กระดูกเชิงกรานเป็นกระดูกขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อร่างกาย ถือเป็นหนึ่งในอวัยวะที่หลาย ๆ คนไม่รู้ว่ามีความสำคัญ วันนี้ Hello คุณหมอ จะพามารู้จักกับ กระดูกเชิงกราน ว่าคืออะไร และมีหน้าที่สำคัญอย่างไร พร้อมวิธีง่ายในการคำนวณการตกไข่ให้สาว ๆ เตรียมพร้อมสำหรับการมีบุตร กดได้ที่นี่เลย
กระดูกเชิงกราน คืออะไร
กระดูกเชิงกราน (Bony pelvis) คือ เป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกรยางค์ในร่างกายประกอบด้วยกระดูกกระเบนเหน็บ (Sacrum) กระดูกก้นกบ(Coccyx) และกระดูกสะโพก (Hip bone) 2 ชิ้น โดยแต่ละชิ้นประกอบด้วยกระดูก 3 ส่วน คือ กระดูกปีกสะโพก(Ilium) เป็นกระดูกชิ้นที่ใหญ่ที่สุดในบรรดากระดูกเชิงกราน แบ่งออกเป็นฝั่งซ้าย และขวา กระดูกก้น(Ischium) เป็นกระดูกที่อยู่ด้านหลังสุด และส่วนที่ 3 คือกระดูกหัวหน่าว(Pubis) เป็นกระดูกที่อยู่บริเวณด้านหน้า
กระดูกเชิงกรานเป็นโครงของช่องเชิงกราน (pelvic cavity) แบ่งออกเป็น 2 ส่วนโดย pelvic brim คือช่องเชิงกรานไม่แท้ (false pelvis/greater pelvis) อยู่ทางส่วนบน และช่องเชิงกรานแท้ (true pelvis/lesser pelvis) อยู่ทางส่วนล่าง
หน้าที่ของ กระดูกเชิงกราน
กระดูกเชิงกรานทำหน้าที่สำคัญ ได้แก่
- ปกป้องอวัยวะภายในหลายอย่าง ซึ่งประกอบไปด้วย มดลูก รังไข่ ลำไส้ใหญ่ตอนปลาย กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ เส้นประสาท และหลอดเลือด
- การถ่ายโอนน้ำหนักจากโครงกระดูกแกนส่วนบนไปยังส่วนประกอบด้านล่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างการเคลื่อนไหว
ความแตกต่างของกระดูกเชิงกรานในผู้หญิง และผู้ชาย
ผู้หญิง และผู้ชายมักจะมีความแตกต่างกันของลักษณะกระดูกเชิงกราน เนื่องจาก กระดูกเชิงกรานของผู้หญิงได้รับการออกแบบมาสำหรับเพื่อการตั้งครรภ์ รวมไปถึงการคลอดบุตร เพื่อให้ช่องเชิงกรานตื้น และมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการอุ้มทารก ช่องของกระดูกเชิงกรานของผู้หญิงยังกว้างกว่าของผู้ชาย เพื่อให้คลอดทางช่องคลอดได้ง่ายมากขึ้น ในระหว่างการตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของกระดูกเชิงกรานรูปร่าง เป็นกลไกปกติในการช่วยให้คลอดลูก เพศชายมีช่องเชิงกรานรูปหัวใจ ในขณะที่เพศหญิงมีช่องเชิงกรานรูปไข่ มีน้ำหนักเบา และความหนาแน่นน้อยกว่า
ชนิดของกระดูกเชิงกราน
- เชิงกรานแบบหญิง (Gynaecoid pelvis) เป็นกระดูกเชิงกรานที่พบมากที่สุดในผู้หญิง เพราะมีลักษณะกลม และกว้าง เพื่อรองรับการมีบุตร
- เชิงกรานแบบชาย (Android pelvis) กระดูกเชิงกรานชายมากกว่ากระดูกเชิงกรานหญิง ข้างหน้าแคบกว่าและมีรูปร่างเหมือนหัวใจ หากผู้หญิงมีกระดูกเชิงกราน Android อาจมีการคลอดที่ยาก และใช้เวลานานกว่าปกติได้ เป็นชนิดที่ไม่เหมาะกับการคลอดทางช่องคลอด
- เชิงกรานแบบแอนโทรพอยด์ (Anthropoid pelvis) กระดูกเชิงกรานAnthropoid เป็นกระดูกเชิงกรานแคบ เมื่อเทียบกับกระดูกเชิงกราน gynecoid และมีลักษณะคล้ายวงรี มีเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวหน้าหลังยาว รูปร่างอุ้งเชิงกรานนี้พบได้บ่อยในผู้หญิงชาวแอฟริกัน
- เชิงกรานแบบแพลติเพลลอยด์ (Platypelloid pelvis) เป็นกระดูกเชิงกรานที่พบได้น้อยที่สุด เนื่องจากกระดูกเชิงกรานมีรูปร่างเป็นวงรี สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของทารกในครรภ์
คุณสามารถตรวจเช็กลักษณะกระดูกเชิงกราน ได้จากการทำ CT Scan เพื่อดูชนิดเชิงกราน แต่อย่างไรนั้นการจะคลอดทางช่องคลอดนั้น จำเป็นต้องดูความแข็งแรงของการหดตัวของมดลูก กระบวนการเคลื่อนที่ของทารก รวมถึงการดูเชิงกราน เพราะหากเชิงกรานแคบอาจทำให้การคลอดยาก และสิ่งสำคัญคือทารกน้อย ที่หมอจะต้องดูตำแหน่ง และขนาดตัวของเด็กทารก
[embed-health-tool-ovulation]