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=1082. Accessed April 26, 2022

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/08/2024

เขียนโดย ศุภานิช สุริโย

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอัญชิสา กาญจโนมัย

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาทาแก้คัน ผิวหนังอักเสบ ชนิดต่าง ๆ

ผื่นคัน แพ้เหงื่อ อาการเป็นอย่างไร และรักษาได้อย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอัญชิสา กาญจโนมัย

โรคผิวหนัง · พรเกษมคลินิก


เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 7 วันก่อน

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา