โรคเท้าแบน คือ ความผิดปกติของลักษณะเท้าที่ไม่มีส่วนโค้งทำให้เท้าแบนติดกับพื้น ซึ่งอาจมีสาเหตุที่เชื่อมโยงกับภาวะข้อต่อหย่อน (Joint Hypermobility Syndrome) และโรคหนังยืดผิดปกติ (Ehlers-Danlos Syndrome) ที่ทำให้ผิวหนังยืดมากเกินไป สำหรับบางคนที่ไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ อาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาและสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่สำหรับผู้ที่มีอาการปวดมากในขณะเดินหรือเคลื่อนไหว ควรเข้าพบคุณหมออย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยให้ใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกยิ่งขึ้น
[embed-health-tool-bmi]
คำจำกัดความ
โรคเท้าแบน คืออะไร
โรคเท้าแบน คือ โรคที่เนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เชื่อมติดกัน หรือมีผิวหนังที่ยืดกว่าปกติ ทำให้ไม่มีส่วนโค้งของเท้า เท้าแบนราบติดกับพื้น เป็นโรคที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก แต่ก็อาจเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ภายหลังได้เช่นกัน นอกจากนี้โรคเท้าแบนยังแบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
- เท้าแบนแบบนิ่ม จัดเป็นภาวะเท้าแบนที่พบได้มากที่สุด เมื่อยืน ฝ่าเท้าจะราบไปกับพื้นทั้งหมด แต่เมื่อยกเท้าขึ้นมาจะเห็นช่วงโค้งของฝ่าเท้าและไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด แต่อาจส่งผลให้อาการแย่ลงตามช่วงอายุ เสี่ยงเส้นเอ็นฉีกขาดและรู้สึกเจ็บปวดได้
- เท้าแบนแบบแข็ง เป็นประเภทที่พบได้น้อย โดยบริเวณหน้าเท้าจะโค้งนูนอออกผิดรูป มีลักษณะแข็งและเท้าหมุนจากข้างนอกเข้าด้านใน ทำให้รู้สึกเจ็บปวดและเคลื่อนไหวลำบากหากต้องยืนหรือเดินโดยใช้เท้าเป็นเวลานาน
อาการ
อาการของ โรคเท้าแบน
อาการของโรคเท้าแบน มีดังนี้
- เท้าแบนราบกับพื้น
- มีอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณเท้าและต้นขา
- ปวดบริเวณส่วนโค้งของข้อเท้า ส้นเท้า
- ปวดเมื่อในขณะเคลื่อนไหว
- ส่วนของหน้าเท้าและนิ้วเท้าชี้ออกด้านออก
ควรเข้าพบคุณหมอหากสังเกตตั้งแต่ช่วงวัยเด็กว่ามีรูปเท้าผิดปกติหรือไม่ รวมถึงการทรงตัวไม่ดี รู้สึกเจ็บปวดข้อเท้า และกล้ามเนื้อขาอย่างรุนแรง
สาเหตุ
สาเหตุของโรคเท้าแบน
โรคเท้าแบนอาจเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงวัยทารกและวัยเด็กที่มีสาเหตุมาจากร่างกายพัฒนายังไม่สมบูรณ์ หรือไม่พัฒนาเลย อย่างไรก็ตาม โรคเท้าแบนยังอาจเกิดได้จากภาวะผิวหนังยืดที่ได้รับจากพันธุกรรมของคนในครอบครัว ส่งผลต่อเนื้อเยื่อเกี่ยวพันใต้ผิวหนัง ข้อต่อ และผนังหลอดเลือด ทำให้ผิวหนังยืดหยุ่นจนความโค้งของเท้าหายไป มีผิวหนังบอบบางที่นำไปสู่ผิวฉีกเป็นแผลที่จำเป็นต้องเข้ารับการเย็บรักษาและผิวเท้าแตกลาย
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เป็นโรคเท้าแบน
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เป็นโรคเท้าแบน มีดังนี้
- อายุที่มากขึ้น เพราะอาจทำให้เอ็นภายในบริเวณเท้าเสื่อมสภาพตามอายุจนไม่สามารถยึดความโค้งของรูปเท้าแล้วผิวหนังไว้ได้
- โรคเบาหวานและโรคอ้วน อาจส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่ม จนเท้า ข้อเท้า และขา ต้องรองรับน้ำหนักตัว เกิดแรงกดทับเสี่ยงให้ข้อต่อ เส้นเอ็นได้รับความเสียหาย นำไปสู่โรคไขข้ออักเสบและโรคเท้าแบน
- การบาดเจ็บที่เท้าหรือข้อเท้า เช่น อุบัติเหตุ การผ่าตัด อาจทำให้เส้นเอ็นภายในเท้าไม่สามารถยึดความคงตัวของรูปเท้าไว้ได้
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยโรคเท้าแบน
คุณหมออาจขอดูเท้าในลักษณะการยืนเดิน หรือทดสอบความแข็รงแรงของข้อเท้า รวมถึงตรวจหาตำแหน่งที่มีอาการปวดรุนแรงด้วยทำซีทีแสกน เอกซเรยและ อัลตราซาวน์ เนื่องจากผู้ป่วยบางคนอาจมีปัญหาเกี่ยวกับเอ็นและกระดูกของข้อเท้าภายใน ก่อนจะดำเนินการรักษาตามอาการในลำดับถัดไป เพื่อช่วยบรรเทาอาการ เพิ่มประสิทธิภาพการให้เคลื่อนไหวให้สะดวกยิ่งขึ้น
การรักษาโรคเท้าแบน
หากไม่ส่งผลให้เจ็บปวดหรือมีการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันลำบากอาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา แต่สำหรับผู้ที่มีอาการเจ็บปวด คลื่อนไหวลำบาก เท้าผิดรูป คุณหมออาจรักษาด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด อาการอักเสบของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังภายในเท้า
- กายภาพบำบัด คุณหมอจะแนะนำการทำกายภาพบำบัดด้วยตัวเอง เพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ยืดเส้นเอ็นของเท้า ข้อเท้า และขา ซึ่งอาจเพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนไหวให้ดียิ่งขึ้น
- อุปกรณ์ช่วยพยุงขณะเดิน เช่น รองเท้าสั่งทำพิเศษ ที่รัดเท้า ซึ่งจะไม่ช่วยรักษาโรคเท้าแบนให้หายสนิท แต่จะช่วยพยุงข้อเท้าและลดอาการบาดเจ็บจากแรงกดทับของน้ำหนักตัว
- การผ่าตัด เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเท้าแบนที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่นหรือมีอาการร้ายแรงที่ทำให้ไม่สามารถเดินได้เนื่องจากเท้าผิดรูป รวมถึงซ่อมแซมกระดูก ข้อต่อและเนื้อเยื่อของเท้ที่ามีปัญหา
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง
การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคเท้าแบน
- ลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก ด้วยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ลดรับประทานอาหารที่มีไขมัน แป้งและน้ำตาลสูง เพื่อป้องกันไม่ให้เท้าและขาต้องรองรับน้ำหนักตัวมากส่งผลให้เกิดอาการปวดได้
- รับประทานยาแก้ปวด หากมีอาการปวด เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) นาพรอกเซน โซเดียม (Naproxen sodium)
- สวมรองเท้าที่มีความนุ่มและไม่รัดแน่น ที่ช่วยให้รู้สึกเคลื่อนไหวสะดวก
- เข้ารับการกายภาพบำบัดสม่ำเสมอตามที่คุณหมอกำหนด