backup og meta

ปานแดง ปานดำ มีความแตกต่างกันอย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 14/04/2022

    ปานแดง ปานดำ มีความแตกต่างกันอย่างไร

    ปาน หรือปานแต่กำเนิด เป็นลักษณะจุดสีบนผิวหนังที่อาจปรากฏขึ้นตั้งแต่แรกเกิด หรือในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอด โดยสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ของร่างกาย ซึ่งปานนั้นอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ปานแดง และ ปานดำ อย่างไรก็ตาม ปานทั้ง 2 ชนิดไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง จึงอาจไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพหากไม่เอาออก

    ปานแต่กำเนิด คืออะไร

    ปาน หรือเรียกเรียกอีกอย่างว่า ปานแต่กำเนิด (Birthmarks) เป็นลักษณะจุดสีบนผิวหนัง ที่ปรากฏขึ้นตั้งแต่แรกเกิดหรือเกิดขึ้นในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอด โดยสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่บนร่างกาย เช่นใบหน้า ลำตัว แขน หน้าอก ซึ่งปานแต่กำเนิดอาจมีสี รูปร่างและลักษณะที่แตกต่างกันออกไป

    อย่างไรก็ตาม ปานแต่กำเนิดอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ปานแดง ปานดำ ซึ่งปานทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่ใช่โรคร้ายแรงที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยบางคนอาจมีปานปรากฏอยู่บนมีผิวหนังตลอดชีวิต หรืออาจค่อย ๆ หายไปเมื่อเริ่มโตขึ้น

    ความแตกต่างของ ปานแดง และ ปานดำ

    สำหรับความแตกต่างของปานแดงและปานดำ อาจมีดังนี้

    1. ปานแดง (Vascular Birthmarks) 

    ปานแดง คือ เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือด โดยปานแดงอาจปรากฎบนผิวหนังตั้งแต่แรกเกิด หรือปรากฎหลังคลอดได้เพียง 2-3 สัปดาห์แรก โดยส่วนใหญ่ปานแดงมักมีสี ชมพู แดง โดยปานแดงอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

    • แซลมอน แพตช์ (Salmon Patch) คือ ปานที่มีลักษณะแบนเรียบ มีสีชมพูหรือแดง มีขนาดเล็ก ปานชนิดนี้อาจพบได้บ่อยถึง 1 ใน 3 ของทารกแรกเกิด โดยทั่วไปมักพบบริเวณท้ายทอย บริเวณระหว่างคิ้ว เปลือกตา
    • ปานฮีแมงจิโอมา (Hemangioma) คือ ปานที่มีลักษณะบวมนูน มีสีแดงสด ปานชนิดนี้อาจปรากฏขึ้นในช่วง 1 เดือนแรกหลังคลอด โดยทั่วไปมักพบบริเวณใบหน้า หนังศีรษะ หน้าอก หลัง
    • ปานแดงเส้นเลือดฝอย (Port-Wine Stain)  คือ ปานที่มีลักษณะใหญ่ มีสีแดงเข้มหรือสีม่วง ปานชนิดนี้อาจพบในทารกแรกเกิด โดยทั่วไปมักพบบริเวณใบหน้า ลำคอ

    2. ปานดำ (Pigmented Birthmarks)

    ปานดำ เกิดจากการผลิตเม็ดสีเมลานิน (Melanin) ที่อยู่ในชั้นผิวบริเวณนั้นมากเกินไป โดยส่วนใหญ่ปานดำมักมีดำ น้ำตาล เทา โดยปานดำอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

    • ปานดำแต่กำเนิด (Congenital Naevi) อาจมีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกันออกไป โดยเกิดขึ้นได้ทุกที่ของร่างกาย เช่น ใบหน้า ลำตัว แขน ส่วนใหญ่มักมีรูปร่างกลม อาจมีสีชมพู น้ำตาลอ่อนหรือดำ หากปานดำมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังได้
    • ปานคาเฟโอเล่ (Café-Au-Lait Spots) หรือ ปานกาแฟใส่นม มีรูปร่างทรงรี สีน้ำตาลซีด โดยปานชนิดนี้อาจปรากฎขึ้นได้ตลอดเวลาตั้งแต่วัยแรกเกิดจนถึงวัยเด็กเล็ก
    • ปานมองโกเลียน (Mongolian Blue Spots) เป็นปานที่มีรูปร่างแบน สีเทาอมฟ้า โดยทั่วไปอาจพบปานชนิดนี้บริเวณก้น และอาจจางหายไปเองเมื่ออายุ 4 ปี

    ปานเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่

    โดยส่วนใหญ่ ปานแดงและปานดำอาจไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและอาจไม่ต้องเอาออก แต่หากรู้สึกกังวล ไม่มั่นใจ อาจเข้สรับการรักษาได้ด้วยการใช้เลเซอร์ ซึ่งอาจทำให้รอยปานดูจางลง รวมถึงการรักษาด้วยกลุ่มยาเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta Blockers) สำหรับผู้ที่มีปานแดงจะช่วยลดการหดตัวของหลอดเลือด และลดการไหลเวียนของเลือด จึงอาจช่วยทำให้ปานแดงหดตัวลงได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 14/04/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา