backup og meta

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์

บทความนี้ Hello คุณหมอ นำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรค ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ มาฝากคุณแม่มือใหม่กันค่ะ จะมีลักษณะอาการอย่างไร รวมถึงจะส่งผลกระทบบต่อคุณแม่และทารกในครรภ์อย่างไรบ้าง ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลย

อาการของโรค ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์

อาการของโรคความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์  มีลักษณะแสดงออก ดังต่อไปนี้

  • ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์: สตรีมีครรภ์อาจจะมีอาการของโรค เกิดขึ้นในช่วงหลังการตั้งครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ ซึ่งยังไม่มีอาการผิดปกติของอวัยวะภายใน หรือยังตรวจไม่พบว่ามีโปรตีนส่วนเกินออกมาทางปัสสาวะ แต่สตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงนั้นก็อาจมีอาการลุกลามจนกลายเป็นครรภ์เป็นพิษได้
  • ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง : นี่คืออาการของโรคความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้นก่อนการตั้งครรภ์ หรือพัฒนาขึ้นในช่วง 20 สัปดาห์แรก แต่ยังไม่มีอาการอะไรที่เห็นได้ชัดเจน
  • ความดันโลหิตสูงเรื้องรังที่มีโปรตีนในปัสสาวะ: อาการเช่นนี้เกิดขึ้นกับผู้หญิงที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงก่อนการตั้งครรภ์ และต่อมาก็มีอาการหนักขึ้น หรือมีอาการแทรกซ้อนมากขึ้นในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์
  • ครรภ์เป็นพิษ : นี่คือภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์ ที่อาจมีสาเหตุมาจากโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือเป็นโรคความดันโลหิตสูงในช่วงหลังตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็อาจมีอันตรายร้ายแรงต่อแม่และลูกได้
  • 4 ภาวะแทรกซ้อนของโรค ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์

    ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ที่พบได้บ่อย มีดังต่อไปนี้

    • ไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยงที่รก: ซึ่งก็หมายความว่า ทารกจะได้รับสารอาหารและออกซิเจนน้อย ซึ่งท้ายที่สุดก็จะส่งผลให้เจริญเติบโตช้า น้ำหนักตอนคลอดน้อย หรืออาจคลอดก่อนกำหนด
    • รกลอกตัวก่อนกำหนด: สภาวะครรภ์เป็นพิษของแม่ ทำให้มีความเสี่ยงสูงต่ออาการนี้ การลอกตัวที่รุนแรงอาจทำให้เกิดการเสียเลือดมากเกินไป จนทำให้ชีวิตของแม่และเด็กมีความเสี่ยง
    • คลอดก่อนกำหนด: เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ แพทย์ก็อาจจำเป็นต้องทำคลอดก่อนกำหนด
    • มีแนวโน้มเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด: สภาวะครรภ์เป็นพิษของแม่ อาจทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ความเสี่ยงนั้นอาจจะสูงขึ้น ถ้าแม่มีภาวะครรภ์เป็นพิษหลายครั้ง หรือคลอดก่อนกำหนด

    วิธีการรักษา

    การรักษาโรคความดันโลหิตสูง นับเป็นเรื่องสำคัญสำหรับแม่และเด็ก เนื่องจากอาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ แต่การใช้ยาก็จำเป็นต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพราะจะส่งผลกระทบไปถึงลูกได้ ถึงแม้ยาที่ใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงนั้น จะจัดอยู่ในกลุ่มที่ปลอดภัยสำหรับสตรีมีครรภ์ แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงยาบางชนิด เช่น Angiotensin-converting Enzyme (ACE) inhibitors และ Angiotensin Receptor Blockers (ARBs) เป็นต้น

    อย่างไรก็ตาม คุณควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยา และปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และห้ามหยุดยาหรือปรับเปลี่ยนขนาดยาเองโดยเด็ดขาด หรือหากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อความปลอดภัย ในบางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้คลอดก่อนกำหนด โดยใช้วิธีการผ่าคลอด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

    ข้อควรรู้

    คุณแม่ต้องคอยวัดความดันโลหิตหลังคลอดอย่างต่อเนื่อง ถ้าค่าความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติก่อนตั้งครรภ์ ค่าที่วัดได้หลังคลอดแล้วก็น่าจะกลับไปเป็นปกติเหมือนเดิม แต่ถึงอย่างไรคุณมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์ครั้งต่อไป หรือในอนาคตข้างหน้าอยู่ดี ซึ่งแพทย์จะให้คำแนะนำต่อเนื่องในการดูแลและรักษาตัวเอง ถ้าค่าความดันโลหิตไม่กลับไปเป็นปกติ แสดงว่าคุณอาจจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงหลังตั้งครรภ์ ซึ่งในกรณีนี้คุณจำเป็นต้องได้รับการรักษา เพื่อให้ความความดันโลหิตกลับไปเป็นปกติ

    นอกจากนี้ แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้เป็นแม่ให้นมบุตรเอง ไม่เว้นแม้กับผู้ที่ใช้ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง แต่ก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อที่จะได้รับประทานยาในขนาดที่ปลอดภัยหรือใช้ยาตัวอื่น

    การเป็นโรคความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์นั้น อาจก่อให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนขั้นร้ายแรงทั้งกับคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือคุณแม่ต้องคอยควบคุมอัตราความดันโลหิตให้คงที่ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    High Blood Pressure in Pregnancy. https://www.nhlbi.nih.gov/health/resources/heart/hbppregnancy. Accessed 12 Sep 2016

    High blood pressure and pregnancy: Know the facts. http://www.mayoclinic.org/healthylifestyle/pregnancyweekbyweek/indepth/pregnancy/art20046098?pg=1. Accessed 12 Sep 2016

    High Blood Pressure in Pregnancy . https://medlineplus.gov/highbloodpressureinpregnancy.html. Accessed 12 Sep 2016
    High Blood Pressure During Pregnancy. https://www.cdc.gov/bloodpressure/pregnancy.htm. Accessed 12 Sep 2016

    High blood pressure in pregnancy (gestational hypertension). http://www.babycentre.co.uk/a1015657/highbloodpressureinpregnancygestationalhypertension. Accessed 12 Sep 2016

    เวอร์ชันปัจจุบัน

    28/04/2021

    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

    อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

    avatar

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 28/04/2021

    ad iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    ad iconโฆษณา
    ad iconโฆษณา