backup og meta

ยาคุมกำเนิดช่วยลดสิว ได้อย่างไร และข้อควรระวังที่ควรรู้

ยาคุมกำเนิดช่วยลดสิว ได้อย่างไร และข้อควรระวังที่ควรรู้

สิว เป็นภาวะทางผิวหนังที่พบได้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่อาจพบได้บ่อยในวัยเจริญพันธุ์และผู้ใหญ่ที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยสิวมีหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นสิวหัวดำ สิวอักเสบ สิวผด เป็นต้น ดังนั้น การใช้ ยาคุมกำเนิดช่วยลดสิว เพื่อปรับฮอร์โมนในร่างกายอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดสิว และอาจช่วยให้อาการของสิวที่เป็นอยู่ดีขึ้นได้

สาเหตุการเกิดสิว

ยังไม่ทราบถึงปัจจัยที่แน่ชัดของการเกิดสิว อย่างไรก็ตาม สิวอาจเกิดจากการอุดตันของระบบต่อมไขมันในรูขุมขน ซึ่งได้รับการกระตุ้นจากฮอร์โมนเพศ โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศชาย นอกจากนี้ ยังอาจเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

  • เข้าสู่วัยรุ่น ในช่วงการเติบโตร่างกายผู้หญิงจะสร้างฮอร์โมนขึ้นมาเรียกว่า ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgens) ซึ่งฮอร์โมนนี้อาจไปเพิ่มการเติบโตของต่อมไขมัน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสิว
  • ประจำเดือน ในช่วงที่เป็นประจำเดือนอาจมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งอาจทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจนมากขึ้น
  • อาหาร การเลือกกินอาหารที่ไม่ดี เช่น อาหารที่มีปริมาณไขมัน น้ำมัน น้ำตาลสูง อาจทำให้เกิดสิวง่าย ดังนั้น ควรกินผลไม้และผักสดซึ่งอาจช่วยลดการเกิดสิวได้

ประเภทของสิว

สำหรับประเภทของสิว อาจแบ่งได้ดังนี้

ยาคุมกำเนิดช่วยลดสิว ได้อย่างไร

สิวอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว (P.acnes) เซลล์ผิวที่ตายแล้ว และน้ำมันที่เรียกว่า ซีบัม (Sebum) อุดตันในรูขุมขนและเกิดอาการอักเสบ แต่ฮอร์โมนในยาคุมกำเนิดอาจช่วยรักษาสิวได้ เนื่องจาก ในยาคุมกำเนิดอาจมีตัวยาที่ช่วยลดปริมาณฮอร์โมนแอนโดรเจน ซึ่งมีหน้าที่ในการผลิตไขมัน โดยยาคุมกำเนิดที่อาจช่วยลดสิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจควรประกอบด้วยฮอร์โมน 2 ชนิด คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสติน (Progesterone) หากยาคุมกำเนิดที่มีเพียงฮอร์โมนชนิดใดชนิดหนึ่งอาจไม่สามารถช่วยลดสิว ทำให้สิวมีการอักเสบที่น้อยลง และอาจช่วยลดความรุนแรงของสิว

ประเภท ยาคุมกำเนิดช่วยลดสิว

ยาคุมกำเนิดที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) อาจมี 3 ประเภท ดังนี้

  • ยาคุมชนิดนอร์อิทินโดรนและเอทินิลเอสตราไดออล มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสตินที่เรียกว่า “นอร์เจสทิเมท” (Norgestimate) ซึ่งเป็นยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ที่สังเคราะห์ขึ้น
  • ยาคุมชนิดนอร์อิทินโดรนและเอทินิลเอสตราไดออล มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสตินที่เรียกว่า “นอร์อิทินโดรน” (Norethindrone) อาจใช้รักษาสิวระดับปานกลาง
  • ยาคุมชนิดดรอสไพริโนนและเอทินิลเอสตราไดออล มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน (ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสังเคราะห์) ใช้สำหรับรักษาสิวระดับปานกลาง ทั้งนี้ ยาคุมที่มีส่วนประกอบของดรอสไพริโนน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน จึงควรปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญทุกครั้งก่อนใช้ยา

ความเสี่ยงของการกินยาคุมกำเนิด

ยาคุมกำเนิดอาจปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนต่ำ ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงทางการแพทย์ลง อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง โรคตับและถุงน้ำดี ปวดหัวไมเกรน ภาวะซึมเศร้า การเปลี่ยนแปลงอารมณ์ ปัญหาหัวใจและหลอดเลือดอื่น ๆ ทั้งยังอาจทำให้เลือดที่จับตัวเป็นก้อนที่ขาและปอด

ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาคุมกำเนิด

การใช้ยาคุมกำเนิด อาจต้องคำนึงถึงประวัติทางการแพทย์ นอกจากนี้ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้อาจต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยาคุมกำเนิด

  • เคยมีประวัติเป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เป็นลิ่มเลือดในขาและปอด
  • มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด
  • เคยป่วยเป็นมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก และมะเร็งตับ
  • โรคตับ
  • โรคเบาหวาน
  • ปวดหัวไมเกรน
  • สูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานกว่า 35 ปี
  • กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
  • มีภาวะน้ำหนักเกิน หรือพิการทางร่างกาย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Birth control for acne. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/acne/birth-control-for-acne-treatment#1. Accesed December 21, 2018

Are there birth control pills that help with acne. https://www.plushcare.com/blog/birth-control-pills-for-acne/. Accesed December 21, 2018

Combined pill. https://www.nhs.uk/conditions/contraception/combined-contraceptive-pill/. Accessed May 18, 2022

Combined oral contraceptive pills for treatment of acne. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22786490/. Accessed May 18, 2022

STUBBORN ACNE? HORMONAL THERAPY MAY HELP. https://www.aad.org/public/diseases/acne/derm-treat/hormonal-therapy. Accessed May 18, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/05/2022

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

สิวหาย เพียงหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้

ยาฮอร์โมนรักษาสิว ทำงานอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 18/05/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา