backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี (Eye Angiogram)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 14/09/2020

ตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี (Eye Angiogram)

ตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี (Eye Angiogram) เป็นหัตถการเพื่อตรวจวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับดวงตา โดยการฉีดสีฟลูออเรสเซนต์เข้าไปในกระแสเลือด เพื่อให้สามารถถ่ายภาพติดได้

ข้อมูลพื้นฐาน

ตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี (Eye angiogram) คืออะไร

การตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี (Fluorescein angiogram) เป็นหัตถการเพื่อตรวจวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับดวงตา โดยการฉีดสีฟลูออเรสเซนต์เข้าไปในกระแสเลือด สีฟลูออเรสเซนต์จะทำให้เกิดสีที่หลอดเลือดบริเวณด้านหลังดวงตาเพื่อให้สามารถถ่ายภาพติดได้

การทดสอบนี้มักใช้เพื่อจัดการอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา โดยแพทย์อาจสั่งให้มีการทดสอบเพื่อยืนยันการวินิจฉัย เพื่อกำหนดวิธีการรักษาที่เหมาะสม หรือเพื่อเฝ้าระวังอาการเกี่ยวกับหลอดเลือดบริเวณด้านหลังดวงตา

ความจำเป็นใน การตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี

การทดสอบดำเนินการเพื่อดูว่า มีกระแสเลือดที่เหมาะสม ในหลอดเลือดด้านหลังดวงตาทั้งสองชั้นหรือไม่ (The retina and choroid) และการทดสอบนี้ยังสามารถใช้เพื่อวินิจฉัยปัญหาในดวงตา เพื่อดูว่าการรักษาดวงตาบางประเภทได้ผลดีหรือไม่

ข้อควรรู้ก่อนการตรวจ

ข้อควรรู้ก่อนตรวจจอประสาทตา

แพทย์ส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนให้ใช้ การตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี นี้กับหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรก เนื่องจากสีสามารถส่งต่อไปยังลูกผ่านทางน้ำนมได้ จึงไม่ปลอดภัยที่จะให้นมบุตรเป็นเวลา 24 ถึง 48 ชั่วโมงหลังการทดสอบนี้ และควรใช้อุปกรณ์ปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้า และทิ้งนมที่ปั๊มออกมาจนกว่าจะปลอดภัย แล้วจึงเริ่มให้นมบุตรอีกครั้ง หรืออาจต้องปั๊มและเก็บน้ำนมเป็นเวลาหลายวัน ก่อนการทดสอบ หรือใช้นมผงในระหว่างช่วงเวลานี้

สีที่ฉีดเข้าไปจะถูกกรองผ่านไตและขับออกจากร่างกาย ผ่านทางปัสสาวะภายในเวลาประมาณ 48 ชั่วโมง โดยปัสสาวะอาจมีสีเหลืองหรือสีส้มสว่าง และสีที่เรียกว่า Indocyanine green พบว่าให้ผลดีกว่าในการตรวจหาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตาบางประเภท และอาจใช้แทนสารฟลูออเรสซีน เพื่อให้แพทย์สามารถดูได้ว่าหลอดเลือดใต้เรตินารั่วหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ผลการทดสอบ การตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี อาจแปลผลได้ยากในผู้ป่วยต้อกระจก (Cataracts)

ขั้นตอนการตรวจ

การเตรียมตัวก่อนการ ตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี

  • ผู้ที่ทำ การตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี จำเป็นต้องมีคนมารับและขับรถพากลับบ้าน เนื่องจากรูม่านตาจะขยายเป็นเวลาถึง 12 ชั่วโมงหลังการทดสอบ
  • ก่อนเข้ารับการทดสอบ ให้แจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาที่แพทย์สั่ง หรือซื้อมาใช้เองใด ๆ และอาหารเสริมสมุนไพรที่ใช้อยู่ ทั้งยังควรแจ้งแพทย์ หากแพ้ไอโอดีน
  • หากใส่คอนแทคเลนส์ ต้องถอดออกก่อนเข้ารับการทดสอบ

ขั้นตอน การตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี

  • คุณจะได้รับยาหยอดตาเพื่อขยายรูม่านตา โดยต้องวางคางไว้บนที่วางคางที่ติดตั้งกล้องและหน้าผากพิงอุปกรณ์กั้นเพื่อให้ศีรษะอยู่นิ่งในระหว่างการทดสอบ
  • แพทย์จะถ่ายภาพภายในดวงตา หลังจากถ่ายภาพดวงตาในกลุ่มแรก สีที่เรียกว่าฟลูออเรสซีนจะถูกฉีดเข้าไปในหลอดเลือด ซึ่งมักเป็นบริเวณส่วนโค้งของคิ้ว แล้วกล้องชนิดพิเศษจะถ่ายภาพในขณะที่สีเคลื่อนตัวผ่านหลอดเลือดที่ด้านหลังดวงตา

หลัง การตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี

  • ผู้ที่ทำ การตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี อาจมองเห็นไม่ชัดเป็นเวลาถึง 12 ชั่วโมง
  • คุณไม่ควรขับรถจนกว่าผลของยาหยอดตาขยายรูม่านตาจะหมดฤทธิ์ ควรหาคนขับรถไปส่งที่บ้าน
  • คุณควรสวมใส่แว่นตากันแดดจนกว่ารูม่านตาจะเป็นขนาดปกติ แสงสว่างและแสงแดดจ้าอาจเป็นอันตรายต่อดวงตาได้
  • ผลการตรวจ

    ผลของ การตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี

    การตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี จะใช้เวลาประมาณ 30 นาที โดยปกติแพทย์มักแจ้งผลการทดสอบหลังการทดสอบไม่นาน

    การตรวจจอประสาทตา

    ค่าปกติ:

    • สีไหลผ่านหลอดเลือดในเรตินาโดยไม่ล่าช้า
    • ไม่มีรอยรั่วหรือการอุดกั้น

    ค่าผิดปกติ:

    • สีไหลผ่านหลอดเลือดช้ามาก
    • การไหลของสีถูกขัดขวาง
    • สีรั่วจากหลอดเลือด
    • สีเกิดการรวมตัวในเนื้อเยื่อโดยรอบดวงตาหรือในจุดบอด

    จากผล การตรวจวินิจฉัยดวงตาโดยการฉีดสี ในห้องปฏิบัติการและโรงพยาบาล ค่าปกติสำหรับการตรวจวินิจฉัยดวงตา อาจมีความหลากหลาย โปรดปรึกษาแพทย์หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับผลการทดสอบ

    หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับการวินิจฉัยดวงตา โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจคำแนะนำของแพทย์ได้ดีขึ้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 14/09/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา