backup og meta

ลำไส้แปรปรวน อะไรคือสิ่งที่คุณควรรู้เพื่อรับมือกับโรคเรื้อรังนี้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    ลำไส้แปรปรวน อะไรคือสิ่งที่คุณควรรู้เพื่อรับมือกับโรคเรื้อรังนี้

    หลายคนเคยประสบปัญหาอาการปวดท้อง ที่ไม่ใช่แค่อาการปวดท้องเท่านั้น แต่มีอาการอื่นที่เกิดขึ้นพร้อมอาการปวดด้วย สำหรับบางคน อาการ ลำไส้แปรปรวน เป็นอาการที่ต้องเจอเป็นประจำในชีวิต และต้องจัดการกับอาการในแต่ละวันไป

    โรคลำไส้แปรปรวนคืออะไร

    โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome/ IBS) เป็นอาการเรื้อรังของระบบย่อยอาหารที่พบได้บ่อย ทำให้เกิดอาการปวดเกร็งหน้าท้อง ท้องอืด ท้องร่วง และท้องผูก

    โรคลำไส้แปรปรวนเกิดขึ้นกับคนราวหนึ่งในห้า ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต และมักเกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงอายุ 20 ถึง 30 ปี โดยเกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึงสองเท่า

    แม้ว่าโรคลำไส้แปรปรวน ไม่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคที่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็เป็นอาการเรื้อรังที่ต้องรับการรักษาในระยะยาว

    อาการโรคลำไส้แปรปรวนเกิดขึ้นแตกต่างกัน และส่งผลต่อแต่ละคนแตกต่างกัน อาการเกิดขึ้นได้นานหลายวันหรือนับเดือน และอาการจะรุนแรงขึ้นเมื่อเกิดความเครียด หรือหลังจากรับประทานอาหารที่กระตุ้นอาการ

    อาการของโรคลำไส้แปรปรวนอาจลดลงหลังจากขับถ่าย แม้ว่าอาการนี้จะเกิดขึ้นเรื้อรัง แต่สามารถดีขึ้นได้หลังจากการดูแลรักษาที่ดีเป็นเวลาหลายปี

    อาการของโรคลำไส้แปรปรวน

    อาการของโรคลำไส้แปรปรวนส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับอาการปวดท้อง และการเปลี่ยนแปลงของการขับถ่าย เช่น บางคนที่อาจเกิดอาการท้องผูก (หรือท้องร่วง) อาจเกิดอาการท้องผูกสลับท้องร่วงได้ อาการปวดท้องจะรุนแรงขึ้นหลังจากรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย

    อาการของโรคลำไส้แปรปรวนอาจเปลี่ยนแปลงตามเวลา ในบางครั้ง อาจมีอาการที่แตกต่างกันไป บางครั้งอาการอาจกลับมาหลังจากที่หายไประยะหนึ่ง อาการทั่วไปของโรค ได้แก่

  • ปวดท้อง และปวดเกร็ง
  • พฤติกรรมการขับถ่ายเปลี่ยนไป เช่น ท้องร่วง ท้องผูก หรืออาจเกิดอาการทั้งสองร่วมกัน
  • ท้องอืดหรือท้องบวม
  • ลมในท้องมาก
  • ต้องเข้าห้องน้ำโดยด่วน
  • รู้สึกขับถ่ายออกไม่หมดหลังจากการขับถ่ายไปแล้ว
  • มีเมือกในอุจจาระ
  • สำหรับคนส่วนใหญ่ โรคลำไส้แปรปรวนเป็นโรคเรื้อรัง โดยบางครั้งอาการอาจรุนแรงขึ้น หรืออาจดีขึ้น หรือแม้แต่หายไปเลยก็เป็นได้

    สาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวน

    สาเหตุที่แท้จริงของโรคลำไส้แปรปรวนยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า อาจเกี่ยวข้องกับการตอบสนองของทางเดินอาหารที่ไวขึ้น และปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อย บางเชื่อว่าเกี่ยวกับสมองที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการขับถ่าย ดังนั้น โรคนี้จึงเชื่อว่าเป็นความเกี่ยวข้องระหว่างทางเดินอาหารและสมอง

    นั่นหมายความว่าคุณจะไวต่ออาการปวดที่มาจากท้องมากขึ้น และสมองก็จะตอบสนองต่อความรู้สึกนั้น โดยการส่งสัญญาณเพื่อให้ขับถ่าย คุณอาจเกิดอาการท้องผูกหรือท้องร่วง เนื่องจากอาหารผ่านทางเดินอาหารเร็วหรือช้าเกินไป

    ปัจจัยทางจิตใจ เช่น ความเครียดอาจเป็นส่วนหนึ่งของการเกิดโรคลำไส้แปรปรวนได้

    การรักษาโรคลำไส้แปรปรวน

    ยังไม่มีวิธีการรักษาสำหรับโรคลำไส้แปรปรวน แต่อาการต่างๆ สามารถควบคุมได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการกินอาหาร เช่น

    • ระบุและหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นอาการ
    • เพิ่มปริมาณกากใย
    • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
    • ลดความเครียด

    ยาที่แพทย์สั่งอาจช่วยบรรเทาอาการได้ หากการปรับพฤติกรรมไม่ช่วยบรรเทาอาการ ยาหลายชนิดสามารถช่วยบรรเทาอาการได้ แต่ผู้ที่มีอาการไม่มาก อาจต้องการยาแค่เป็นครั้งคราว ยาดังกล่าวได้แก่

    • ยาบรรเทาอาการปวดท้อง (Antispasmodics) เช่น ดิไซโคลมายด์ (dicyclomine) อย่างเบนทิล (Bentyl) ไฮโอซิมายน์ (hyoscyamine) อย่างเลฟซิน (Levsin)
    • ยารักษาอาการท้องร่วง เช่น ไอโอเพอร์ราไมด์ (loperamide) อย่าง ไอโมเดียม (Imodium) ยาไดเฟโนซิเลท (diphenoxylate) อย่าง โลโมทิล (Lomotil)
    • ยาลดความกังวล

    มีผู้ป่วยเพียงจำนวนไม่มากนัก ที่มีอาการของโรคลำไส้แปรปรวนรุนแรง บางคนสามารถจัดการอาการโดยการควบคุมอาหาร พฤติกรรม และความเครียด ขณะที่บางคนอาจต้องการยาและการพบหมอ

    วิธีการใช้ชีวิตเมื่อเป็นโรคลำไส้แปรปรวน

    โรคลำไส้แปรปรวนเป็นโรคที่ไม่อาจคาดเดาได้ คุณอาจเป็นโรคนี้โดยไม่อาการนานนับเดือน แล้วก็เกิดอาการขึ้นมาอย่างฉับพลัน หัวใจของวิธีการบรรเทาอาการ คือความเข้าใจว่าโรคนี้มีทั้งส่วนที่เกี่ยวกับร่างกาย และส่วนที่เกี่ยวกับความเครียด วิธีการรักษาที่ดีที่สุดก็คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

    หากอาหารบางประเภททำให้เกิดอาการ หรือทำให้อาการแย่ลง ควรลดหรือหลีกเลี่ยงอาหารนั้น หากอาการปวดท้องเกิดขึ้นหลังจากการรับประทานอาหาร ควรรับประทานมื้อเล็กลงแต่บ่อยขึ้นแทน

    ผู้ปวยที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวนควรปรับปริมาณอาหารที่มีกากใยให้เพิ่มขึ้น เพื่อช่วยบรรเทาอาการท้องผูกรวมทั้งท้องร่วงด้วย อาหารที่มีกากใยที่ละลายน้ำได้ ได้แก่

    • โอ๊ตมีล
    • ผลไม้ เช่น กล้วยและแอ๊ปเปิ้ล
    • ผักในดิน เช่น แครอท และมันฝรั่ง
    • ขนมปังธัญพืช
    • ซีเรียล
    • ถั่วและเมล็ดพืช (ยกเว้น เมล็ดป่านสีทอง)

    นอกจากการปรับเปลี่ยนอาหารแล้ว คุณอาจลองปรับพฤติกรรมการรับประทานด้วยการ

    • รับประทานอาหารให้ตรงเวลาและรับประทานอย่างช้าๆ
    • ไม่งดมื้ออาหาร หรือทิ้งช่วงเวลานานระหว่างมื้ออาหาร
    • ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละแปดแก้ว โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่ไม่มีคาเฟอีน เช่น ชาสมุนไพร
    • จำกัดการดื่มชาและกาแฟอย่างมากที่สุดคือ สามแก้วต่อวัน
    • ลดปริมาณแอลกอฮอล์และน้ำอัดลม
    • ลดปริมาณแป้งที่ย่อยยาก ซึ่งมักพบในอาหารสำเร็จรูปหรือผ่านกระบวนการ
    • จำกัดจำนวนผลไม้สดเหลือเพียงสามครั้งต่อวัน เช่น อาจเป็นเกรปฟรุตหรือแอปเปิ้ลครึ่งลูก
    • หากเกิดอาการท้องร่วง ควรหลีกเลี่ยงซอร์บิทอล สารให้ความหวานที่พบในลูกอมปราศจากน้ำตาล รวมถึงหมากฝรั่งและเครื่องดื่มต่างๆ และผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักต่างๆ
    • หากมีลมในท้องมากหรือท้องอืด ควรรับประทานข้าวโอ๊ต (เช่น ซีเรียลข้าวโอ๊ตหรือโจ๊กข้าวโอ๊ต)

    เนื่องจากการขับถ่ายเกิดจากการสั่งการของสมอง ความเครียดที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้อาการของโรคแย่ลง คววรพักผ่อนและผ่อนคลายเพื่อช่วยลดความเครียด และจัดการกับโรคลำไส้แปรปรวน

    โรคลำไส้แปรปรวนอาจทำให้เกิดอาการปวดและระคายเคือง หลายคนอาจรู้สึกเครียดและวิตกกังวลในบางเวลา การทำความเข้าใจโรค สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ ผ่านการสื่อสารและดูแลตัวเองอย่างดีสามารถลดความเครียดได้

    ปรึกษาแพทย์หากคุณรู้สึกซึมเศร้าและส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาการเหล่านี้มักไม่ดีขึ้น หากไม่ได้รับการรักษา และแพทย์สามารถแนะนำวิธีการรักษาได้ เช่น การใช้ยาต้านซึมเศร้า หรือการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม ซึ่งช่วยให้รับมือกับอาการลำไส้แปรปรวนได้ รวมถึงการรักษาอาการโดยตรง

    ด้วยการรักษาทางการแพทย์และการบำบัดทางจิต คุณสามารถใช้ชีวิตร่วมกับโรคลำไส้แปรปรวนได้อย่างเป็นปกติ

    โรคลำไส้แปรปรวนไม่ส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพและไม่เพิ่มโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งหรือโรคเกี่ยวกับการขับถ่ายอื่นๆ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา