ท้องผูก

หลายคนอาจคิดว่าปัญหา ท้องผูก เป็นเรื่องปกติ แต่คุณรู้ไหมว่า หากปล่อยไว้นานอาจทำให้ท้องผูกเรื้อรัง และส่งผลเสียต่อสุขภาพและสุขภาพชีวิตได้ การเรียนรู้สาเหตุ และวิธีรับมือกับอาการท้องผูกอย่างถูกต้อง จึงเป็นเรื่องที่คุณไม่ควรมองข้าม

เรื่องเด่นประจำหมวด

ท้องผูก

ท้องผูกเรื้อรัง อุจจาระไม่ออกหลายวัน อีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่ต้องรีบแก้ไข

แม้ท้องผูกจะเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้ทั่วไป แต่ก็ใช่ว่าเราจะละเลยปัญหานี้ได้ เพราะหากปล่อยไว้ ไม่รีบรักษา อาการท้องผูกของคุณอาจกลายเป็นภาวะ ท้องผูกเรื้อรัง ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด แล้วคุณจะสังเกตได้อย่างไรว่าตัวเองท้องผูกเรื้อรังหรือไม่ หรือเราจะมีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้อย่างไรบ้าง เราไปหาคำตอบจากบทความของ Hello คุณหมอ กันเลย ภาวะท้องผูกเรื้อรัง คืออะไร หลังจากที่เรากินอาหารเข้าไป อาหารจะเคลื่อนผ่านระบบย่อยอาหาร เริ่มจากปาก ผ่านหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และกลายเป็นของเสียออกทางทวารหนัก โดยปกติแล้ว ความถี่ในการขับถ่ายอุจจาระของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 3 ครั้งต่อวันไปจนถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่หากขับถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นเวลาติดต่อกันหลายเดือน จะถือว่ามีภาวะท้องผูกเรื้อรัง (Chronic Constipation) แต่ในความเป็นจริง คำจำกัดความภาวะท้องผูกเรื้อรังของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป ท้องผูกเรื้อรังของบางคนอาจหมายถึงภาวะที่ร่างกายขับถ่ายอุจจาระไม่สม่ำเสมอติดต่อกันหลายสัปดาห์ ในขณะที่บางคนอาจหมายถึง ภาวะที่ขับถ่ายอุจจาระได้ลำบาก ต้องใช้แรงเบ่งมากกว่าปกติจึงจะถ่ายออก ความแตกต่างระหว่างภาวะท้องผูกเฉียบพลัน กับท้องผูกเรื้อรัง ความแตกต่างที่เห็นได้เด่นชัดระหว่างภาวะท้องผูกเฉียบพลัน กับภาวะท้องผูกเรื้อรังก็คือระยะเวลาที่เกิดอาการ ผู้ที่ท้องผูกเฉียบพลันจะมีอาการถ่ายอุจจาระลำบากติดต่อกันเป็นเวลา 2-3 วัน ส่วนผู้ที่ท้องผูกเรื้อรังจะมีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายอุจจาระนาน 2-3 เดือน หรือบางคนอาจท้องผูกเรื้อรังติดต่อกันนานเป็นปี นอกจากเรื่องระยะเวลาในการเกิดโรค คุณยังสามารถสังเกตข้อแตกต่างระหว่างภาวะท้องผูกเฉียบพลันและท้องผูกเรื้อรังในเบื้องต้นได้ จากข้อสังเกตดังต่อไปนี้ ภาวะท้องผูกเฉียบพลัน มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิต หรือการกินอาหาร การไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ความเจ็บป่วย การใช้ยา และการเดินทาง บรรเทาได้ด้วยยาระบายที่หาซื้อได้ตามร้านขายยา […]

สำรวจ ท้องผูก

ท้องผูก

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการท้องผูก ที่คุณควรรู้ไว้

อาการท้องผูกเป็นภาวะที่มีการขับถ่ายน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทุกคนต่างเคยมีอาการท้องผูกกันบ้าง หรือบางคนอาจจะท้องผูกจนเป็นปกติ แต่ยังมี ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการท้องผูก บางอย่าง ที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยทราบหรือเข้าใจผิด  ดังนั้น Hello คุณหมอ จึงมีบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกัน เพื่อช่วยไขข้อข้องใจ ให้คำแนะนำแก่คนทั่วไป และแก้ปัญหาเกี่ยวกับอาการท้องผูกเบื้องต้นได้ดียิ่งขึ้น ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการท้องผูก ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการท้องผูก ที่คุณอาจจะยังมีความเข้าใจผิดกันอยู่บ้าง โดยข้อเท็จจริงต่างๆ มีดังนี้ เราไม่จำเป็นต้องขับถ่ายทุกวัน แต่ควรต้องขับถ่ายไม่ให้น้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ ไม่อย่างนั้นจะถือเป็นอาการท้องผูก มีคนจำนวนมากที่เชื่อว่า หากอุจจาระตกค้างอยู่ในร่างกายเป็นเวลานานเกินไป จะทำให้เกิดสารพิษต่างๆ สิ่งนี้เป็นเพียงสิ่งที่เล่าต่อกันมา ยังไม่มีการศึกษาหรือการทดลอง ที่สนับสนุนการกล่าวอ้างนี้ ดังนั้นการล้างลำไส้ การใช้ยาถ่ายหรือยาระบาย ไม่อาจป้องกันโรคมะเร็ง และโรคอื่นๆที่เกิดจากอาการท้องผูกได้ ภาวะทางอารมณ์ สามารถทำให้เกิดอาการท้องผูกได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า หรือมีความเครียดสูง ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก สำหรับการเกิดอาการท้องผูก ยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้อย่างแน่ชัด แต่ก็มีหลายปัจจัยด้วยกัน ที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก ซึ่งปัจจัยต่างๆ มีดังนี้ ทานไฟเบอร์ในปริมาณที่ยังไม่เพียงพอ มีการเปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน การใช้ชีวิต หรือเปลี่ยนพฤติกรรมทานอาหารเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ลดปริมาณอาหารที่มีแป้งสูง และเพิ่มอาหารที่มีกากใย เช่น ผักและผลไม้ เพื่อช่วยให้การขับถ่ายให้คล่องมากขึ้น ไม่มีการกระตุ้นให้รู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ หรือภาวะเร่งรีบ กังวลใจ ผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวด ยาต้านอาการซึมเศร้า และยาที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูง การดื่มน้ำในปริมาณที่ไม่เพียงพอ เพราะน้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย ในการช่วยขับถ่ายของเสียให้สะดวกยิ่งขึ้น ท้องผูกขนาดไหน ถึงควรไปพบแพทย์ ผู้ที่กังวลว่า […]


ท้องผูก

ท้องผูก บ่อยๆ ก็เพราะนิสัยเสียๆ แบบนี้ไงล่ะ

ท้องผูก เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในทุกเพศทุกวัย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสาเหตุก็มักจะมาจากตัวคุณเองนั่นแหละ โดยเฉพาะ นิสัย เล็กๆ น้อยๆ บางอย่างที่คุณอาจนึกไม่ถึง แต่กลับกลายเป็นสาเหตุของการเกิดอาการท้องผูกเลยล่ะ สังเกตกันดูนะคะ…และลองมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อสุขอนามัยของตัวเอง แบบไหนเรียกว่าท้องผูก ท้องผูก หมายถึงอาการที่อุจจาระแข็ง หรืออุจจาระน้อยกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน และถึงแม้ว่าท้องผูกโดยทั่วไปจะเป็นอาการที่ไม่ร้ายแรง แต่ก็ไม่ควรละเลย เพราะอาการท้องผูกเรื้อรังอาจเป็นสัญญาณของโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ อย่างไรก็ตาม แต่ละคนมีช่วงเวลาขับถ่ายไม่เหมือนกัน บางคนถ่ายวันละ 3 ครั้ง ในขณะที่บางคนถ่ายอุจจาระไม่กี่ครั้งต่อสัปดาห์ แต่การไม่ขับถ่ายนานกว่า 3 วันหรือมากกว่านั้น ถือว่านานจนเกินไป เนื่องจากหลังจากเวลาผ่านไป 3 วันอุจจาระของคุณจะแข็ง และทำให้ถ่ายอุจจาระได้ยาก ถ้าคุณมีอาการดังต่อไปนี้ อาจหมายความว่าคุณกำลังท้องผูกแล้วล่ะ ไม่ได้ขับถ่ายเป็นเวลา 3 วัน ถ่ายอุจจาระยาก หรืออุจจาระมีขนาดใหญ่กว่าปกติ อุจจาระน้อย มีปัญหาในการขับถ่าย อุจจาระแข็ง หรือเป็นก้อนเล็กๆ อุจจาระไม่ออก มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ นิสัย อะไรที่เป็นสาเหตุของ ท้องผูก การใช้ชีวิตของคุณ นิสัยส่วนตัว และบางเรื่องที่คุณละเลย เหล่านี้รวมๆ กันแล้วเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้คนเราเกิดอาการท้องผูก มาดูกันว่าคุณทำอะไรเหล่านี้บ้างหรือเปล่า คุณไม่ค่อยขยับร่างกาย ถ้าคุณเป็นคนที่ไม่ออกกำลังกาย หรือใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนั่งอยู่กับที่ คุณอาจมีอาการท้องผูกได้ อาการท้องผูกบ่อยครั้งจึงเกิดกับผู้ป่วยที่นอนติดเตียง แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้เจ็บป่วย การเคลื่อนไหวร่างกายและการออกกำลังกายจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ คำแนะนำในการออกกำลังกายโดยทั่วไปที่ใช้ได้สำหรับคุณก็คือ ออกกำลังกายแบบปานกลางวันละ 30 นาที ให้มากวันที่สุดในหนึ่งสัปดาห์ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน