backup og meta

ปจด สีดำ เกิดจากอะไร อันตรายไหม เมื่อไรควรไปพบคุณหมอ

ปจด สีดำ เกิดจากอะไร อันตรายไหม เมื่อไรควรไปพบคุณหมอ

ปจด หรือ ประจำเดือน หมายถึง เยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอกออกมาเป็นเลือดผ่านทางช่องคลอดทุกเดือน โดยเกิดจากการที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และกระตุ้นให้ผนังมดลูกหนาขึ้นเพื่อเตรียมรองรับการฝังตัวของตัวอ่อนหากไข่ปฏิสนธิกับอสุจิ แต่เมื่อไข่ในร่างกายเพศหญิงวัยเจริญพันธุ์ไม่ได้รับการปฏิสนธิกับอสุจิ เยื่อบุโพรงมดลูกจึงหลุดลอกออกตามธรรมชาติ โดยทั่วไป ปจด มักเป็นสีแดงสดหรือสีแดงเข้ม แต่บางครั้งอาจพบเป็น ปจด สีดำ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่อาการน่ากังวล ยกเว้นแต่ว่ามี ปจด สีดำ ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ไข้ขึ้น ตกขาวมีกลิ่นเหม็น คันบริเวณช่องคลอด ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุต่อไป

[embed-health-tool-ovulation]

ปจด คืออะไร

ปจด หรือประจำเดือน เป็นภาวะปกติเมื่อเพศหญิงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ โดยจะเป็นประจำเดือนครั้งแรก เมื่ออายุประมาณ 12-16 ปี

ประจำเดือน จะเกิดขึ้นทุก ๆ 21-35 วัน โดยมีลักษณะเป็นเลือดไหลออกจากช่องคลอด ซึ่งเกิดจากการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก เมื่อไข่ของเพศหญิงไม่ได้รับการปฏิสนธิโดยอสุจิของเพศชาย ร่างกายจึงขับเยื่อบุโพรงมดลูกที่เตรียมรองรับการฝังตัวของตัวอ่อนให้หลุดลอกออกตามธรรมชาติ

ประจำเดือนจะไหลติดต่อกันประมาณ 5-7 วัน โดยถ้าไหลน้อยกว่า 2 วัน หรือมากกว่า 7 วัน อาจหมายถึงประจำเดือนมาไม่ปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์

ทั้งนี้ ระหว่างมีประจำเดือน เพศหญิงอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ อยากอาหาร ปวดท้อง ปวดหลัง ท้องอืด สิวขึ้น

โดยทั่วไป เพศหญิงจะหยุดเป็นประจำเดือนเมื่ออายุ 45-55 ปี หรือหลังเข้าสู่วัยทองแล้ว เนื่องจากในช่วงวัยทอง ร่างกายเพศหญิงจะหยุดผลิตฮอร์โมนเพศเอสโทรเจน และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) อันเกี่ยวข้องกับประจำเดือน การตั้งครรภ์ และลักษณะทางเพศต่าง ๆ

ปจด สีดำ เกิดจากอะไร

ปจด สีดำเป็นภาวะสุขภาพที่อาจพบได้ในวันแรก ๆ หรือวันท้าย ๆ ของการมีประจำเดือน โดยเกิดจากการทำปฏิกิริยาของเลือดที่ตกค้างในช่องคลอดกับออกซิเจน หรือที่เรียกว่าการออกซิเดชัน (Oxidation) ซึ่งส่งผลให้เลือดประจำเดือนเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีดำ

นอกจากนี้ ปจด สีดำ อาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การตั้งครรภ์ เนื่องจากเมื่อตัวอ่อนฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูกแล้ว บางครั้งอาจทำให้มีเลือดไหล โดยเลือดดังกล่าวมักตกค้างในร่างกายระยะหนึ่งก่อนจะไหลออกมาทางช่องคลอด ทำให้พบเป็นสีดำ

อย่างไรก็ตาม แม้ปจด สีดำ จะเป็นภาวะสุขภาพที่ไม่เป็นอันตราย แต่ปจด สีดำ อาจถือเป็นสัญญาณของความผิดปกติได้ เช่น ช่องคลอดตีบตัน โดยเฉพาะหากเป็นร่วมกับอาการดังต่อไปนี้

  • เป็นไข้ ตัวร้อน
  • ตกขาวมีกลิ่นเหม็น
  • คันบริเวณช่องคลอด ช่องคลอดบวม
  • พบลิ่มเลือดประจำเดือนจำนวนมาก
  • ปัสสาวะลำบาก หรือปัสสาวะแสบขัด

เป็นปจด สีดำ แบบไหนควรไปพบคุณหมอ

หากพบอาการต่อไปนี้ ควรรีบไปพบคุณหมอ ไม่ว่าจะมีปจด สีดำหรือไม่ก็ตาม

  • ประจำเดือนไม่มาติดต่อกัน 3 เดือน หรือมากกว่านั้น
  • มีระยะห่างระหว่างประจำเดือนน้อยกว่า 21 วัน
  • มีระยะห่างระหว่างประจำเดือนมากกว่า 35 วัน
  • มีประจำเดือนเกิน 7 วัน
  • มีประจำเดือนปริมาณมากหรือน้อยกว่าปกติในแต่ละรอบเดือน
  • พบลิ่มเลือดขนาดใหญ่ หรือขนาดเกินเหรียญบาทขึ้นไปปะปนมากับเลือดประจำเดือน
  • ประจำเดือนกลับมาเป็นอีกหลังจากหมดเมื่อเข้าสู่วัยทองแล้ว

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Menstrual cycle. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/menstrual-cycle. Accessed May 23, 2022

Menstrual cycle: What’s normal, what’s not. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/womens-health/in-depth/menstrual-cycle/art-20047186. Accessed February 10, 2022

Periods. https://www.nhs.uk/conditions/periods/. Accessed May 23, 2022

Menstruation. https://medlineplus.gov/menstruation.html. Accessed May 23, 2022

What Does the Color of Your Period Mean?. https://health.clevelandclinic.org/what-does-the-color-of-your-period-mean/. Accessed May 23, 2022

What to Know About the Color of Period Blood. https://www.webmd.com/women/what-to-know-color-period-blood.  Accessed May 23, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/03/2023

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ประจำเดือนเป็นสีดำ ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่

เป็นประจำเดือนห้ามกินอะไร และอาหารที่ควรกิน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 28/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา