backup og meta

ผื่นแดง อาการ สาเหตุ และการป้องกัน

คำจำกัดความอาการสาเหตุปัจจัยเสี่ยงการวินิจฉัยและการรักษาการปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

[embed-health-tool-heart-rate]

คำจำกัดความ

ผื่นแดง คืออะไร

ผื่นแดง คือ ลักษณะอาการทางผิวหนังที่เกิดรอยแดง บวม ระคายเคือง บางครั้งอาจมีอาการคัน อาจเกิดขึ้นเฉพาะส่วนของร่างกาย หรืออาจลุกลามเป็นบริเวณกว้างทั่วร่างกาย ผื่นแดงสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ บุคคลที่มีผื่นแดงอาจหายเองได้ อย่างไรก็ตาม บางกรณีอาจต้องรักษาด้วยยาหรือไปพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาตามสาเหตุของการเกิดผื่นแดง  

ผื่นแดงพบได้บ่อยแค่ไหน 

ผื่นแดงสามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยขึ้นอยู่กับแต่ละประเภทที่พบ เช่น ลมพิษ ส่วนมากพบในผู้ที่แพ้อาหาร หรือสารเคมีบางชนิด อาจสามารถตรวจทดสอบภูมิแพ้ต่าง ๆ ได้จากทางโรงพยาบาล 

อาการ

อาการของผื่นแดง

ลักษณะอาการของผื่นแดงอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคลและสาเหตุ โดยอาการอาจมีดังต่อไปนี้ 

  • อาการคัน ระคายเคืองผิวหนัง 
  • ผิวหนังมีรอยแดง ลักษณะเป็นปื้น
  • ผิวแห้งหรือลอกเป็นขุย อาจเกิดจากการเกา
  • มีตุ่มน้ำใสเล็ก ๆ
  • ปวดแสบปวดร้อน

ควรพบคุณหมอเมื่อใด

ควรไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยอาการ หากมีอาการดังต่อไปนี้

  • ไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • ใบหน้า แขนและขาบวม  
  • วิงเวียนศีรษะ หรือรู้สึกปวดคอ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง รวมถึงปวดข้อ 
  • สีผิวเปลี่ยนแปลง
  • อาเจียนหรือท้องเสียต่อเนื่อง
  • การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรียง่ายกว่าปกติ รวมถึงมีหนองสะสมมาก 
  • หายใจลำบาก  

สาเหตุ

สาเหตุของผื่นแดง

ผื่นแดงเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้ 

  • สภาพอากาศที่ร้อน ชื้น ทำให้เกิดการสะสมของเหงื่อและอุดตัน เป็นผื่นแดง 
  • แมลงกัดต่อย แมลงหลายชนิดอาจทำให้เกิดผื่นขึ้นได้เมื่อถูกกัดหรือต่อย เช่น หมัด ไรฝุ่น มักอาศัยอยู่ภายในเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว
  • ผลข้างเคียงของการใช้ยาหรืออาการแพ้ยา ระยะแรกเริ่มจะมีสีแดงและค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีคล้ำออกม่วง หากมีปฏิกิริยาแพ้ยาที่รุนแรงอาจส่งผลถึงขั้นเสียชีวิตได้ เนื่องจากส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจและอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย
  • สัมผัสสารเคมีบางชนิด เช่น น้ำยาง ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม สีย้อมผ้า อาจก่อให้เกิดการแพ้ และมีอาการคันป็นผื่นแดง 
  • อีสุกอีใส เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus) เป็นผื่นคันจุดแดงเล็ก ปรากฎที่ใบหน้าและลำตัว แล้วลามไปทั่วร่างกาย และพัฒนากลายเป็นตุ่มพองใส หลังจาก 48 ชั่วโมง ตุ่มพองจะแห้ง และอาการจะหายภายใน 2-3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล 
  • มือ เท้า ปาก เกิดจากการติดเชื้อไวรัส มีแผลที่คอ ลิ้น และปาก เวลากลืนอาหารหรือน้ำอาจลำบาก 
  • แผลพุพอง เป็นโรคติดต่อทางผิวหนัง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แผลพุพองสีแดงปรากฏขึ้นบริเวณรอบปากและจมูก หรืออาจเกิดจากอุบัติเหตุน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ 
  • โรคฟิฟธ์ (Fifth Disease) เกิดจากการติดเชื้อ parVovirus B19 มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ โดยจะแสดงอาการออกมาภายใน 4 วัน อาจเกิดรอยแดงที่แขน ลำตัว ผื่นแดงบริเวณแก้ม 2 ข้าง 
  • กลาก เกลื้อน การติดเชื้อราของผิวหนังส่งผลให้ผิวหนังมีอาการผื่นคัน ลอกเป็นขุย   อย่างไรก็ตาม กลากสามารถแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นได้ โดยการสัมผัสทางผิวหนังกับบุคคลหรือสัตว์ที่ติดเชื้อ
  • โรคผิวหนังอักเสบ อาการอักเสบชนิดเรื้อรังที่พบได้ตามบริเวณผิวหนัง เยื่อเมือกบุผิว มีลักษณะตุ่มนูนแบนสีม่วงคล้ำหรือปื้นสีขาวคล้ายลูกไม้บริเวณในปาก ช่องคลอด 
  • โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น ทำให้เซลล์ผิวหนังแบ่งตัวเร็วขึ้นก่อตัวเป็นเกล็ดสีเงินหนา ทำให้เกิดอาการคัน ผิวลอก และผื่นแดง
  • โรคงูสวัด เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus) เป็นไวรัสชนิดเดียวกันที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส บริเวณที่พบได้บ่อยคือ แนวบั้นเอว หรืออาจเกิดขึ้นที่ใบหน้า แขนหรือขา

อย่างไรก็ตาม สาเหตุส่วนมากที่ก่อให้เกิดผื่นแดง คือ การติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และผื่นมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภทของการติดเชื้อ 

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงการเกิดผื่นแดง

การเกิดผื่นแดงอาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น

  • สภาวะแวดล้อมที่ไม่ดี เช่น มีละอองเกสร แมลง ขนสัตว์ หรือบริเวณที่มีสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ 
  • การสัมผัสกับสารเคมีบางชนิด เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด สารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม
  • อากาศ เช่น อากาศหนาวอาจทำให้ผิวแห้ง อาจเกิดอาการคันและเป็นผื่นแดงได้ 
  • แพ้ยา แพ้อาหาร หากบุคคลที่มีอาการแพ้รุนแรง อาจเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตได้ เนื่องจากหายใจไม่ออก 

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยผื่นแดง 

การวินิจฉัยเบื้องต้น คุณหมอจะทำการตรวจร่างกายและสอบถามข้อมูลต่าง ๆ เช่น ประวัติการเจ็บป่วย ลักษณะอาการ อาหารและยาที่รับประทาน รวมถึงการตรวจอื่น ๆ เช่น 

  • การตรวจชิ้นเนื้อ และส่งไปยังห้องปฏิบัติการ เพื่อทำการทดสอบว่าผื่นแดงเกิดจากสาเหตุใด 
  • การตรวจเลือด เพื่อเช็คความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  • การตรวจปฏิกิริยาภูมิแพ้ เป็นการตรวจเช็คว่าร่างกายแพ้อะไรบ้าง เพื่อที่จะสามารถหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดผื่นแดงขึ้น

การรักษาผื่นแดง 

ผื่นแดงที่ไม่ค่อยรุนแรงอาจสามารถจางหายเองได้โดยไม่ต้องรักษา อย่างไรก็ตาม หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 วัน ควรไปพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา ดังต่อไปนี้ 

  • ยาทาภายนอก ที่มีส่วนประกอบของตัวยา เช่น ไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) พิเมโครลิมัส (Pimecrolimus) อาจช่วยบรรเทาอาการคัน บวม และรอยแดง 
  • โลชั่นบำรุงผิว เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง
  • ยาแก้แพ้ เช่น ไดเฟนไฮดรามีน เพื่อบรรเทาอาการคัน
  • บำบัดด้วยแสง โดยใช้รังสียูวีเอ (UVA) หรือรังสียูวีบี (UVB) เพื่อรักษา

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง 

การปรับไลฟ์สไตล์บางอย่างอาจช่วยป้องกันการเกิดผื่นแดงได้ นอกจากนี้ การดูแลตนเองก็เป็นสิ่งที่สำคัญ โดยอาจปฏิบัติได้ดังนี้ 

  • ประคบเย็น อาบน้ำเย็น เนื่องจากความเย็นอาจช่วยลดอาการคันได้ และควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ร้อนและมีความชื้นมากเกินไป
  • ปกป้องผิวจากแสงแดด โดยทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป
  • ทำผิวให้แห้ง หลังจากออกกำลังกาย หรือหลังจากอาบน้ำ
  • สวมเสื้อผ้าสบาย หลวม หรือระบายอากาศได้ดี
  • ลดน้ำหนัก 
  • ลดความตึงเครียด โดยหากิจกรรมทำ เช่น ฟังเพลง ดูหนัง ปลูกต้นไม้ ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ 
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสพวกสารเคมี เช่น ผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำ น้ำยาย้อมผม 
  • หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด สำหรับบุคคลที่รู้ว่าตนเองแพ้ เช่น อาหารทะเล แพ้แป้งสาลี แพ้นมวัว 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Slide show: Common skin rashes. https://www.mayoclinic.org/skin-rash/sls-20077087. Accessed October 28, 2021 

Caregiving: Preventing Rashes in the Groin Area. https://www.uofmhealth.org/health-library/abq1461. Accessed October 28, 2021 

12 SUMMER SKIN PROBLEMS YOU CAN PREVENT. https://www.aad.org/public/everyday-care/skin-care-secrets/routine/prevent-summer-skin-problems. Accessed October 28, 2021 

Rashes. https://medlineplus.gov/rashes.html. Accessed October 28, 2021 

Rashes. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/guide/common-rashes. Accessed October 28, 2021 

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/11/2022

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผื่นแดงหลังการโกนขน คืออะไร และวิธีบรรเทาอาการ

ผื่น คน ท้อง มีอะไรบ้าง และเป็นอันตรายหรือไม่


ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง โดย ทีม Hello คุณหมอ · เขียน โดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไข 09/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา