backup og meta

ลดสิว ช่วยให้ผิวใส ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการดูแลตนเอง

ลดสิว ช่วยให้ผิวใส ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการดูแลตนเอง

สิว เป็นปัญหาผิวหนังที่เกิดจากน้ำมันส่วนเกิน เซลล์ผิวที่ตายแล้ว และสิ่งสกปรกอุดตัน จนก่อให้เกิดการอักเสบเป็นตุ่มนูนแดง ตุ่มหนอง แม้ว่าสิวจะเป็นปัญหาผิวหนังที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่หากดูแลตนเอง ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพผิว หมั่นทำความสะอาดผิวหน้าให้ถูกวิธี และปรับพฤติกรรมบางอย่าง อาจช่วย ลดสิว ทำให้ผิวใสได้

[embed-health-tool-bmi]

สาเหตุที่ทำให้เกิดสิว

สาเหตุที่ทำให้เกิดสิวอาจมาจากการผลิตน้ำมันส่วนเกิน แบคทีเรีย เซลล์ผิวที่ตายแล้ว อุดตันในรูขุมขนใต้ผิวหนังจนส่งผลให้ผิวหนังนูนขึ้นปรากฏเป็นสิวประเภทต่าง ๆ ได้แก่

  • สิวหัวดำ เป็นสิวที่เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของน้ำมันส่วนเกินกับออกซิเจนในอากาศ ส่งผลให้ไขมันใต้รูขุมขนหรือหัวสิวเป็นสีดำ
  • สิวหัวขาว เป็นสิวอุดตันที่ก่อให้เกิดตุ่มนูนที่อาจพัฒนาไปเป็นสิวอักเสบได้
  • สิวตุ่มหนอง สามารถสังเกตได้จากผิวนูนนูนที่มีสีแดงโดยรอบและมีหนองสีขาวอยู่กึ่งกลางสิว
  • สิวตุ่มนูนแดง เป็นสิวไม่มีหัว แต่อาจทำให้รู้สึกเจ็บได้เมื่อสัมผัส หรือถูกเสียดสี
  • สิวอักเสบ อาจมีก้อนขนาดใหญ่ที่ก่อตัวใต้ผิวหนัง ส่งผลให้รู้สึกเจ็บปวด
  • ซีสต์ เป็นก้อนหนองขนาดใหญ่ที่เกิดจากสิว และเสี่ยงต่อการเกิดแผลเป็นถาวร

นอกจากนี้ การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันมากเกินไป เช่น ของทอด อาจส่งผลให้เกิดสิว ทั้งยังทำให้สิวมีอาการแย่ลงรวมถึงผลข้างเคียงจากยาบางชนิด และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนการเจริญเติบโตที่อาจทำให้ต่อมไขมันขยายและผลิตน้ำมันส่วนเกินออกมา จนนำไปสู่การอุดตันในรูขุมขนและเกิดสิว

พฤติกรรมที่อาจทำให้เกิดสิว

พฤติกรรมที่อาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง และก่อให้เกิดสิว มีดังนี้

  • เปลี่ยนผลิตภัณฑ์หรือยารักษาสิวบ่อย ส่งผลให้ผิวระคายเคือง หากต้องการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้า ควรพักหน้าประมาณ 3-4 เดือน
  • ใช้เครื่องสำอาง หรือแชมพูที่มีส่วนประกอบของน้ำมัน
  • ใช้อุปกรณ์แต่งหน้า เครื่องสำอางร่วมกับผู้อื่น พฤติกรรมนี้อาจทำให้เชื้อแบคทีเรีย น้ำมัน และเซลล์ผิวที่ตายแล้วไปอุดตันรูขุมขน 
  • นอนหลับข้ามคืนโดยที่ไม่ล้างเครื่องสำอางให้หมด
  • ล้างหน้าบ่อยเกินไป โดยปกติควรล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง ป้องกันผิวแห้งขาดน้ำมันที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น จนส่งผลให้ระคายเคืองก่อให้เกิดสิว
  • ขัดผิวแรง การขัดผิวอาจทำให้เกิดการระคายเคือง และเกิดสิวผดผื่น
  • บีบสิว กดสิวด้วยตัวเอง อาจทำให้แบคทีเรีย เซลล์ผิวที่ตายแล้ว หนอง ฝังลึกลงไปในชั้นผิวและเพิ่มการอักเสบของสิว อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดแผลเป็น 
  • เช็ดเหงื่อด้วยผ้าอย่างรุนแรง อาจทำให้เกิดกรระคายเคืองต่อผิว หากมีเหงื่อมากจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ควรใช้วิธีการซับเหงื่อแทนการถูแรง ๆ 

ลดสิว ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง

สำหรับวิธีลดสิว รวมถึงวิธีป้องกันการเกิดสิวด้วยตนเอง อาจทำได้โดยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

1. ดูแลผิวหน้าให้สะอาด

ควรล้างหน้าด้วยน้ำอุณหภูมิปกติและผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับสภาพผิวที่มีความอ่อนโยน วันละ 2 ครั้งเพื่อขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว กำจัดน้ำมันส่วนเกิน ช่วยลดสิว ลดการระคายเคืองเคืองผิว หลังล้างควรหน้าใช้ผ้าสะอาดซับผิวหน้า ไม่ควรใช้ผ้าถูผิวอย่างรุนแรง

2. ให้ความชุ่มชื้นผิว 

ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวบางชนิดอาจมีส่วนประกอบทำให้ผิวหน้าแห้ง ผิวลอก นำไปสู่การระคายเคืองแก่ผิวหนังและก่อให้เกิดสิว ก่อนซื้อผลิตภัณฑ์ควรอ่านส่วนประกอบข้างฉลากว่า มีมอยเจอร์ไรเซอร์ รวมทั้งงข้อความที่ระบุว่า Non-Comedogenic ซึ่งหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำให้รูขุมขนอุดตันทั้งยังให้ความชุ่มชื้นกับผิว

3. หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอาง หรือเช็ดเครื่องสำอางให้สะอาด

การทารองพื้น แป้ง บลัชออน อาจทำให้เกิดการอุดตันในรูขุมขน โดยเฉพาะเครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของน้ำมัน หากเป็นไปได้ควรเลิกใช้ แต่เปลี่ยนไปใช้เครื่องสำอางที่ปราศจากน้ำมันและสารเคมี หรือเครื่องสำอางที่มีข้อความระบุว่าไม่ก่อให้เกิดสิว และควรล้างเครื่องสำอางออกจากใบหน้าให้หมดก่อนนอน ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ข้ามคืน

4. เลือกผลิตภัณฑ์รักษาสิวให้เหมาะสม

ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดสิวอาจมีส่วนประกอบของ ไฮโดนเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) กรดไกลโคลิก (Glycolic Acid) กรดแล็กทิก (Lactic Acid) ที่ช่วยป้องกันสิว แต่ควรใช้อย่างระมัดระวังในปริมาณที่น้อย และควรปฏิบัติตามคำแนะนำที่ระบุในฉลากผลิตภัณฑ์

5. ไม่นำมือไปสัมผัสกับใบหน้า

ควรปรับพฤติกรรมที่ทำให้สิวอักเสบ หรือสิวเกิดใหม่ ด้วยการไม่นำมือไปสัมผัสกับใบหน้า เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อแบคทีเรียหรือสิ่งสกปรกที่สัมผัสจากสิ่งรอบตัว จนเกิดการระคายเคืองต่อผิวและอุดตันในรูขุมขน

6. หลีกเลี่ยงการเผชิญกับแสงแดด

แสงแดดมีรังสีอัลตราไวโอเลตที่อาจทำให้สิวอักเสบ แดง ทั้งยังเกิดรอยดำ โดยเฉพาะแสงแดดช่วงเวลา 10.00-16.00 น. เพื่อไม่ให้อาการสิวแย่ลงควรทาครีมกันแดดที่มีข้อความระบุว่า Non-Comedogenic ป้องกันการเกิดสิวใหม่ และมีค่า SPF 30 หรือสูงกว่าอย่างน้อย 20 นาทีก่อนออกจากบ้าน

7. หลีกเลี่ยงการจัดแต่งทรงผม

ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผมอาจมีส่วนประกอบของน้ำหอม น้ำมัน โพเมด (Pomades) หากสารเหล่านี้สัมผัสกับผิวหนัง อาจทำให้อุดตันในรูขุมขน ระคายเคืองผิว และเพิ่มความมันบนใบหน้าจนเกิดสิว ดังนั้น ควรสระผมให้สะอาดเมื่อเสร็จจากการทำกิจกรรมในแต่วันที่มีการจัดแต่งทรงผม

8. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

อาหารบางชนิด เช่น ของทอด อาหารแปรรูป อาหารที่มีน้ำตาลและเกลือสูง อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดสิว เพื่อลดสิว ควรเพิ่มปริมาณการรับประทานผักผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี นอกจากนี้ ของหวานที่มีน้ำตาลผสมอยู่เป็นจำนวนมากอาจก่อให้เกิดสิว ผู้ที่เป็นสิวจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขนมหวาน

9. ทำความสะอาดสิ่งของที่สัมผัสกับหน้า

ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าขนหนูล้วนเป็นสิ่งที่สัมผัสกับใบหน้าโดยตรง และเป็นแหล่งสะสมแบคทีเรีย จึงอาจทำให้สิ่งสกปรกและไปอุดตันในรูขุมขนได้ง่ายขึ้น ดังนั้น ควรซักทำความสะอาดเป็นประจำ เพื่อช่วยลดสิว และป้องกันการเกิดสิวใหม่

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Acne. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/acne/symptoms-causes/syc-20368047. Accessed May 22, 2022.

Acne. https://www.nhs.uk/conditions/acne/ . Accessed May 22, 2022.

What Can I Do About Acne?. https://kidshealth.org/en/teens/prevent-acne.html . Accessed May 22, 2022.

10 THINGS TO TRY WHEN ACNE WON’T CLEAR. HTTPS://WWW.AAD.ORG/PUBLIC/DISEASES/ACNE/DIY/WONT-CLEAR . Accessed May 22, 2022.

10 Tips for Preventing Acne. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/acne/10-tips-for-preventing-pimples . Accessed May 22, 2022.

10 SKIN CARE HABITS THAT CAN WORSEN ACNE. HTTPS://WWW.AAD.ORG/PUBLIC/DISEASES/ACNE/SKIN-CARE/HABITS-STOP . Accessed May 22, 2022.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/05/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ตำแหน่งสิว บอกอะไรเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพได้

รักษาสิวอุดตัน ควรทำอย่างไร และการป้องกันสิวอุดตัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 22/05/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา