backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับภาวะหัวใจล้มเหลว (History And Physical Exam For Heart Failure)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับภาวะหัวใจล้มเหลว (History And Physical Exam For Heart Failure)

ข้อมูลพื้นฐาน

การ ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับภาวะหัวใจล้มเหลว (History And Physical Exam For Heart Failure) คืออะไร

ถึงแม้ว่าหัวใจล้มเหลวเป็นกลุ่มอาการทางคลินิกที่พบได้ทั่วไป โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ แต่มักจะถูกมองข้ามหรือผิดพลาด ประวัติการรักษาที่ละเอียดเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง และควรกล่าวถึง ซึ่งไม่เพียงเฉพาะสิ่งบ่งชี้ และอาการหัวใจล้มเหลวที่มีอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังควรกล่าวถึงสิ่งบ่งชี้และอาการ ที่แสดงให้เห็นถึงสาเหตุเฉพาะของหัวใจล้มเหลวอีกด้วย เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease) ความดันโลหิตสูง (hypertension) หรือโรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease) เป็นสิ่งสำคัญในการดูว่า ผู้ป่วยได้มีอาการเกี่ยวกับหัวใจมาก่อนหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial infarction)

ขั้นตอนแรกในการวินิจฉัยหัวใจล้มเหลว คือ การได้รับประวัติการรักษาที่ครบถ้วน ประวัติสุขภาพของคุณรวมทั้งสิ่งใดๆ ก็ตาม เกี่ยวกับสุขภาพในอดีตและปัจจุบันของคุณ ซึ่งเป็นภาวะที่คุณเคยเป็น หรือภาวะที่คุณเป็นอยู่

ควรมีการบันทึกความดันโลหิตของผู้ป่วยและอัตราการเต้นของหัวใจ อาจมีความดันโลหิตสูง ปกติ หรือต่ำ การพยากรณ์โรคจะแสดงอาการของโรคที่ไม่ดีในผู้ป่วยที่มีค่าความดันโลหิตซิสโตลิก (systolic blood pressure ) น้อยกว่า 90 ถึง 100 มม. ปรอท เมื่อไม่ได้รับยา (ยากลุ่ม angiotensin-converting enzyme [ACE] inhibitors ยากลุ่ม beta blockers หรือยาขับปัสสาวะ)

เหตุผลในการตรวจ

การตรวจหัวใจล้มเหลวเป็นสิ่งจำเป็น หากคุณมีอาการเจ็บหน้าอก และการตรวจร่างกายถือเป็นส่วนปกติของการไปพบคุณหมอเกือบทุกครั้ง

ข้อควรรู้ก่อนตรวจ

ข้อควรรู้ก่อนการ ซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับภาวะหัวใจล้มเหลว

การวินิจฉัยหัวใจล้มเหลวโดยเร็วมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการระบุโรคที่เป็นอยู่ หรือสาเหตุและการป้องกันการทำหน้าที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ (myocardial dysfunction) และความเสื่อมของร่างกายในผู้ป่วยบางรายอย่างได้ผล อย่างไรก็ดี การวินิจฉัยในระยะเริ่มแรก อาจเป็นสิ่งที่ยาก เนื่องจากการเกิดหัวใจล้มเหลวสามารถเปลี่ยนแปลงได้ จากไม่มีอาการไปเป็นปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ซึ่งมีภาวะช็อคจากหัวใจ (Cardiogenic Shock) ร่วมด้วย คาดการณ์ว่าหัวใจล้มเหลวได้รับการวินิจฉัยในระยะเริ่มแรกได้อย่างถูกต้องในผู้ป่วยร้อยละ 50 เท่านั้น วิธีการที่เป็นระบบ สามารถเพิ่มความแม่นยำโดยรวม ในการวินิจฉัยภาวะดังกล่าว

ขั้นตอนการตรวจ

การเตรียมตัวเพื่อการซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับภาวะหัวใจล้มเหลว

  • คุณควรเตรียมข้อมูลที่สมบูรณ์และละเอียด ของการวินิจฉัยและการรักษาที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าอาการของโรคจะหายขาดแล้ว แต่การรู้เกี่ยวกับอาการดังกล่าว อาจช่วยให้แพทย์วินิจฉัยภาวะหัวใจล้มเหลวได้ นอกจากนี้ การรู้เกี่ยวกับอาการทางสุขภาพในอดีตและปัจจุบันทั้งหมดของคุณ จะช่วยให้แพทย์หาวิธีที่ดีที่สุดในการดูแลสุขภาพของคุณได้ด้วย
  • คุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาชนิดต่างๆ ที่คุณใช้อยู่ โดยสิ่งที่ดีที่สุดก็คือ การนำรายการชื่อยาและขนาดยาล่าสุด และยาทั้งหมดที่คุณใช้อยู่มาด้วย
  • นอกจากนี้ คุณยังควรสอบถามญาติของคุณ เพื่อให้ทราบว่ามีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นหัวใจล้มเหลวหรือไม่ หากสมาชิกครอบครัวรายอื่นมีภาวะหัวใจล้มเหลว เมื่ออายุยังน้อย คุณอาจมีความเสี่ยง ในการเป็นหัวใจล้มเหลวที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม นอกจากนี้ หากสมาชิกในครอบครัวของคุณหลายรายเป็นโรคต่างๆ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับหัวใจล้มเหลว เช่น ความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน คุณอาจมีความเสี่ยงมากขึ้นในการเป็นโรคเหล่านั้น ซึ่งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นหัวใจล้มเหลวได้

ขั้นตอนการซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับภาวะหัวใจล้มเหลว

  • นอกเหนือจากภาวะทางสุขภาพที่คุณเคยเป็น หรือกำลังเป็นอยู่ แพทย์จะต้องการทราบเกี่ยวกับปัจจัยหลายประการ ที่เพิ่มความเสี่ยงของคุณในการเป็นหัวใจล้มเหลว เนื่องจากโรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease: CAD) เป็นสาเหตุหนึ่งของหัวใจล้มเหลว ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ สำหรับหัวใจล้มเหลว ได้แก่ ปัจจัยเสี่ยงหลักสำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น การสูบบุหรี่ เบาหวาน คอเลสเตอรอลโดยรวมหรือคอเลสเตอรอลไม่ดี (LDL cholesterol) สูง ความดันโลหิตสูง อายุที่มากขึ้น และเพศชาย การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ก็ถือเป็นความเสี่ยงหนึ่งสำหรับภาวะหัวใจล้มเหลว
  • ในระหว่างการซักประวัติสุขภาพและการตรวจร่างกาย แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ (เช่น หายใจลำบาก อาการบวม และอาการไอ) อาการเจ็บป่วยในปัจจุบันหรือในอดีต (เช่น หัวใจวาย โรคจากเชื้อไวรัส ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน) การออกกำลังกาย การหายใจ การนอน การรับประทาน และกิจวัตรประจำวันอื่นๆ

ส่วนต่างๆ ของการตรวจร่างกายที่มีประโยชน์ในการวินิจฉัยหัวใจล้มเหลวได้มากที่สุด ได้แก่

  • การวัดความดันโลหิตและอัตราชีพจร
  • การตรวจหลอดเลือดดำที่คอ เพื่อหาอาการบวม หรืออาการความดันโลหิตสูงในหลอดเลือดดำที่ไหลเวียนเลือดกลับคืนสู่หัวใจ อาการหลอดเลือดบวม หรือมีก้อน อาจเป็นสัญญาณของหัวใจด้านขวาล้มเหลว หรือหัวใจด้านซ้ายล้มเหลวอย่างรุนแรง
  • การฟังเสียงหายใจ (เสียงปอด)
  • การฟังเสียงฟู่ของหัวใจ หรือเสียงดังของหัวใจ
  • การตรวจช่องท้อง เพื่อหาอาการบวมที่เกิดจากการสะสมของของเหลวและอาการตับโตหรือกดเจ็บ
  • การตรวจขาและข้อเท้า เพื่อหาอาการบวมที่เกิดจากการสะสมของของเหลว (edema)
  • การวัดน้ำหนักร่างกาย

หลังการตรวจ

แพทย์จะพูดคุยกับคุณเกี่ยวกับอาการและให้การรักษาที่เหมาะสม ในบางครั้ง แพทย์อาจให้มีการตรวจเพิ่มเติม โปรดปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างระมัดระวัง

หากผลการตรวจร่างกายและประวัติสุขภาพของคุณ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า มีภาวะหัวใจล้มเหลว คุณมีโอกาสสูงที่จะต้องเข้ารับการเอกซเรย์อก การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนของหัวใจ (echocardiogram) และการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiography) เพื่อประเมินขนาด รูปร่าง และการทำงานของหัวใจ และการประเมินปอดเพื่อหาสิ่งบ่งชี้ของการสะสมตัวของของเหลว

ผลการตรวจ

ผลการซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับภาวะหัวใจล้มเหลว

ค่าปกติ

  • เสียงปอดและหัวใจปกติ ความดันเลือดปกติ และคุณไม่มีสิ่งบ่งชี้ว่ามีของเหลวสะสมตัวหรือหลอดเลือดดำบวมในคอ
  • คุณอาจได้รับการตรวจหรือทดสอบเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุอื่นๆ ของอาการต่างๆ

ค่าผิดปกติที่แสดงว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลว 

  • ความดันโลหิตสูง (140/90 มม. ปรอทหรือสูงกว่า) หรือมีความดันโลหิตต่ำ ความดันโลหิตต่ำอาจเป็นสิ่งบ่งชี้ของหัวใจล้มเหลวในระยะท้ายๆ
  • อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ (cardiac arrhythmia)
  • ได้ยินเสียงหัวใจลำดับที่สาม (บ่งชี้ว่ามีการไหลเวียนที่ผิดปกติของเลือดผ่านหัวใจ) อาจมีหรือไม่มีเสียงฟู่ของหัวใจ (Heart murmurs)
  • ชีพจรที่รู้สึกได้ตามปกติจากส่วนปลายด้านล่างของหัวใจ (apex) สัมผัสไม่ได้ ในตำแหน่งปกติในผนังหน้าอก ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีอาการหัวใจโต
  • หลอดเลือดดำที่คอบวม หรือการไหลเวียนที่ผิดปกติของเลือดในหลอดเลือดดำที่คอ แสดงให้เห็นว่าเลือดอาจไหลย้อนขึ้นในหัวใจห้องล่างขวา
  • เสียงต่างในปอดๆ (pulmonary rales) เช่น เสียงฟองอากาศหรือเสียงดัง ซึ่งอาจแสดงให้เห็นว่ามีของเหลวสะสมในปอด แพทย์ใช้เครื่องมือฟังเสียงหัวใจ (stethoscope) เพื่อฟังเสียงเหล่านี้ในขณะที่คุณหายใจเข้าอย่างลึก
  • มีอาการตับบวมหรือมีอาการปวดในช่องท้องขวาบน ไม่มีความอยากอาหาร หรือท้องอืด แสดงให้เห็นว่าเลือดกำลังไหลย้อนกลับเข้าสู่ร่างกาย
  • มีอาการบวมที่ขา ข้อเท้า หรือเท้า หรือที่หลังส่วนล่างเมื่อคุณนอนลง และไม่ได้เกิดจากภาวะอื่นๆ อย่างชัดเจน การสะสมตัวของของเหลวเริ่มเกิดขึ้นในระหว่างวันและหายไปในตอนกลางคืน ในขณะที่หัวใจล้มเหลวมีอาการแย่ลง การสะสมตัวของของเหลวอาจไม่หายไป

ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการหัวใจล้มเหลวในระยะเริ่มแรกไม่มีอาการที่พบได้ทางร่างกาย  

จากผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการและโรงพยาบาล ค่าปกติสำหรับการซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับหัวใจล้มเหลวอาจมีความหลากหลาย โปรดปรึกษาแพทย์หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับผลการทดสอบ

หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับการซักประวัติและการตรวจร่างกายสำหรับหัวใจล้มเหลว โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อให้เข้าใจคำแนะนำสำหรับคุณได้ดีขึ้น

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา