backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

การผ่าตัดเอ็นไหล่ขาด (Rotator Cuff Repair)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

การผ่าตัดเอ็นไหล่ขาด (Rotator Cuff Repair)

คำจำกัดความ

การผ่าตัดเอ็นไหล่ขาด คืออะไร

เอ็นไหล่ (rotator cuff) ประกอบด้วยกล้ามเนื้อและเอ็นที่พยุงไหล่ เอ็นไหล่เป็นส่วนที่สำคัญประการหนึ่งของไหล่ เอ็นไหล่ทำให้ยกแขนและเอื้อมได้ อาการบาดเจ็บที่เอ็นไหล่ เช่น การฉีกขาด อาจเกิดขึ้นอย่างกะทันหันเมื่อหกล้มลงบนมือที่ยืดออกไปหรือมีอาการรุนแรงมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปจากการทำกิจกรรมซ้ำๆ การเสื่อมและการฉีกขาดของเอ็นไหล่ยังอาจเกิดจากอายุที่มากขึ้นได้อีกด้วย

หากเอ็นไหล่ได้รับบาดเจ็บ คุณอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด การรักษา ได้แก่ การขูดกระดูกที่งอกออกมาที่ส่งผลต่อไหล่หรือการรักษาเอ็นหรือกล้ามเนื้อไหล่ที่ฉีกขาด เทคนิคการผ่าตัดที่อาจใช้รักษาเอ็นไหล่ขาด ได้แก่ การส่องกล้องตรวจภายในข้อ (arthroscopy) การผ่าตัดแบบเปิด (open surgery) หรือเทคนิคทั้งสองประการร่วมกัน

วัตถุประสงค์ในการผ่าตัดเอ็นไหล่ขาด คือ ช่วยฟื้นฟูการทำงานและความยืดหยุ่นของไหล่และเพื่อบรรเทาอาการปวดที่ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยการรักษาอื่นๆ

ความจำเป็นในการผ่าตัด

การผ่าตัดมักเป็นการรักษาที่แนะนำประการแรกสำหรับการบาดเจ็บที่ไหล่ เริ่มแรกแพทย์อาจแนะนำการพักผ่อน การประคบด้วยน้ำแข็ง และการออกกำลังกายแบบพิเศษ หากการบาดเจ็บไม่รุนแรง วิธีการรักษาเหล่านี้อาจเพียงพอ หากเอ็นฉีกขาด การพักผ่อนและการออกกำลังกายอาจลดอาการปวดแต่ไม่รักษาอาการฉีกขาด อาจจำเป็นต้องมีการผ่าตัด

แพทย์ที่ทำการรักษาจะแนะนำให้คุณปรึกษาเกี่ยวกับการผ่าตัดกับศัลยแพทย์ออร์โธปีดิกหากว่าคุณ

  • มีอาการปวดไหล่ที่คงอยู่เป็นเวลานานกว่าหกเดือน ถึงแม้ว่าหลังการเข้ารับกายภาพบำบัดแล้ว
  • มีอาการไหล่อ่อนแรงที่ส่งผลต่อกิจกรรมประจำวัน
  • เป็นนักกีฬา
  • ใช้ไหล่และแขนในการทำงาน

การผ่าตัดรักษาเอ็นไหล่ขาดช่วยได้ดีที่สุดสำหรับการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นไม่นานแทนการบาดเจ็บที่เกิดจากภาวะเรื้อรัง ให้ไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุดหลังเกิดการบาดเจ็บ

ข้อควรระวัง

ข้อควรทราบก่อนการผ่าตัด

ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถเข้ารับ การผ่าตัดเอ็นไหล่ขาด นี้ได้อย่างปลอดภัย การสามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ขึ้นอยู่กับหัตถการที่ผู้ป่วยเข้ารับ การส่องกล้องตรวจภายในข้อ มักไม่แนะนำหากผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีอาการปวดแน่นที่ไหล่มาก่อน
  • มีเอ็นไหล่ขาดขนาดใหญ่ที่จำเป็นต้องรักษาหรือไม่สามารถรักษาได้
  • ผู้ป่วยที่มีเอ็นไหล่ขาดขนาดใหญ่อาจรักษาได้ดีกว่าด้วยการผ่าตัดแบบเปิด
  • ปุ่มกระดูกแบนที่ไม่มีรูปร่างโค้งหรือเป็นรูปตะขอ สำหรับผู้ที่มีปุ่มกระดูกแบน การติดเชื้อที่เนื้อเยื่อ เช่น เอ็นไหล่อักเสบ (rotator cuff tendonitis) และข้อต่อหัวไหล่บวมอักเสบ (shoulder bursitis) เป็นสาเหตุ ไม่ใช่ผลของเอ็นไหล่อักเสบ (shoulder impingement)

อาการแทรกซ้อนและผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดเอ็นไหล่ขาด ได้แก่

  • อาการปวด
  • มีเลือดออก
  • มีแผลเป็นที่ไม่พึงปรารถนาที่ผิวหนัง
  • ลิ่มเลือด
  • ความเสี่ยงจากการใช้ยาสลบ

หลังจากเข้ารับการผ่าตัดเอ็นไหล่ขาด ผู้ป่วยจำนวนเล็กน้อยมีอาการแทรกซ้อนต่างๆ นอกเหนือจากความเสี่ยงในการผ่าตัดโดยทั่วไปแล้ว เช่น การเสียเลือดหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับยาสลบ (anesthesia) อาการแทรกซ้อนของการผ่าตัดเอ็นไหล่ขาดอาจได้แก่

  • การบาเจ็บที่เส้นประสาท (Nerve injury) มักเกี่ยวข้องกับเส้นประสาทที่ทำให้กล้ามเนื้อไหล่ทำงาน (deltoid)
  • การติดเชื้อ (Infection) ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะ (antibiotics) ในระหวา่งการผ่าตัดเพื่อลดความเสี่ยงสำหรับการติดเชื้อ หากมีการติดเชื้อ อาจจำเป็นต้องมีการผ่าตัดเพิ่มเติมหรือการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่ยาวนานขึ้น
  • การผ่าตัดแยกแล้ามเนื้อไหล่ (Deltoid detachment) ในระหว่างการผ่าตัดเปิดนั้น กล้ามเนื้อไหล่นี้ถูกแยกออกเพื่อให้เข้าถึงเอ็นไหล่ได้มากขึ้น กล้ามเนื้อไหล่ถูกเย็บกลับคืนเข้าที่ในช่วงท้ายของการผ่าตัด เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะปกป้องบริเวณนี้หลังการผ่าตัดและในระหวา่งการพักฟื้นเพื่อให้หายขาด
  • อาการปวดแน่น (Stiffness) การพักฟื้นแต่เนิ่น ๆ ลดโอกาสในการเกิดอาการปวดแน่นหรือไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างถาวร โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการปวดแน่นจะดีขึ้นด้วยการบำบัดและการออกกำลังกายที่จริงจังมากขึ้น
  • เอ็นฉีกขาดซ้ำ (Tendon re-tear) มีโอกาสในการเกิดเอ็นฉีกขาดซ้ำหลังจากการผ่าตัดทุกประเภท ยิ่งการฉีกขาดมีขนาดใหญ่มากเท่าใด ก็ยิ่งมีความเสี่ยงในการเกิดเอ็นฉีดขาดซ้ำมากขึ้นเท่านั้น ผู้ป่วยที่มีเอ็นฉีกขาดซ้ำมักไม่มีอาการปวดมากขึ้นหรือการทำงานของไหล่ลดลง การผ่าตัดซ้ำเป็นสิ่งจำเป็นหากมีอาการปวดรุนแรงหรือสูญเสียการทำงานเท่านั้น

เป็นสิ่งสำคัญที่คุณต้องทำความเข้าใจข้อควรระวังและทราบถึงอาการแทรกซ้อนและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นก่อนเข้ารับการผ่าตัดเอ็นไหล่ขาด หากมีคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์ที่ทำการรักษาสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ขั้นตอน

การเตรียมตัว

การพักผ่อนและการใช้ประคบเย็นเป็นวิธีการที่ดีในการบรรเทาอาการปวดไหล่ในขณะที่รอการผ่าตัด แพทย์หรือนักกายภาพบำบัดยังอาจแนะนำการออกกำลังกายบางประเภทเพื่อช่วยเกี่ยวกับอาการปวด

คุณอาจต้องการใช้ยาที่วางจำหน่ายโดยทั่วไป เช่น ยาแอสไพริน (aspirin) ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) และยานาพร็อกเซน (naproxen) ยาเหล่านี้เป็นยาแก้อักเสบ (anti-inflammatories) รวมทั้งเป็นยาแก้ปวด (painkillers) ให้มั่นใจว่าแพทย์ที่ทำการรักษาทราบอย่างแน่ชัดเกี่ยวกับยาและอาหารเสริมที่คุณกำลังใช้อยู่เนื่องจากอาจจำเป็นต้องหยุดใช้ยาบางประเภทก่อนการผ่าตัด

ระหว่างการผ่าตัด

การผ่าตัดเอ็นไหล่ขาดมักดำเนินการเป็นหัตถการรายวันการส่องกล้องตรวจภายในข้อใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง ผู้ป่วยเกือบทุกรายสามารถกลับบ้านได้ในวันเดียวกันกับการผ่าตัด อย่างไรก็ดี ด้วยการผ่าตัดแบบเปิดนั้น ผู้ป่วยอาจเข้าโรงพยาบาลเป็นเวลา 1 หรือ 2 คืน สำหรับการพักฟื้นหลังการผ่าตัด

การผ่าตัดเอ็นไหล่ขาดบางชนิดมีการดำเนินการในรูปแบบผู้ป่วยนอก สำหรับการผ่าตัดเอ็นไหล่ขาดชนิดอื่นๆ คุณอาจจำเป็นต้องพักในโรงพยาบาล

การผ่าตัดสามารถดำเนินการได้ด้วยการผ่า (เปิด) ขนาดใหญ่หรือด้วยการส่องกล้องตรวจภายในข้อไหล่ (shoulder arthroscopy) ซึ่งมีการผ่าตัดขนาดเล็กลง

การผ่าตัดส่องกล้องตรวจ (Arthroscopic repair) หลังจากทำรอยผ่าขนาดเล็กมากจำนวนหนึ่งหรือสองรอยผ่าที่ผิวหนังนั้น ศัลยแพทย์จะใส่กล้องขนาดเล็กที่เรียกว่า arthroscope และเครื่องมือพิเศษและมีขนาดเล็กเข้าไปในไหล่ เครื่องมือดังกล่าวทำให้แพทย์เห็นส่วนต่างๆ ของเอ็นไหล่ที่เสียหายและวิธีการรักษาที่ดีที่สุด

การผ่าตัดเอ็นแบบเปิด (Open tendon repair) การผ่าตัดนี้ใช้เวลานาน เป็นเทคนิคแรกที่ใช้รักษาเอ็นไหล่ขาด หากมีเอ็นฉีกขาดที่มีขนาดใหญ่มากหรือซับซ้อน ศัลยแพทย์ที่ทำการรักษาอาจเลือกวิธีนี้

มีการทำรอยผ่าขนาดใหญ่ในไหล่แล้วแยกกล้ามเนื้อไหล่เพื่อให้ศัลยแพทย์เข้าถึงเอ็นได้โดยตรง วิธีนี้ช่วยได้หากจำเป็นต้องเปลี่ยนเอ็นหรือข้อต่อไหล่

การผ่าตัดทั้งสองวิธีนี้สามารถดำเนินการได้โดยใช้ยาสลบ ซึ่งทำให้คุณนอนหลับตลอดทั้งกระบวนการ นอกจากนี้ การผ่าตัดยังสามารถทำได้ด้วย “การปิดกั้นเฉพาะบริเวณ (regional block’ ซึ่งทำให้รู้สึกตัวในขณะที่แขนและไหล่มีอาการชา

คุณสามารถปรึกษาแพทย์ล่วงหน้าเกี่ยวกับประเภทของยาสลบที่คุณต้องการใช้

หลังการผ่าตัด

หลังการผ่าตัด คุณจะถูกนำไปยังห้องพักฟื้นเพื่อสังเกตอาการ กระบวนการพักฟื้นจะแตกต่างกันออกไปโดยขึ้นอยู่กับประเภทของยาสลบที่ใช้และประเภทของการผ่าตัดที่ดำเนินการ จะมีการเฝ้าดูการไหลเวียนโลหิตและความรู้สึกของแขน ทันทีที่ความดันโลหิต ชีพจร และการหายใจคงที่และคุณรู้สึกตัวแล้วนั้น คุณจะถูกส่งตัวไปยังห้องพักในโรงพยาบาลหรือได้รับการอนุญาตให้กลับบ้านได้

คุณอาจได้รับเครื่องช่วยพยุงไหล่หรือสายพยุงไหล่ก่อนกลับบ้าน

หากมีคำถามหรือข้อกังวลใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การพักฟื้น

ข้อควรปฏิบัติหลังการผ่าตัด

หลังจากเข้ารับการผ่าตัดแล้ว เวลาในการพักฟื้นจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็บ การพักฟื้นอย่างเต็มที่และความสามารถในการเริ่มออกกำลังกายตามปกติสามารถใช้เวลาระหว่างสี่ถึงหกเดือน ในระหว่างช่วงเวลานี้นั้น คุณจำเป็นต้องให้เวลาที่เพียงพอแก่ไหล่ของคุณให้หายจากการบาดเจ็บไปพร้อมกับปฏิบัติตามข้อปฏิบัติในการพักฟื้นจากการผ่าตัดเอ็นไหล่ขาดดังต่อไปนี้

  • สวมใส่สายผ้ายึดหรืออุปกรณ์ยึดไหล่
  • เข้ารับกายภาพบำบัด
  • หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวแขนหรืออิริยาบถของไหล่บางประการ เช่น
  • ยกแขนเหนือศีรษะ
  • ยกสิ่งของ
  • วางน้ำหนักลงบนแขนหรือไหล่
  • ยื่นแขนไปด้านหลังร่างกาย
  • เคลื่อนไหวแขนออกไปทางด้านข้าง
  • เฝ้าระวังสัญยาณเตือนของภาวะแทรกซ้อน แจ้งให้แพทย์ทราบทันทีหากมีอาการใดๆ ดังต่อไปนี้
  • มีไข้ 101 องศาหรือสูงกว่า
  • มีสารคัดหลั่งสีแดงหรือเหลืองออกจากบริเวณที่ผ่าตัด
  • มีอาการปวดกะทันหันและรุนแรง หรือมีอาการปวดที่ไม่ตอบสนองต่อยา
  • มีอาการปวดเสียงหรือชาที่มือหรือนิ้วมือในบริเวณที่ผ่าตัด
  • ห้ามเริ่มออกกำลังกายเร็วเกินไป
  • Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา