backup og meta

กุ้งกินแล้วคอเลสเตอรอลสูง จริงหรือ?

กุ้งกินแล้วคอเลสเตอรอลสูง จริงหรือ?

กุ้งกินแล้วคอเลสเตอรอลสูง จริงหรือไม่ เป็นปัญหาที่หลายคนให้ความสนใจ และหลีกเลี่ยงไม่ยอมกินกุ้ง แม้ว่ากุ้งจะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแมกนีเซียม แคลเซียม โพแทสเซียม แมงกานีส ที่ล้วนแต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะสุขภาพหัวใจ

[embed-health-tool-bmi]

กุ้งกินแล้วคอเลสเตอรอลสูง ได้จริงหรือ?

กระทรวงเกษตรประเทศสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture) ระบุว่ากุ้ง ในปริมาณ 100 กรัม อาจมีคอเลสเตอรอลอยู่ถึง 189 มิลลิกรัม และได้ให้คำแนะนำในการบริโภคว่า ร่างกายควรได้รับคอเลสเตอรอลให้น้อยที่สุด โดยอาจไม่เกิน 100-300 มิลลิกรัมต่อวัน อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญในปัจจุบันเชื่อว่าควรรับประทานอาหารที่มีไลโปโปรตีน หรือไขมันชนิดดี (HDL) เนื่องจากไขมันดีอาจเข้าไปทำปฏิกิริยากับไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ที่อยู่ในร่างกาย จนเกิดความสมดุลทางสุขภาพ

มีงานวิจัยมากมายที่ทำการศึกษาความเกี่ยวข้องระหว่างการ กินกุ้ง และระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย ในปีพ.ศ. 2539 กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ พบว่า การกินกุ้งทำให้ไขมันชนิดไม่ดี หรือคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีงานวิจัยที่พบว่า การกินกุ้งอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกี่ยวหัวใจได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันการเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล ควรรับประทานกุ้งในปริมาณที่เหมาะสม เลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รวมไปถึงลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเลิกบุหรี่อย่างถาวร เนื่องจากพฤติกรรมนี้สามารถสร้างความเสียหายให้แก่หลอดเลือด ที่เชื่อมโยงกับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ทั่วทั้งร่างกาย

กินกุ้ง อย่างไร ไม่ทำให้คอเลสเตอรอลเพิ่ม

ปัจจัยด้านการปรุงอาหารและวัตถุดิบที่เลือกใช้ ม่ว่าจะเป็นน้ำมัน เนย ซอสครีม เกลือ อาจส่งผลให้การ กินกุ้ง เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลสูงได้ หากต้องการจะให้กินกุ้งได้อย่างสบายใจไร้กังวล อาจเลือกใช้เทคนิคการปรุงอาหารด้วยการต้ม อบ ย่าง นึ่ง แทนการทอด รวมถึงควรเลือกวัตถุดิบการปรุงอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ที่สำคัญในแต่ละมื้อควรประกอบด้วยผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ไม่ติดมันจำพวกปลา และคาร์โบไฮเดรตต่ำ เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังธัญพืช เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์

อาหารทะเลชนิดอื่น ๆ ที่สามารถเลือกรับประทานได้

นอกจากกุ้งยังคงมีอาหารทะเลชนิดอื่น ๆ ที่อาจมีปริมาณคอเลสเตอรอลน้อยกว่าการ กินกุ้ง โดยสามารถเลือกรับประทาน หรือนำมาปรุงอาหารได้ตามความต้องการ ดังนี้

  • ปู ในเนื้อปูค่อนข้างมีโปรตีนสูง อีกทั้งยังมีไขมันและคอเลสเตอรอลน้อยกว่ากุ้ง แต่อาจมีปริมาณโซเดียมที่มากกว่า จึงอาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
  • แซลมอน เป็นปลายอดนิยมที่ดีต่อสุขภาพ เนื่องจากแซลมอนอุดมไปด้วยโอเมก้า 3 โปรตีน วิตามินบีสูง ช่วยสนับสนุนการทำงานของระบบเผาผลาญ และระบบประสาทที่ดี
  • หอยนางรม หอยแมลงภู่ ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามินบี 12 ฟอสฟอรัส ไนอาซิน และซีลีเนียม เป็นสารอาหารที่อยู่ภายในหอยนางรม และหอยแมลงภู่ ซึ่งหอยทั้ง 2 ชนิดนี้ สามารถเพิ่มคอเลสเตอรอลได้ทั้งชนิดดี และชนิดไม่ดีได้ จึงเป็นสิ่งที่อาจช่วยเสริมสร้างความสมดุลให้แก่ร่างกาย

นอกจากนี้ ก่อนการรับประทานหากมีความกังวลถึงสุขภาพ ควรเข้าขอรับการปรึกษาจากแพทย์เสียก่อน เพราะอาหารทะเลบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง เช่น ผดผื่น ลมพิษ หายใจลำบาก และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียว

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Impact of a High-Shrimp Diet on Cardiovascular Risk. https://www.mayoclinicproceedings.org/article/S0025-6196(20)31381-1/fulltext. Accessed May 31, 2023

High cholesterol food. https://www.heartuk.org.uk/low-cholesterol-foods/foods-that-contain-cholesterol. Accessed May 31, 2023

Health Benefits of Shrimp. https://www.webmd.com/food-recipes/shrimp-health-benefits. Accessed May 31, 2023

Foods That Are Surprisingly Bad for Your Cholesterol. https://www.webmd.com/cholesterol-management/ss/slideshow-surprising-cholesterol-foods. Accessed May 31, 2023

Is shrimp high in cholesterol?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/315947.Accessed May 31, 2023

How to lower your cholesterol. https://www.nhs.uk/conditions/high-cholesterol/how-to-lower-your-cholesterol/ . Accessed May 31, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/09/2024

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีลดไขมันในเลือด แบบธรรมชาติ ไม่ต้องพึ่งยา

ยาลดไขมันในเลือด และผลข้างเคียง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 30/09/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา