backup og meta

ผื่นแพ้ยา เป็นอย่างไร มีอาการและวิธีการรักษาอย่างไร

ผื่นแพ้ยา เป็นอย่างไร มีอาการและวิธีการรักษาอย่างไร

ผื่นแพ้ยา คือ ภาวะที่มีผื่นขึ้นบนผิวหนังเนื่องจากร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อยาที่กำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจมีตั้งแต่อาการผื่นแดงบนผิวหนังคล้ายลมพิษ ผดผื่นเล็ก ๆ หรือผิวหนังลอกเป็นสะเก็ด เพื่อความปลอดภัย หากพบว่ามีอาการผื่นขึ้นหลังจากการใช้ยา ควรแจ้งให้คุณหมอทราบเกี่ยวกับอาการและรายชื่อของยาทั้งหมดที่กำลังใช้อยู่ เพื่อปรับเปลี่ยนเป็นยาชนิดใหม่มาทดแทน

ผื่นแพ้ยาเกิดจากอะไร

ผื่นแพ้ยา เกิดจากปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองต่อยาที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็นยารักษาโรค วิตามิน สมุนไพร หรือยารูปแบบทาภายนอก โดยเมื่อระบบภูมิคุ้มกันตรวจจับว่ายานั้นเป็นสิ่งแปลกปลอมในร่างกายก็จะผลิตแอนติบอดีที่เรียกว่าอิมมูโนโกลบูลิน อี (Immunoglobulin E) และเข้าโจมตีสารเคมีในยานั้น ซึ่งกระบวนการนี้อาจทำให้มีการหลั่งสารเคมีที่กระตุ้นให้เกิดการแพ้ ซึ่งอาจปรากฏเป็นอาการผื่นขึ้นทันทีหลังใช้ยาหรือหลังจากใช้ยา 2-3 สัปดาห์

อาการผื่นแพ้ยา

อาการผื่นแพ้ยา อาจเกิดขึ้นร่วมกับอาการต่าง ๆ เช่น อาการคันผิวหนัง น้ำมูกไหล คันตา น้ำตาไหล หายใจถี่ มีไข้ คลื่นไส้ ท้องร่วง ซึ่งลักษณะของผื่นอาจแตกต่างกันออกไปตามชนิดของยาที่รับประทาน ดังนี้

  • ผิวหนังเป็นสะเก็ดและผิวลอกแดงทั่วทั้งร่างกาย อาจเกิดจากยาชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ยาในกลุ่มซัลฟา (Sulfa) ที่ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคหลอดลมอักเสบ การติดเชื้อที่ระบบทางเดินในทางเดินปัสสาวะ ยาบาร์บิทูเรต (Barbiturate) ใช้สำหรับระงับระบบประสาท ช่วยให้นอนหลับ และคลายความกังวล ยาไอโซไนอาซิด (Isoniazid) เป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เพนิซิลลิน (Penicillin) เป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้สำหรับต้านเชื้อแบคทีเรีย และยาเฟนิโทอิน (Phenytoin) ที่ใช้สำหรับควบคุมอาการชัก
  • ผื่นแดงสีม่วงเข้ม อาจเกิดจากการแพ้ยาปฏิชีวนะที่มีส่วนประกอบของฟีนอล์ฟทาลีน (Phenolphthalein) ซึ่งอาจปะปนอยู่ในยาระบายบางชนิด แต่หากพบอาการในบริเวณขามากกว่าลำตัว อาจเกิดจากการแพ้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือยาขับปัสสาวะ
  • ผื่นแดงมีลักษณะเป็นตุ่มหรือลมพิษ อาจเกิดจากแพ้สารเคมีและยาบางชนิด เช่น แอสไพริน เพนิซิลลิน
  • ผื่นผดแดงเล็ก ๆ  อาจเกิดจากการแพ้ยาปฏิชีวนะ หรือยาลดความดันโลหิต
  • ตุ่มพองลักษณะคล้ายผิวถูกไฟไหม้ เรียกอีกอย่างได้ว่า กลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน (Stevens Johnson Syndrome) อาจเกิดจากการแพ้ยาในกลุ่มซัลฟา บาร์บิทูเรต เพนิซิลลิน รวมถึงยารักษาโรคเบาหวาน

นอกจากนี้ ยังมียาชนิดอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นยาชารูปแบบทาเฉพาะที่ เคมีบำบัดที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง ที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ยาได้ หากสังเกตว่ามีอาการแพ้ยาเฉียบพลัน หรือมีอาการแย่ลงควรพบคุณหมอทันที

อาการแพ้ยาแบบไหนควรพบคุณหมอ

หากมีอาการแพ้ยาร่วมกับอาการดังต่อไปนี้ ควรพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาในทันที

  • หายใจลำบาก
  • ผื่นขึ้น ผิวหนังบวมทั่วร่างกาย
  • อ่อนเพลีย ปวดข้อต่อ
  • มีไข้
  • ปวดท้อง ท้องเสีย
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • วิงเวียนศีรษะ
  • หน้ามืด หมดสติ
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ชัก
  • ความดันโลหิตลดลง
  • ปัสสาวะเป็นเลือด

วิธีรักษาผื่นแพ้ยา

วิธีรักษาผื่นแพ้ยา มีดังต่อไปนี้

หากมีอาการผื่นแพ้ยา ควรหยุดใช้ยาในทันที แต่หากจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อรักษาโรค ควรแจ้งให้คุณหมอทราบเมื่อมีอาการแพ้ยา เพื่อให้คุณหมอปรับเปลี่ยนเป็นยาตัวอื่นแทน นอกจากนี้ คุณหมออาจสั่งยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการผื่นแพ้ยา ดังนี้

  • ยาไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) เป็นยาต้านฮีสตามีน ที่ช่วยลดการปล่อยสารฮีสตามีนที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ จึงสามารถช่วยบรรเทาอาการแพ้ได้
  • คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ใช้เพื่อรักษาอาการอักเสบ
  • ยาอัลบูเทอรอล (Albuterol) เป็นยาขยายหลอดลมที่ใช้สำหรับผู้ที่มีอาการหอบหืดและไอระดับปานกลางจากอาการแพ้ยา

การป้องกันผื่นแพ้ยา

การป้องกันผื่นแพ้ยาอาจทำได้โดยการสังเกตว่าตัวเองแพ้ยาชนิดใด และจดรายละเอียดยา เพื่อแจ้งให้คุณหมอทราบทุกครั้งเมื่อรับยาหรือเข้ารับการรักษา หรือสวมข้อมือที่มีสัญลักษณ์บ่งบอกว่าเป็นผู้ป่วยที่มีอาการแพ้ยาและระบุยาที่แพ้ร่วมด้วย เหมาะสำหรับในกรณีเข้ารับการรักษาแบบฉุกเฉินที่อาจไม่สามารถสื่อสารกับคุณหมอได้

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

drug allergy. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/drug-allergy/symptoms-causes/syc-20371835.Accessed March 29, 2022   

Drug Rashes. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/drug-rashes.Accessed March 29, 2022   

Medications and Drug Allergic Reactions. https://www.aaaai.org/tools-for-the-public/conditions-library/allergies/medications-and-drug-allergic-reactions.Accessed March 29, 2022   

Drug allergies. https://medlineplus.gov/ency/article/000819.htm.Accessed March 29, 2022   

drug allergies. https://acaai.org/allergies/allergic-conditions/drug-allergies/.Accessed March 29, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/03/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผื่นกุหลาบ อาการ สาเหตุ และการรักษา

หน้าเป็นผื่น คัน ผิวแสบแดง เกิดจากอะไร รักษาได้หรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 29/03/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา