backup og meta

กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction)

กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction)

กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction) หรือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นชื่อทางการแพทย์สำหรับภาวะหัวใจวาย (Heart Attack) ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต

คำจำกัดความ

กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันคืออะไร

กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction) หรือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นชื่อทางการแพทย์สำหรับภาวะหัวใจวาย (Heart Attack) ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต เกิดขึ้นเมื่อกระแสเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจถูกขัดขวางอย่างเฉียบพลัน ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อ

หัวใจจำเป็นต้องได้รับออกซิเจนและสารอาหารต่างๆ อย่างสม่ำเสมอเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ ของร่างกาย หัวใจมีหลอดเลือดใหญ่สองเส้น และหลอดเลือดสาขาที่ทำหน้าที่ลำเลียงลำเลียงออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ หากหลอดเลือดหัวใจหลอดใดหลอดหนึ่งหรือสาขาใดสาขาหนึ่งมีการอุดกั้นทันที หัวใจก็จะขาดออกซิเจน ซึ่งเป็นภาวะที่เรียกว่า หัวใจขาดเลือด (Cardiac Ischemia)’

หากภาวะหัวใจขาดเลือดคงอยู่เป็นเวลานานเกินไป กล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือดจะตาย ภาวะนี้เรียกว่า “หัวใจวาย’ หรือเป็นที่รู้จักว่า “กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน’ หรือ “กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Death Of Heart Muscle)’

ภาวะหัวใจวาย ส่วนใหญ่กินเวลาหลายชั่วโมง ดังนั้น จึงอย่ารีรอที่จะขอความช่วยเหลือ ในบางกรณีอาจไม่แสดงอาการใด ๆ แต่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันหรือ ภาวะหัวใจวาย ส่วนใหญ่ จะทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน พบได้บ่อยแค่ไหน

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ส่งผลต่อผู้ป่วยได้ในทุกวัย โรคนี้สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

อาการทั่วไปของ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ได้แก่

  • มีแรงกดหรืออาการแน่นในหน้าอก
  • อาการปวดในหน้าอก หลัง ขากรรไกร และบริเวณอื่น ๆ ของร่างกายส่วนบนนานกว่า 2-3 นาที หรือหายไปแล้วกลับมาเป็นใหม่
  • หายใจลำบาก
  • เหงื่อออก
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • วิตกกังวล
  • ไอ
  • เวียนศีรษะ
  • หัวใจเต้นเร็ว

ไม่ใช่ทุกคนที่อยู่ในภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน แล้ว จะมีอาการเช่นเดียวกันหรือระดับความรุนแรงของอาการเหมือนกัน อาการเจ็บหน้าอกมักมีการรายงานมากที่สุดทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย อย่างไรก็ดี ผู้หญิงมีโอกาสที่จะเกิดอาการดังต่อไปนี้มากกว่า

ในความเป็นจริงแล้ว มีการรายงานว่า ผู้หญิงที่มีภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน มักมีอาการเหมือนกับอาการของไข้หวัดใหญ่ สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน มักเกิดจากอาการอุดกั้นในหลอดเลือดหัวใจหนึ่งหลอดหรือมากกว่า การอุดกั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากการก่อตัวของคราบพลัคหรือหินปูนซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากไขมัน คอเลสเตอรอล และของเสียในเซลล์

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่อาจทำให้เกิดการอุดกั้นในหลอดเลือดหัวใจ ดังนี้

  • คอเลสเตอรอลไม่ดี คลอเรสเตอรอลไม่ได้ไม่ดีไปเสียทั้งหมด แต่คอเลสเตอรอลชนิด LDL สามารถติดอยู่บนผนังหลอดเลือดและก่อให้เกิดคราบพลัคได้
  • ไขมั่นอิ่มตัว ยังอาจทำให้เกิดการก่อตัวของคราบพลัคหรือคราบหินปูนในหลอดเลือดได้ด้วย ไขมันอิ่มตัวพบได้ส่วนใหญ่ในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนม ได้แก่ เนื้อวัว เนย และเนยแข็ง
  • ไขมันทรานส์ หรือไขมันเติมไฮโดรเจน เป็นไขมันอีกประเภทที่ทำให้เกิดหลอดเลือดหัวใจอุดกั้น ไขมันชนิดนี้มักผลิตขึ้นโดยการสังเคราะห์และสามารถพบได้ในอาหารแปรรูปทั่วไป

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Acute Myocardial Infarction. http://www.healthline.com/health/acute-myocardial-infarction#Prevention8. Accessed 10 Feb, 2017.

Understanding Heart Attack: The Basics. http://www.webmd.com/heart-disease/understanding-heart-attack-basics#1. Accessed 10 Feb, 2017.

Heart Attack. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-attack/symptoms-causes/syc-20373106. Accessed 10 Feb, 2017.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

10/04/2021

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ระวัง! สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเกิดภาวะ หัวใจวาย ขณะออกกำลังกาย

เมื่อความหวานทำลายหัวใจ : น้ำตาลกับสุขภาพหัวใจ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 10/04/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา