จุดแก่ (Age Spots) คือผิวหนังที่มีลักษณะเป็นจุดแบนราบ สีน้ำตาล เทา หรือดำบนผิว มักจะปรากฏบนบริเวณที่ผิวโดนแดด มันยังถูกเรียกว่า รอยด่างบนผิวหนัง (liver spots) กระผู้สูงอายุ (senile lentigo) กระแดด (solar lentigines/ sun spots) ด้วย
คำจำกัดความ
จุดแก่ คืออะไร
จุดแก่ (Age Spots) มีลักษณะเป็นจุดแบนราบ สีน้ำตาล เทา หรือดำบนผิว มักจะปรากฏบนบริเวณที่ผิวโดนแดด มันยังถูกเรียกว่า รอยด่างบนผิวหนัง (liver spots) กระผู้สูงอายุ (senile lentigo) กระแดด (solar lentigines/ sun spots) ด้วย
จุดแก่พบได้บ่อยแค่ไหน
จุดแก่เกิดขึ้นได้กับผิวทุกประเภท แต่จะเกิดขึ้นบ่อยพิเศษกับผู้มีผิวสว่าง และผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป แต่ก็สามารถเกิดกับคนอายุน้อยได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กลางแจ้ง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อข้อมูลเพิ่มเติม
อาการ
อาการของจุดแก่
อาการโดยทั่วไป ได้แก่:
- มีจุดแบนราบ รูปไข่พร้อมสีผิวที่เข้มขึ้น
- มีจุดสีแทน น้ำตาลหรือดำ
- มีจุดแก่เกิดกับผิวหนังบริเวณที่ได้รับแสงมากสะสมเป็นเวลาหลายปี เช่น หลังมือ หลังเท้า ใบหน้า ไหล่ หลัง
- มีจุดแก่มีขนาดตั้งแต่กระ ½ นิ้วหรือ 13 มิลลิเมตร แต่สามารถรวมกันใหญ่ขึ้นจนสังเกตเห็นได้ชัดได้
ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด
- จุดมีสีเข้ม
- จุดมีขนาดใหญ่ขึ้น
- จุดมีขอบเขตที่ไม่ปกติ
- จุดมีสีหลายสีรวมกัน
- อาการคัน แดง จุดมีลักษณะนิ่ม หรือมีเลือดออก
หากคุณมีสัญญาณเตือนหรืออาการใดๆ ที่กล่าวถึงข้างต้น หรือมีข้อคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์
ร่างกายคนแต่ละคนแสดงอาการแตกต่างกัน จึงควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของจุดแก่
จุดแก่เป็นผลมาจากการผลิตเมลานินที่มากเกินไป ปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบว่าจุดแก่พัฒนามาจากอะไร และอย่างไร แต่อายุผิวที่แก่ การถูกแสงแดดหรือรูปแบบอื่นของรังสียูวี เช่น ตู้อบผิวแทน ล้วนเป็นสาเหตุที่เป็นไปได้ทั้งสิ้น
คุณมีแนวโน้มที่จะพัฒนาจุดแก่บนบริเวณต่างๆ ของผิวดังต่อไปนี้
- ใบหน้า
- หลังมือ
- ไหล่
- ส่วนบนของหลัง
- ท้องแขน
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของจุดแก่
- อายุมากกว่า 40 ปี
- มีสีผิวอ่อน
- มีประวัติการถูกแสงแดดบ่อยครั้ง
- มีประวัติการใช้ตู้อบผิวแทน
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยจุดแก่
- วินิจฉัยด้วยตาเปล่า แพทย์สามารถวินิจฉัยจุดแก่ได้ด้วยตาเปล่าจากการสังเกตผิวของคุณ
- วินิจฉัยจากผลของชิ้นเนื้อ แพทย์สามารถทดสอบวิธีอื่นได้ เช่น ตรวจสอบชิ้นเนื้อ เพื่อช่วยแยกระหว่างจุดแก่และสภาวะอื่นๆ เช่น มะเร็งผิวหนัง
ระหว่างการตรวจชิ้นเนื้อ แพทย์อาจใช้ส่วนของผิวหนังเล็กๆ สำหรับการวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งขั้นตอนนี้ต้องทำที่โรงพยาบาลและใช้ยาระงับความรู้สึกร่วมด้วย
การรักษาจุดแก่
หากอยากให้จุดแก่ไม่เด่นเป็นสง่า มีหลายทางเลือกในการรักษา เพื่อทำให้สีจุดแก่จางลงหรือเพื่อทำให้จุดแก่หายไป เนื่องจากสารสีนั้นฝังอยู่ในผิวชั้นนอก (epidermis) การรักษาที่พยายามทำให้สีของจุดแก่จางลงจะต้องรักษาเข้าไปถึงชั้นของผิว
วิธีในการรักษา
- ยา: บลีชชิ่งครีม เช่น hydroquinone ร่วมกับเรตินอยด์ เช่น tretinoin และสเตียรอยด์อ่อนๆ อาจช่วยค่อยๆ ทำให้จุดแก่หายไปได้หลังใช้ในเป็นเวลาหลายเดือน การรักษาด้วยวิธีนี้อาจทำให้เกิดอาการคัน แดง แสบร้อน หรือผิวแห้ง นอกจากนี้ครีมกันแดดที่มี SPF อย่างน้อย 30 นั้นเป็นที่แนะนำอย่างยิ่ง
- เลเซอร์และการฉายแสง จะช่วยทำลายเซลล์ผลิตเมลานิน (melanocyte) โดยไม่ทำลายหน้าผิว ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2-3 รอบ หลังจากการรักษาด้วยวิธีนี้จุดแก่จะค่อยๆ หายไปในระยะเวลาเป็นสัปดาห์หรือเดือน แต่อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงคืออาจทำให้เกิดสีผิวไม่สม่ำเสมอ จึงควรใช้ครีมกันแดดหลังจากการรักษาด้วยวิธีนี้
- การให้ความเย็น วิธีนี้ทำโดยการใช้ส่วนปลายของไม้พันสำลี (cotton swab) กับไนโตรเจนเหลวเพื่อทำลายสารสีส่วนเกิน เมื่อบริเวณนี้เริ่มหายดี สีผิวจะสว่างขึ้น วิธีนี้มักใช้กับจุดแก่เดี่ยวหรือกลุ่มเล็กๆ แต่การรักษานี้อาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นหรือสีผิวไม่สม่ำเสมอได้
- การทำให้ผิวหนังถลอกถึงชั้นหนังแท้ (Dermabrasion) วิธีนี้จะขจัดส่วนผิวชั้นนอกของผิวหนัง และแทนที่ด้วยผิวหนังใหม่ อาจต้องทำหลายรอบ แต่จะทำให้เกิดอาการแดงหรือสะเก็ดแผลชั่วขณะ หรืออาจใช้ ไมโครเดอมาเบรชั่น (microdermabrasion) ซึ่งจะเป็นวิธีที่ไม่รุนแรงเมื่อเทียบกับวิธีแรก แต่ก็อาจทำให้เกิดตำหนิเช่นกัน แต่จะมาในลักษณะที่เรียบกว่า อย่างไรก็ตามอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงลุด แต่หากคุณมีอาการโรซาเซีย (Rosacea) หรือโรคสิวหน้าแดงอยู่แล้ว วิธีนี้อาจทำให้อาการของโรคแย่ลง
- สารเคมีลอกผิว สารเคมีที่ใช้ลอกผิวมักหนีไม่พ้นการทากรด ซึ่งทำให้ผิวชั้นนอกของผิวเกิดการไหม้กับจุดแก่ และเมื่อผิวหนังลอก ผิวหนังใหม่จะขึ้นมาทดแทน อาจต้องทำหลายครั้งกว่าจะเห็นผล ครีมกันแดดมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับวิธีการรักษานี้ เนื่องจากจะทำให้เกิดรอยแดงชั่วคราวและมีการเปลี่ยนแปลงของสีผิวอย่างถาวร
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองเพื่อรับมือกับจุดแก่
- หลีกเลี่ยงการออกแดดในช่วงสิบโมงเช้าถึงบ่ายสอง เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่แสงอาทิตย์เข้มที่สุด พยายามจัดตารางเวลาทำกิจกกรมกลางแจ้งให้ไม่อยู่ในช่วงดังกล่าว
- ทาครีมกันแดด 15 ถึง 30 นาทีก่อนออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง ใช้ครีมกันแดดที่ป้องกันได้ทั้ง UVA UVB และมี SPF อย่างน้อย 30 ทาครีมกันแดดให้มาก ทาซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมงหรือบ่อยกว่านั้นหากว่ายน้ำหรือเหงื่อออกมาก
- ปกปิดร่างกายจากแสงแดด สวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิดทั้งส่วนแขนและขา ใส่หมวกที่มีปีกกว้าง ซึ่งจะป้องกันแดดได้ดีกว่าหมวกเบสบอลหรือหมวกสำหรับใส่ไปเล่นกอล์ฟ
- ลองพิจารณาสวมใส่เสื้อผ้าที่ออกแบบเพื่อกันแดดโดยเฉพาะ ใช้เสื้อผ้าที่มี UPF 40-50 เพื่อการป้องกันที่ดีที่สุด
หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณได้ดีขึ้น
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-heart-rate]