backup og meta

ยารักษาโรคเซ็บเดิร์ม ที่คุณหมอนิยมใช้ มีอะไรบ้าง

ยารักษาโรคเซ็บเดิร์ม ที่คุณหมอนิยมใช้ มีอะไรบ้าง

โรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) หรือที่เรียกอีกอย่างว่า โรคต่อมไขมันอักเสบ มักปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนในรูปแบบผื่นแดงตามจุดต่าง ๆ บนผิวหนัง และมีสะเก็ดบนหนังศีรษะ และอาจทำให้รู้สึกคันระคายเคือง คล้ายกับโรคสะเก็ดเงิน แม้ไม่สามารถรักษาให้หายขนาดได้ แต่มี ยารักษาโรคเซ็บเดิร์ม ที่คุณหมอนิยมใช้เพื่อช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้

[embed-health-tool-bmi]

สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงของ โรคเซ็บเดิร์ม

แม้จะยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดของโรคเซ็บเดิร์มได้ แต่สันนิษฐานว่า โรคเซ็บเดิร์มส่วนใหญ่อาจเกิดจากต่อมไขมันอักเสบ รวมทั้งเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นตัวกระตุ้นให้มีการพัฒนาเป็นโรคเซ็บเดิร์ม เช่น ระดับความเครียด ยีนส์ ยาบางชนิด ระบบภูมิคุ้มกัน สภาพอากาศเย็นและแห้ง โรคนี้สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่พบมากในเด็กวัยทารกแรกเกิดและผู้ใหญ่ที่มีอายุ 30-60 ปี และเกิดขึ้นบ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงด้านภาวะสุขภาพและโรคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ก็อาจทำให้ต่อมไขมันใต้ผิวหนังเกิดการอักเสบจนเป็นโรคเซ็บเดิร์มได้เช่นกัน

  • การติดเชื้อเอชไอวี โดยเฉพาะระยะเอดส์
  • โรคซึมเศร้า
  • โรคสะเก็ดเงิน
  • โรคพาร์กินสัน
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • ภาวะหัวใจวาย
  • อาการพิษสุราเรื้อรัง

โดยปกติ โรคเซ็บเดิร์มอาจส่งสัญญาณเตือนและทำให้สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ เช่น อาการคัน ผิวหนังเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีแดง ผิวหนังลอก และคราบไขมันบริเวณหนังศีรษะ ใบหน้า ผม หนวด รักแร้ เปลือกตา หากเริ่มมีอาการดังกล่าว ควรเข้ารับการวินิจฉัยจากคุณหมอ เพื่อตรวจผิวหนังและร่างกายอย่างละเอียด

การวินิจฉัยโรคเซ็บเดิร์ม ก่อนเริ่มรักษา

เมื่อเข้ารับการวินิจฉัย คุณหมออาจเริ่มจากการขูด หรือนำชิ้นส่วนของเซลล์ผิวหนังไปตรวจ เพื่อหาสาเหตุหรือเปรียบเทียบลักษณะว่าคล้ายกับโรคผิวหนังชนิดใดบ้าง พร้อมสอบถามอาการอื่น ๆ ที่เป็นร่วมด้วย ก่อนประเมินวิธีรักษาที่เหมาะสม

ยารักษาโรคเซ็บเดิร์ม ที่คุณหมอแนะนำ

แม้ว่า เซ็บเดิร์ม จะเป็นโรคผิวหนังที่ไม่สามารถ รักษา ให้หายขาด แต่อาจใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการของโรคให้ดีขั้นตามลำดับแทน  โดยยาที่คุณหมอแนะนำให้ใช้บรรเทาอาการ และยับยั้งความรุนแรงของอาการคัน และผดผื่น มีดังนี้

  • ยาต้านเชื้อราในรูปแบบเม็ด
  • ยาทาชนิดครีมต้านเชื้อรา เช่น พิเมโครลิมัส (Pimecrolimus) ยาทาโครลิมัส (Tacrolimus) คีโทโคนาโซล (Ketoconazole)
  • ยาคอร์ติโคสสเตียรอยด์ เช่น ไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) ฟลูโอซิโนโลน (Fluocinolone)
  • ครีม หรือขี้ผึ้งที่ลดการอักเสบ เช่น ฟลูโอซิโนโลน (Fluocinolone) โคลเบทาซอล (Clobetasol) ซีลีเนียมซัลไฟด์ (Selenium Sulfide)

การใช้ยาควรใช้ต่อเนื่องเป็นประจำตามใบสั่งยา และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ยา ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ด้วยการรักษาสุขอนามัยบริเวณผิวหนังที่มีผื่นแดงขึ้นด้วยการทำความสะอาดอย่างเบามือ ทามอยส์เจอไรเซอร์บำรุงผิว ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากแอลกอฮอล์ อ่อนโยนต่อผิวหนัง ไร้สารเคมี พร้อมสวมใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ ไม่เสียดสีกับผิวหนัง เพราะอาจทำให้ผิวหนังอักเสบกว่าเดิมได้ หากมีข้อสงสัย ควรสอบถามคุณหมอ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้หรือรักษาอาการด้วยตนเองเพราะอาจทำให้อาการที่เป็นอยู่กำเริบและรุนแรงขึ้นได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Seborrheic dermatitis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/seborrheic-dermatitis/symptoms-causes/syc-20352710. Accessed May 22, 2022.

Seborrheic Dermatitis. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/eczema/seborrheic-dermatitis-medref. Accessed May 22, 2022.

Natural remedies for seborrheic dermatitis. https://www.medicalnewstoday.com/articles/319113. Accessed May 22, 2022.

SEBORRHEIC DERMATITIS: OVERVIEW. HTTPS://WWW.AAD.ORG/PUBLIC/DISEASES/A-Z/SEBORRHEIC-DERMATITIS-OVERVIEW. Accessed May 22, 2022.

Seborrheic Dermatitis. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=85&ContentID=P00314. Accessed May 22, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/08/2024

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

สารระคายเคืองผิวหนัง ที่พบมากที่สุด

เซ็บเดิร์ม อาการ สาเหตุ การรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/08/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา