backup og meta

ผ้าอนามัยแบบสอด ทำความเข้าใจก่อนใช้งานจริง

ผ้าอนามัยแบบสอด ทำความเข้าใจก่อนใช้งานจริง

ผ้าอนามัย เป็นของใช้จำเป็นในช่วงมีประจำเดือนสำหรับคุณผู้หญิง ซึ่งผ้าอนามัยมีหลากหลายรูปแบบ  ไม่ว่าจะเป็น ผ้าอนามัยแบบแผ่น ผ้าอนามัยแบบสอด และอื่น ๆ ที่ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นตามยุคตามสมัย โดยการเลือกใช้ผ้าอนามัยอาจขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้หญิงที่ต้องการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด ควรศึกษาถึงวิธีการใช้ที่ถูกต้อง เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย

[embed-health-tool-ovulation]

ทำความรู้จักกับ ผ้าอนามัยแบบสอด

ทางองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ FDA ได้ประกาศให้ผ้าอนามัยแบบสอด (Tampon) ถือเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ เนื่องจากผ้าอนามัยแบบสอดจะถูกแทรกเข้าไปในช่องคลอด เพื่อดูดซับประจำเดือน ซึ่งผ้าอนามัยแบบสอดมีลักษณะเป็นทรงกระบอก ทำจากฝ้าย เรยอน หรืออาจจะมีการผสมทั้ง 2 อย่างเข้าด้วยกัน สำหรับวิธีการใส่ก็ได้รับการออกแบบมาให้ใส่โดยใช้พลาสติก กระดาษแข็ง หรือสามารถใส่โดยตรงก็ได้เช่นกัน เมื่อผ้าอนามัยแบบสอดถูกใส่เข้าไปในช่องคลอดจะมีการขยายตัวเกิดขึ้น ซึ่งผ้าอนามัยแบบสอดมีให้เลือกหลายขนาดด้วยกัน โดยขนาดนั้นหมายถึงความสามารถในการดูดซับ ไม่ได้หมายถึงความยาว หรือความกว้าง เมื่อผ้าอนามัยแบบสอดเข้าไปอยู่ในร่างกาย นอกจากผ้าอนามัยแบบสอดจะใช้ในการดูดซับประจำเดือนแล้ว บางครั้งยังถูกนำมาใช้สำหรับการห้ามเลือดในการผ่าตัดอีกด้วย

วิธีใช้ผ้าอนามัยแบบสอดอย่างถูกต้อง

เนื่องจากผ้าอนามัยแบบสอดมีวิธีการใช้หลายรูปแบบด้วยกัน ดังนั้น บางวิธีการใช้จะไม่ได้เพียงแค่ตัวผ้าอนามัยแบบสอดเพียงชิ้นเดียว โดยส่วนประกอบของผ้าอนามัยแบบสอด มีดังนี้

  • ตัวผ้าอนามัยแบบสอดและเชือก มักทำจากฝ้าย เรยอน และฝ้ายออร์แกนิก
  • รูปร่างของผ้าอนามัยแบบสอดคือ รูปทรงกระบอก และสามารถขยายเมื่อเปียกน้ำ
  • เชือกที่ยื่นออกมาจากผ้าอนามัยแบบสอด มีไว้สำหรับถอดผ้าอนามัยแบบสอดออกจากช่องคลอด
  • สิ่งที่ล้อมรอบผ้าอนามัยแบบสอดและเชือก ประกอบด้วยกล่อง ด้ามจับ และที่ดัน

สำหวิธีการใส่ผ้าอนามัยแบบสอดอาจทำได้ ดังนี้

  • อ่านคำแนะนำจากกล่องที่บรรจุผลิตภัณฑ์
  • ล้างมือให้สะอาด เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่แพร่กระจายเชื้อโรคต่าง ๆ ไปยังภายในช่องคลอด
  • หากเป็นครั้งแรกในการใช้งาน อาจจะต้องใช้กระจกในการช่วยส่อง
  • เข้าสู่ท่าที่รู้สึกสบาย ซึ่งบางคนอาจจะเป็นท่านั่งยอง ๆ หรือบางคนอาจจะถนัดเป็นท่านั่งในห้องน้ำ
  • เมื่อได้ท่าที่รู้สึกสบายและถนัดที่สุด ก็เริ่มต้นด้วยการค้นหาช่องคลอด และใส่ปลายหัวของผ้าอนามัยแบบสอดเข้าไป
  • ดันที่ดันเบา ๆ จนสุด เพื่อปล่อยผ้าอนามัยแบบสอดเข้าไปในช่องคลอด (ในกรณีที่เป็นผ้าอนามัยแบบสอดที่มีรูปแบบเป็นกล่อง ด้ามจับ และที่ดัน) หรือแกะพลาสติกที่หุ้มอยู่รอบ ๆ ผ้าอนามัยแบบสอดออก แล้วใช้นิ้วค่อย ๆ ดันปลายหัวของผ้าอนามัยเข้าไปในช่องคลอดจนสุด เหลือส่วนเชือกเอาไว้ที่ด้านนอก เพื่อเอาไว้สำหรับถอดผ้าอนามัยแบบสอดออกจากช่องคลอด

สาวบริสุทธิ์สามารถใช้ผ้าอนามัยแบบสอดได้หรือไม่

หลายคนอาจสงสัยว่า ถ้ายังเป็นสาวบริสุทธิ์อยู่จะสามารถใช้ผ้าอนามัยแบบสอดได้หรือไม่ หรือการใส่ผ้าอนามัยแบบสอดจะมีผลกระทบต่อความบริสุทธิ์หรือไม่ โดยทั่วไปแล้วการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด สามารถทำให้เยื่อพรหมจรรย์ (Hymen) ของผู้หญิงยืดหรือฉีกขาดได้ แต่ไม่ได้ทำให้เสียความบริสุทธิ์

ดังนั้นผู้ปกครองที่มีลูกสาวกำลังอยู่ในช่วงวัยมีประจำเดือน ควรพูดคุยเพื่อให้ลูกเข้าใจว่าร่างกายของตัวเองกำลังเกิดอะไรขึ้นบ้าง รวมถึงยังเป็นโอกาสที่ดีที่จะใช้เวลานี้ในการพูดคุยเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ และคุณค่าของครอบครัว เมื่อมีเพศสัมพันธ์อีกด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The Facts on Tampons—and How to Use Them Safely. https://www.fda.gov/consumers/consumer-updates/facts-tampons-and-how-use-them-safely. Accessed December 18, 2019

How to Insert and Remove a Tampon Correctly. https://www.healthline.com/health/how-to-insert-a-tampon. Accessed December 18, 2019

The Truth About Tampons, Hymens, and Teenage Girls. https://www.verywellfamily.com/will-my-teen-still-be-a-virgin-if-she-uses-a-tampon-3200896. Accessed December 18, 2019

Can I Use a Tampon If I’m a Virgin?. https://kidshealth.org/en/teens/use-tampon.html. Accessed December 18, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

19/03/2023

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ช่องคลอด ติดเชื้อแบคทีเรีย อาการ และภาวะแทรกซ้อน

ช่องคลอดมีกลิ่น ปัญหาจุดซ่อนเร้นกับวิธีรับมือง่าย ๆ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 19/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา