backup og meta

การรักษา มะเร็งปากมดลูกส่งผลต่อการตั้งครรภ์ อย่างไรบ้าง มาดูกันเลย

การรักษา มะเร็งปากมดลูกส่งผลต่อการตั้งครรภ์ อย่างไรบ้าง มาดูกันเลย

มะเร็งปากมดลูกและวิธีการรักษาอาจมีผลกระทบต่อความสามารถในการตั้งครรภ์ในบางกรณี แต่ก็ไม่เสมอไป โดยบทความนี้จะช่วยให้คุณเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการและการรักษาว่าโรค มะเร็งปากมดลูกส่งผลต่อการตั้งครรภ์ อย่างไรบ้าง

การรักษา มะเร็งปากมดลูกส่งผลต่อการตั้งครรภ์ อย่างไร

เมื่อคุณต้องเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก บางวิธีการรักษาอาจสร้างความเสียหายต่ออวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ เช่น ท่อนำไข่ มดลูก และปากมดลูก นอกจากนี้ยังอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการผลิตฮอร์โมน ซึ่งนั้นรวมถึงรังไข่ด้วย เนื่องจากรังไข่เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญเป็นพื้นที่เก็บรวบรวมไข่ และผลิตไข่ อย่างไรก็ตามการรักษามะเร็งปากมดลูกนั้นอาจสร้างความเสียหายให้กับรังไข่ ซึ่งนำไปสู่การลดจำนวนไข่ที่เก็บสะสม รวมไปถึงไข่ที่มีความสมบูรณ์ ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากหรือประจำเดือนหมดก่อนวัยอันสมควร โดยหลักความเป็นจริงแล้วหากร่างกายของคุณไม่สามารถผลิตไข่ได้อีก นั้นหมายความว่าร่างกายของคุณไม่สามารถซ่อมแซมความเสียหายนี่ได้ และนี่คือสาเหตุที่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ภายหลังเข้ารับการรักษามะเร็งปากมดลูก

วิธีการรักษา มะเร็งปากมดลูก แบบไหนที่ทำให้ส่งผลต่อการตั้งครรภ์

เคมีบำบัด

มีรายงานว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เข้ารับการรักษามีความเสี่ยงที่ไข่จะถูกทำลาย และไม่สามารถมีบุตรได้ อย่างไรก็ตามการรักษาอาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ของคุณ ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับอายุ ชนิดของยา และปริมาณยาที่ได้รับ จากปัจจัยเหล่านี้ แพทย์จึงไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าคุณจะสามารถมีบุตรได้หรือไม่ หากได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด สิ่งที่ควรทำคือปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับตัวยาทีคุณได้รับและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อการตั้งครรภ์ภายหลังการรักษา คุณอาจหาข้อมูลต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองถึงผลกระทบของยาบางตัวที่มีความเสี่ยงสูงต่อการทำลายไข่ของคุณ โดยยาเหล่านั้น ได้แก่ busulfan carboplatin carmustine cisplatin และอื่น ๆ ในขณะที่ยาชนิดอื่น ๆ อาจมีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ของคุณน้อยลง ได่แก่ 5-fluorouracil (5-FU) bleomycin cytarabine dactinomycin

รังสีรักษา

เป็นความจริงที่ว่าการบำบัดด้วยรังสีรักษาโดยใช้รังสีที่มีพลังงานสูงมีผลในการฆ่าเซลล์มะเร็งและมีผลต่อการทำลายรังไข่ของคุณ ปริมาณรังสีที่คุณได้รับเมื่อมีการฉายรังสีลงไปบริเวณท้องหรืออุ้งเชิงกรานมีผลกระทบต่อการไม่สามารถมีบุตรได้ ในกรณีที่คุณได้รับรังสีในปริมาณมากเพื่อรักษาโรค ไข่บางส่วนหรือทั้งหมดในรังไข่อาจถูกทำลาย ซึ่งทำให้คุณเกิดภาวะมีบุตรยากหรือหมดประจำเดือนก่อนกำหนด

แม้ว่าคุณรับการฉายรังสีแค่เพียงบางส่วน แต่รังสีอาจสร้างความเสียหายต่อรังไข่ของคุณเนื่องจากการแผ่กระจายของรังสีในร่างกาย โดยเฉพาะรังสีที่มีเป้าหมายตรงที่มดลูกก่อให้เกิดรอยแผลเป็นทิ้งไว้ ส่งผลให้ขาดความยืดหยุ่นในการไหลเวียนเลือดสู่มดลูก ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในการเจริญและขยายตัวของมดลูกอย่างจำกัด เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแท้งทารกมีน้ำหนักตัวน้อยและการคลอดก่อนกำหนด

การผ่าตัด

หากการผ่าตัดมดลูกเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อกำจัดเนื้อร้ายออกไป คุณอาจไม่สามารถมีบุตรได้อีกต่อไป การผ่าตัดมดลูกเป็นการผ่าตัดเอาส่วนของมดลูกออกจากทางช่องคลอดหรือทางหน้าท้อง เมื่อมดลูกถูกตัดออกไปรังไข่ก็จะถูกตัดออกไปด้วยในขณะเดียวกัน เมื่อไม่มีรังไข่ สาว ๆ ก็จะไม่สามารถมีบุตรได้อีกต่อไป

อย่างไรก็ตามหากคุณเป็นมะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรก สามารถให้แพทย์เก็บรังไข่ของคุณไว้ได้หนึ่งรังไข่ หากคิดว่าในอนาคตต้องการจะมีบุตร ในกรณีที่มะเร็งปากมดลูกเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย คุณอาจได้รับการผ่าตัดการตัดปากมดลูก ซึ่งเป็นเพียงการผ่าตัดปากมดลูกออกไปโดยเหลือมดลูกไว้ ซึ่งคุณก็สามารถมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ต่อไป

การทำความเข้าใจผลกระทบของมะเร็งปากมดลูกที่มีต่อร่างกายของคุณและการตั้งครรภ์ ช่วยสร้างความพร้อมและความหวังในการมีบุตร อย่ารีรอที่จะปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความรู้สึกของคุณ และรับรู้ผลของการรักษาที่อาจมีกระทบต่อการมีบุตรรวมถึงทางเลือกในการตั้งครรภ์ต่อไป

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Fertility Concerns and Preservation for Women. http://www.cancer.net/navigating-cancer-care/dating-sex-and-reproduction/fertility-concerns-and-preservation-women. Accessed December 25, 2016

Fertility and cervical cancer. http://www.cancerresearchuk.org/about-cancer/type/cervical-cancer/living/fertility-and-cervical-cancer. Accessed December 25, 2016

How cancer treatments can affect fertility in women. http://www.cancer.org/treatment/treatmentsandsideeffects/physicalsideeffects/sexualsideeffectsinwomen/fertilityandwomenwithcancer/fertility-and-women-with-cancer-how-cancer-treatments-affect-fertility. Accessed December 25, 2016

Patient education: Fertility preservation in early-stage cervical cancer (Beyond the Basics). https://www.uptodate.com/contents/fertility-preservation-in-early-stage-cervical-cancer-beyond-the-basics. Accessed July 21, 2021

Fertility Preservation in Women: Indications and Options for Therapy. https://www.mayoclinicproceedings.org/article/S0025-6196(19)30872-9/fulltext. Accessed July 21, 2021

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/02/2024

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งรังไข่ระยะแรก กับสิ่งที่คุณผู้หญิงควรรู้ไว้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 14/02/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา