backup og meta

แผ่นลอกสิว ได้ผลจริงไหม มีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง

แผ่นลอกสิว ได้ผลจริงไหม มีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง

แผ่นลอกสิว เป็นผลิตภัณฑ์ดูแลผิวประเภทหนึ่ง ใช้แปะบนใบหน้าหรือบริเวณจมูกเพื่อลอกสิวเสี้ยนซึ่งเป็นสิวอุดตันหรือสิวหัวดำ ทั้งนี้ แผ่นลอกสิวเหมาะใช้กับใบหน้าที่มีสิวจำนวนน้อย นอกจากนี้ แผ่นลอกสิวไม่เหมาะกับสิวอักเสบ รวมทั้งผู้ที่ผิวหนังบอบบาง และไม่ควรใช้เกินสัปดาห์ละครั้ง เพื่อป้องกันผิวหนังเกิดการระคายเคืองหรืออักเสบได้

[embed-health-tool-bmr]

แผ่นลอกสิว คืออะไร

แผ่นลอกสิวเป็นแผ่นกระดาษขนาดเล็ก ซึ่งด้านหนึ่งเคลือบสารเหนียวหรือสารที่มีคุณสมบัติเหมือนกาวไว้ นิยมใช้แปะบริเวณจมูกหรือใบหน้าแล้วลอกออก เพื่อเปิดหัวสิวอุดตันหรือสิวหัวดำ หรือที่เรียกว่าสิวเสี้ยน ซึ่งเกิดจากเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วหรือไขมันจากต่อมไขมันใต้ผิวหนังเข้าไปอุดตัน การใช้แผ่นลอกสิวอาจทำให้ผิวหนังดูเรียบเนียน และอาจช่วยให้สิวค่อย ๆ ยุบลง

แผ่นลอกสิว ใช้อย่างไร

โดยทั่วไป แผ่นลอกสิวมีวิธีการใช้งานดังนี้

  • ล้างหน้าให้สะอาด แล้วซับให้แห้ง
  • ลอกพลาสติกออกจากแผ่นลอกสิวด้านที่เคลือบสารเหนียว
  • แปะแผ่นลอกสิวด้านที่มีสารคล้ายกาวลงบนจมูกหรือใบหน้า แล้วรอประมาณ 10-15 นาที
  • ค่อย ๆ ดึงแผ่นลอกสิวออก หากลอกแผ่นลอกสิวออกได้ยาก ให้ชโลมน้ำไปบนแผ่นลอกสิว เพื่อให้ลอกออกง่ายขึ้น
  • ล้างหน้าเพื่อกำจัดคราบของสารเหนียวของแผ่นลอกสิวออกด้วยน้ำเย็นเพื่อช่วยกระชับปิดรูขุมขน

ข้อควรระวังในการใช้แผ่นลอกสิว

ข้อควรระวังเมื่อใช้แผ่นลอกสิว อาจมีดังนี้

  • ไม่ควรใช้แผ่นลอกสิว หากผิวหนังบริเวณจมูกบอบบาง แห้งหรือแตกเป็นขุย หรือผิวไหม้จากการถูกแสงแดดเผา
  • การลอกสิวแต่ละครั้ง อาจทำให้ผิวหนังแดงหรือระคายเคืองได้ จึงไม่ควรใช้แผ่นลอกสิวบ่อย ๆ ควรใช้เพียงสัปดาห์ละครั้ง
  • การใช้แผ่นลอกสิว อาจทำให้ผิวหนังมีอาการแพ้ เนื่องจากสารเหนียวหรือกาวที่เคลือบบนแผ่นลอกสิว ดังนั้น ก่อนเลือกซื้อแผ่นลอกสิว จึงควรอ่านฉลากให้ละเอียดและศึกษาข้อมูลว่าไม่มีสารที่ทำให้ตนเองแพ้ได้
  • หากกำลังใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาสิวและต้องการใช้แผ่นลอกสิว ควรปรึกษาคุณหมอก่อน
  • เมื่อพบว่าแผ่นลอกสิวลอกออกยาก ไม่ควรออกแรงดึงหรือกระชากให้หลุด เพราะอาจทำให้ผิวหนังเสียหาย หรือเป็นแผลถลอกได้

วิธีรักษาสิวอุดตันหรือสิวเสี้ยนนอกเหนือจากการใช้แผ่นลอกสิว  

แผ่นลอกสิวอาจเป็นตัวเลือกแรก ๆ เมื่อเป็นสิวเสี้ยน  เพราะราคาไม่แพงและหาซื้อได้ง่าย อย่างไรก็ตาม การลอกสิวแต่ละครั้ง อาจจัดการหัวสิวออกได้ไม่ทั้งหมด แผ่นลอกสิวจึงอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุดในการกำจัดสิวเสี้ยน น โดยเฉพาะเมื่อเม็ดสิวเกิดขึ้นบ่อย ๆ หรือเกิดเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ นอกเหนือจากการใช้แผ่นลอกสิวเพื่อแก้ปัญหาสิวเสี้ยน อาจเลือกรักษาสิวด้วยอย่างอื่น เช่น ยาใช้ภายนอกหรือครีม ที่มีกรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) หรือสารเรตินอยด์ (Retinoid) เป็นส่วนผสม โดยทั้ง 2 ชนิด มีสรรพคุณช่วยบรรเทาการอุดตันของรูขุมขน และทำให้รูขุมขนหลังการลอกสิวเสี้ยนเล็กลง ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเป็นสิวเสี้ยน

นอกจากนี้ การรักษาสิว ไม่ว่าด้วยแผ่นลอกสิวหรือการใช้ยาต่าง ๆ ควรทำร่วมกับการดูแลตัวเอง เพื่อไม่ให้เป็นสิวเพิ่มขึ้นหรือสิวหายช้าลงโดยสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดสิวได้ ดังนี้

  • ลดอาหารจำพวกแป้ง ไขมัน และน้ำตาล
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าหรือจมูกโดยไม่จำเป็น
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ปราศจากน้ำมันและแอลกอฮอล์
  • หากปริมาณของสิวหรือลักษณะของสิวสร้างความกังวลจนไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ควรไปพบคุณหมอด้านผิวหนังเพื่อขอคำปรึกษาและรักษาอย่างเหมาะสม

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

สิวเสี้ยน ตอนที่ 2. https://www.si.mahidol.ac.th/Th/healthdetail.asp?aid=480. Accessed April 21, 2022

Don’t Make These Acne Treatment Mistakes. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/acne/features/acne-treatment-mistakes. Accessed April 21, 2022

The Worst Things You Can Put on Your Face. https://www.webmd.com/beauty/ss/slideshow-beauty-worst-things-face. Accessed April 21, 2022

Over-the-counter acne products: What works and why. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/acne/in-depth/acne-products/art-20045814. Accessed April 21, 2022

Blackheads. https://medlineplus.gov/ency/article/003238.htm#:~:text=Blackheads%20are%20tiny%2C%20dark%20spots,Acne. Accessed April 21, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

23/06/2022

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

เลเซอร์รอยดำจากสิว ประโยชน์และข้อควรระวัง

เลเซอร์สิวที่หลัง ช่วยรักษาสิวได้จริงหรือไม่


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 23/06/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา