backup og meta

FAQ: คําถามที่ถามบ่อยเกี่ยวกับวัคซีน HPV

เขียนโดย ศ.นพ. จตุพล ศรีสมบูรณ์ · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม


แก้ไขล่าสุด 12/02/2024

    FAQ: คําถามที่ถามบ่อยเกี่ยวกับวัคซีน HPV

    1. จําเป็นต้องตรวจคัดกรองด้วย Pap smear ก่อนฉีดวัคซีน HPV หรือไม่?

    ไม่จําเป็นต้องตรวจ Pap smear ก่อนจึงจะฉีดวัคซีน HPV ได้ ควรพิจารณาแยกเป็น 2 ประเด็นตามจุดประสงค์ของการป้องกันมะเร็งปากมดลูก

    การทํา Pap smear เป็น secondary prevention เป็นการตรวจคัดกรองหารอยโรคเพื่อทําการรักษา ส่วนการฉีดวัคซีน HPV นั้นเป็น primary prevention เป็นการป้องกันปากมดลูกไม่ให้ติดเชื้อ HPV

    ในทางปฏิบัติถ้ามีเพศสัมพันธ์แล้ว และไม่เคยตรวจคัดกรองมาก่อนแนะนําให้ทํา Pap smear ไว้ด้วย ถ้าผิดปกติให้ดูแลรักษาและตรวจ

    ติดตามตามแนวทางมาตรฐาน ส่วนการฉีดวัคซีน HPV ก็สามารถฉีดได้ตามปกติ ไม่ได้เป็นข้อห้าม

    2. จําเป็นต้องตรวจ HPV testing ก่อนฉีดวัคซีน HPV หรือไม่?

    ไม่จําเป็นต้องตรวจ HPV testing หรือตรวจ HPV16/18 genotyping ก่อนจึงจะฉีดวัคซีน HPV ได้ ถ้าจะตรวจ HPV testing ก็ทําเพื่อ

    การตรวจคัดกรองหารอยโรคในสตรีที่อายุถึงเกณฑ์คําแนะนําเพื่อที่จะใช้ในการดูแลรักษาและการตรวจ ติดตามต่อไป มิได้ตรวจเพื่อนํามาประกอบการพิจารณาฉีดวัคซีน ผล HPV-negative ไม่ได้แสดงว่าไม่มีเชื้อ HPV ที่ปากมดลูกเสมอไป แต่อาจจะมีเชื้ออยู่ในปริมาณที่ต่ำกว่าความไวของชุดตรวจก็ได้ ผล HPV-positive หรือ HPV16/18-positive อาจจะเป็น transient infection ก็ได้ ต้องดูแลรักษาและตรวจติดตาม

    ต่อไป

    3. เคยมีผล Pap smear ผิดปกติ หรือเคยเป็น CIN มาแล้ว จะฉีดวัคซีน HPV ได้หรือไม่?

    สตรีที่มีผล Pap smear ผิดปกติ หรือเคยเป็น CIN ที่ได้รับการรักษาแล้ว ควรแนะนําให้ฉีดวัคซีน HPV เพราะจะได้ประโยชน์จากการ

    ป้องกันการเป็น CIN, VIN & VaIN ซ้ำอีก แต่ต้องให้การดูแลรักษาและตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจหาการกลับเป็นซ้ำการฉีดวัคซีน

    HPV จะช่วยป้องกันการกลับเป็นซ้ำและการเป็นรอยโรคใหม่ที่อวัยวะเพศบริเวณอื่นจากการติดเชื้อ HPV (ที่มีบรรจุในวัคซีน) ใหม่ หรือติดเชื้อเดิมซ้ำอีก (new or re-infection) ไม่ได้ป้องกันการกลับเป็นซ้ำของรอยโรคเดิม ซึ่งขึ้นกับว่ามี residual lesion หลังการรักษาหรือไม่ การฉีดวัคซีนไม่สามารถใช้รักษารอยโรคได้ การฉีดวัคซีน HPV หลังการรักษา CIN อาจจะฉีดในช่วงที่ทําการรักษาหรือภายใน 7-30 วัน

    หลังจากการรักษาก็ได้

    4. เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วจะฉีดวัคซีน HPV หรือไม่?

    ยังแนะนําให้ฉีดอยู่ ถึงแม้ว่าจะมีคําแนะนําให้ฉีดวัคซีน HPV ก่อนที่จะเริ่มมีเพศสัมพันธ์ก็ตามสตรีที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว ถ้าติดเชื้อ HPV จํานวน 1 สายพันธุ์ หรือมากกว่าก็ตาม ยังได้ประโยชน์จากการป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์อื่นที่บรรจุในวัคซีนที่ยังไม่ได้ติดเชื้อ ภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากการฉีดวัคซีนสามารถช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อ HPV ออกไปติดเซลล์ข้างเคียง (autoinoculation) ช่วยป้องกันเชื้อที่จะเข้ามาใหม่ (re-infection) และป้องกันการติดเชื้อไปสู่คู่นอน (transmission) ได้อีกด้วย

    TH-HPV-00181

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    เขียนโดย

    ศ.นพ. จตุพล ศรีสมบูรณ์

    สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม


    แก้ไขล่าสุด 12/02/2024

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา